Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ข้าวเย็นใต้

ชื่อท้องถิ่น: ยาหัว (เลย, นครพนม)/ หัวยาข้าวเย็น (เพชรบูรณ์)/ ยาหัวข้อ (ภาคเหนือ)/ หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ภาคใต้)/ ข้าวเย็นโคกขาว ถู่ฝุหลิง (ภาษาจีน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Smilax glabra Roxb.

ชื่อวงศ์: SMILACACEAE

สกุล: Smilax 

สปีชีส์: glabra

ชื่อพ้อง: 

-Smilax blinii H.Lév.

-Smilax calophylla var. concolor C.H.Wright

-Smilax dunniana H.Lév.

-Smilax hookeri Kunth

-Smilax lanceolata Burm.f.

-Smilax mengmaensis R.H.Miao

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ข้าวเย็นใต้ thai-herbs.thdata.co | ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ข้าวเย็นใต้ thai-herbs.thdata.co | ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นข้าวเย็นใต้ เป็นไม้เถาเลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า และยังพบรอยแยกแตกเป็นร่อง ๆ บนผิวเปลือก เนื้อเหง้าเป็นสีขาวอมเหลืองมีรสหวาน และไม่มีกลิ่น


ข้าวเย็นใต้ thai-herbs.thdata.co | ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายใบแหลมและบาง โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-14 เนติเมตร ผิวใบมัน หน้าใบมีเส้นตามยาวประมาณ 3 เส้น มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนหลังใบมีผงเหมือนแป้งสีขาว ก้านใบมีขนาดสั้น ยาวประมาณ 9-14 มิลลิเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ในแต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 4-15 มิลลิเมตร


ข้าวเย็นใต้ thai-herbs.thdata.co | ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีแดงดำ

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อัสสัมไปจนถึงไต้หวันและอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังคลาเทศ, กัมพูชา, จีนเหนือ-กลาง, จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, ลาว, เมียนมาร์, ไต้หวัน,ไทย, ทิเบต, เวียดนาม

ข้าวเย็นใต้ thai-herbs.thdata.co | ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัวและราก  รสกร่อยหวานมันเล็กน้อย สรรพคุณ แก้กามโรค น้ำเหลืองเสียพุพอง ขับปัสสาวะ

*ใบ รสขื่น สรรพคุณ แก้ปากบวม อักเสบ

*ดอก รสขื่นเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้คุดทะราด

*ผล รสขื่นจัด สรรพคุณ ลนไฟนาบลูกอัณฑะ แก้อัณฑะอุ้ง (ไส้เลื่อน)

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีผลการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งในเหง้าข้าวเย็นใต้พบว่า สารสกัดของหัวข้าวเย็นใต้ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ซึ่งมีฤทธิ์โดดเด่นและมีประสิทธิภาพดีที่สุด รองลงมาคือเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเซลล์มะเร็งตับ

-ฤทธิ์ต้านเชื้อ  HIV มีผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV พบว่า สารสกัดของหัวข้าวเย็นใต้มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ HIV-1 protease ซึ่งจากการศึกษาวิจัยจึงมีการแนะนำให้ใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้คู่กันในการต้านHIV เพราะ สารสกัดของหัวข้าวเย็นเหนือมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ HIV-1 integrase ซึ่งหากใช้คู่กันจะได้ผลมากกว่าการใช้เพียงตัวเดียว

-การศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้อีกหลายฉบับ โดยระบุว่ามีฤทธิ์ต่างๆ เช่นฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน และฤทธิ์ห้ามเลือด เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคน้ำเหลืองเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เหง้าแห้งต้มกับน้ำดื่ม

-โรคริดสีดวงทวาร ให้ใช้สมุนไพรหัวข้าวเหนือใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก เหง้าสับปะรด และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน

-อาการไอ ใช้หัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือ อย่างละ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดิน เติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

-อาการฝีทุกชนิด ใช้หัวข้าวเย็นใต้, หัวข้าวเย็นเหนือ, กำมะถันเหลือง,  ขันทองพยาบาท, หัวต้นหนอนตายยาก ,กระดูกควายเผือก หนักอย่างละ 20 บาท เหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, และผิวไม้รวก 3 กำมือ นำมาต้มกับน้ำในหม้อดิน ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา   ส่วนในการใช้ตามสรรพคุณของแพทย์แผนจีนให้ใบในขนาด 15-60 กรัม

-อาการไข้ทับระดูและระดูทับไข้มีอยู่ 2 ตำรับ มีตัวยาในตำรับ 4 อย่างและ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับแล้วนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม

-ช่วยบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับส้มโมงแล้วนำไปต้มจนน้ำแห้ง นำตะกอนที่เหลือมาผสมกับน้ำผึ้งปั้นกินวันละ 1 เม็ด

-ช่วยขับไล่ความเย็นขับลมชื้นในร่างกาย ใช้ข้าวเย็นทั้งสองอย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียงอย่างละ 20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำมาแช่กับเหล้า ด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมาดื่ม

-ประเทศมาเลเซีย  ใช้เหง้า เป็นยาบำรุง

-ในตำรายาจีนระบุว่า ข้าวเย็นใต้มีรสหวาน ชุ่มชื่นสมดุล แสดงฤทธิ์ผ่านตับและกระเพาะอาหาร มีสรรพคุณขับไล่ความเย็น ระงับพิษช่วยให้ข้อเข่าทำงานเป็นปกติ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เนื่องจากความเย็นชื้น ปวดข้อเข่า มีน้ำมูกไหล อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวมอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ อาการเป็นหิดคัน โรคซิฟิลิส อาการพิษจากปรอท อาการหดเกร็งของแขนและขา ปวดข้อและเอ็น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง