Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ไผ่เหลือง

ชื่อท้องถิ่น: ไผ่เหลือง ไผ่หลวง ไผ่ซางคำ จันคำ ไผ่จีน ไผ่รีไช

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana Schult.

ชื่อวงศ์: POACEAE-GRAMINEAE

สกุล: Bambusa 

สปีชีส์: blumeana

ชื่อพ้อง: 

-Arundarbor blumeana (Schult.f.) Kuntze

-Arundarbor pungens (Blanco) Kuntze

-Arundarbor spinosa (Roxb.) Kuntze

-Arundarbor teba (Miq.) Kuntze

-Arundo spinosa (Roxb.) Oken

-Bambusa bambos var. spinosa (Roxb.) S.S.Jain & S.Biswas

-Bambusa blumeana Schult.f.

-Bambusa pungens Blanco

-Bambusa stenostachya Hack.

-Bambusa teba Miq.

-Ischurochloa spinosa (Roxb.) Buse

-Schizostachyum durie Rupr.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไผ่เหลือง thai-herbs.thdata.co | ไผ่เหลือง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ไผ่เหลือง thai-herbs.thdata.co | ไผ่เหลือง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นไผ่เหลือง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-12 เซนติเมตร สีเหลือง มีแถบริ้วเขียวตามความยาวของปล้อง ผิวเรียบ ข้อปล้องยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร


ไผ่เหลือง thai-herbs.thdata.co | ไผ่เหลือง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับที่ปลายกิ่ง รูปใบหอก กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเหลือง ก้านใบสีเขียว มีกาบสีเหลืองหุ้มบริเวณข้อก้านใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อดอกสีขาว ดอกมีขนาดเล็ก ตามปลายยอดบริเวณข้อปล้องเมื่อดอกแห้งก็จะตายไป 

ผล ลักษณะผลหรือลูกคล้ายเมล็ดข้าวสาร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา หรืออยู่ริมฝั่งแม่น้ำบริเวณที่มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่า สามารถทนต่อสภาพอากาศและสภาพดินได้หลากหลาย ที่ระดับความสูง 1,200 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด: จาวาไปจนถึงมาลูกู

การกระจายพันธุ์: -

ไผ่เหลือง thai-herbs.thdata.co | ไผ่เหลือง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ตาไผ่ รสจืด สรรพคุณ  ตาต้มรับประทาน แก้สตรีตกโลหิตมากเกินไป

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งต้มจืดหน่อไม้หมูสับ ผัดหน่อไม้ไส่ไข่ ผัดเผ็ดหน่อไม้ แกงหน่อไม้ แกงหน่อไม้ดอง หน่อไม้ยัดไส้ทอด ยำหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ หมกหน่ออไม้ เป็นต้น

-ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดรหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

-ในด้านความเชื่อ ไผ่เป็นต้นไม้ประจำปีมะแม  การที่คนไทยนิยมปลูกต้นไม้นั้น มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วว่า  หากปลูกต้นไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยให้สมาชิกทุกคนภายในบ้านนั้นไม่คดโรง  หรือเอารัดเอาเปรียบใคร  ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ตั้งใจทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  และมีคุณธรรม ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็มีพื้นฐานจากลักษณะของต้นไผ่นั่นเอง  ต้นไผ่นั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แตกกิ่งก้านสาขาที่เหยียดตรง  และเรียบเนียน ส่วนด้านในของปล้องไผ่แต่ละปล้องก็จะมีเนื้อไม้สีขาวบริสุทธิ์  ชาวจีนเชื่อกันว่า ไผ่เสริมมงคลในบ้าน  เป็นคนมุ่งมั้นตั้งใจจริง มีปัญญาเลิศ  มีเหตุผล  ซื่อตรง  และกตัญญูรู้คุณ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง