Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตองแตก (ทนดี)

ชื่อท้องถิ่น: ถ่อนดี (ภาคกลาง)/ นองป้อม ลองปอม (เลย)/ ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์)/ ทนดี (ตรัง), เปล้าตองแตก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)/  โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ยาบูเวอ หญ้าโวเบ่อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh

ชื่อวงศ์:  EUPHORBIACEAE

สกุล: Baliospermum 

สปีชีส์: -solanifolium 

ชื่อพ้อง: 

-Baliospermum axillare Blume

-Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg.) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตองแตก thai-herbs.thdata.co | ตองแตก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตองแตก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ส่วนลำต้นเป็นสีเขียวมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร หรืออาจเล็กกว่านี้ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีขาว เป็นพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้นานและทนทาน ตายยาก ตองแตก thai-herbs.thdata.co | ตองแตก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ใบที่อยู่ส่วนยอดจะมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ส่วนใบที่อยู่โคนต้นขอบใบจะหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก ลักษณะของใบจะเป็นรูปไข่แกมขอบขนานหรือเกือบกลม ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ตามขอบใบจักเป็นซี่ฟันห่างกันไม่สม่ำเสมอ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร เนื้อใบบาง เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบมีลักษณะเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีขน


ตองแตก thai-herbs.thdata.co | ตองแตก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกมีขนาดเล็กสีขาวเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกมีลักษณะเล็กเรียว ยาวประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะอยู่ตอนบนของช่อและมีจำนวนมาก ดอกมีรูปร่างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ฐานดอกมีต่อมประมาณ 4-6 ต่อม มีเกสรเพศผู้ประมาณ 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ก้านดอกย่อยมีลักษณะเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่โคนช่อของดอก ไม่มีกลีบดอกเช่นกัน มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้น ๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็น 2 แฉก ลักษณะม้วนออก


ตองแตก thai-herbs.thdata.co | ตองแตก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเป็นพู 3 พู ปลายผลเว้าหรือบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล ผลเป็นสีเขียว ส่วนโคนของผลจะมีสีเข้มกว่าตอนปลาย เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน

สภาพนิเวศวิทยา: สำหรับในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง จนถึงระดับความสูง 700 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา ลงมาจนถึงพม่า กัมพูชา ลาวไทย เวียดนาม อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะบอเนียว สุมาตรา ชวา มาลูกู สุราเวศรี เลสเซอร์ เกาะซุนดา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสจืดเฝื่อนขมน้อย สรรพคุณ ระบายอ่อนๆ ถ่ายลมถ่ายเสมหะ ไม่ไซ้ท้อง 

*ใบและเมล็ด รสเบื่อขมน้อย สรรพคุณ ถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม แก้ดีซ่าน แก้หืด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ราก มีอนุพันธ์ของ phorbol ester เช่น baliospermin และ montanin เป็นสารที่ทำให้ถ่ายและมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ในหลอดทดลอง แต่ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ชาวไทใหญ่จะใช้ใบตองแตกตากแห้ง นำมาชงเหมือนชาดื่มแก้อาการง่วง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง