Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าแพรก

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าแผด (ภาคเหนือ)/ หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)/ หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ทิซั่วเช่า (จีน)/ สทฺทล (สัด-ทะ-ละ)/ สทฺทโล (สัด-ทะ-โล) หริต (หะ-ริ-ตะ) (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Bermuda grass, Bahana grass, Creeping-cynodon, Dub grass, Dog’s tooth grass, Florida grass, Scutch grass, Lawn grass, Wire grass

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cynodon dactylon (L.) Pers.

ชื่อวงศ์: POACEAE-GRAMINEAE

สกุล: Cynodon 

สปีชีส์: dactylon

ชื่อพ้อง: 

-Agrostis bermudiana Tussac ex Kunth

-Agrostis filiformis J.Koenig ex Kunth

-Agrostis linearis Retz.

-Agrostis stellata Willd.

-Capriola dactylon (L.) Kuntze

-Capriola dactylon var. maritima (Kunth) Hitchc.

-Chloris cynodon Trin.

-Chloris maritima Trin.

-Chloris paytensis Steud.

-Cynodon affinis Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon aristiglumis Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon aristulatus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon dactylon var. affinis (Caro & E.A.Sánchez) Romero Zarco

-Cynodon dactylon f. glabrescens (Beck) Soó

-Cynodon dactylon var. longiglumis Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon dactylon f. major (Beck) Soó

-Cynodon dactylon var. maritimus (Kunth) Hack.

-Cynodon dactylon subsp. nipponicus (Ohwi) T.Koyama

-Cynodon dactylon var. parviglumis (Ohwi) Fosberg & Sachet

-Cynodon dactylon var. pilosus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon dactylon var. pulchellus Benth.

-Cynodon dactylon f. viviparus Beetle

-Cynodon decipiens Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon distichloides Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon erectus J.Presl

-Cynodon glabratus Steud.

-Cynodon grandispiculus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon hirsutissimus (Litard. & Maire) Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon iraquensis Caro

-Cynodon laeviglumis Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon linearis (Retz.) Willd.

-Cynodon maritimus Kunth

-Cynodon maritimus var. breviglumis Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon maritimus var. grandispiculus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon maritimus var. vaginiflorus Caro

-Cynodon mucronatus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon nitidus Caro & E.A.Sánchez

-Cynodon occidentalis Willd. ex Steud.

-Cynodon parviglumis Ohwi

-Cynodon pascuus Nees

-Cynodon pedicellatus Caro

-Cynodon polevansii Stent

-Cynodon portoricensis Willd. ex Steud.

-Cynodon repens Dulac

-Cynodon sarmentosus Gray

-Cynodon scabrifolius Caro

-Cynodon stellatus (Willd.) Willd.

-Cynodon tenuis Trin.

-Cynodon umbellatus (Lam.) Caro

-Cynosurus uniflorus Walter

-Dactilon officinale Vill.

-Dactylus officinalis Asch.

-Digitaria dactylon (L.) Scop.

-Digitaria linearis (L.) Pers.

-Digitaria littoralis Salisb.

-Digitaria maritima (Kunth) Spreng.

-Digitaria stolonifera Schrad.

-Fibichia dactylon (L.) Beck

-Fibichia umbellata Koeler

-Milium dactylon (L.) Moench

-Panicum ambiguum Le Turq.

-Panicum dactylon L.

-Panicum lineare L.

-Paspalum ambiguum DC.

-Paspalum dactylon (L.) Lam.

-Phleum dactylon (L.) Georgi

-Vilfa linearis (Retz.) P.Beauv.

-Vilfa stellata (Willd.) P.Beauv.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าแพรก thai-herbs.thdata.co | หญ้าแพรก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าแพรก เป็นไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา


หญ้าแพรก thai-herbs.thdata.co | หญ้าแพรก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นกาบใบเนื้อบาง โอบลำแบบหลวม ๆ ขอบแผ่เป็นแผ่นบาง ผิวเกลี้ยง แผ่นใบ เนื้อบางอ่อนนุ่ม ฐานกว้าง กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ปลายแหลม ลิ้นใบ เป็นเยื่อบาง สูงประมาณ 0.2-0.3 มิลลิเมตร ปลายมีขนสีขาว ด้านข้างและด้านหลังมีขนอ่อนนุ่มคล้ายไหม


หญ้าแพรก thai-herbs.thdata.co | หญ้าแพรก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หญ้าแพรก thai-herbs.thdata.co | หญ้าแพรก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะ ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-6 ช่อย่อย ก้านช่อดอกร่วมยาวได้ประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นเส้นสีเขียวเทาถึงสีม่วง ยาวได้ประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีดอกย่อยเรียงกันเป็นแถว 2 แถว ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร อัดกันแน่นอยู่บนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณูสีม่วงยาว 1.1-5 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 2 เส้น ส่วนปลายเป็นฝอยลักษณะคล้ายขนนก

ผล เมื่อดอกร่วงจะติดผล ผลหรือเมล็ดจะมีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นรูปไข่ สีน้ำตาลไปจนสีแดง ยาวได้ประมาณ 11.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่ากึ่งเขตร้อนไปจนถึงออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าแพรก thai-herbs.thdata.co | หญ้าแพรก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสขมเย็น สรรพคุณ แก้พิษเจ็บปวด แก้อักเสบ แก้สตรีตกโลหิต มากเกินไป แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไขพิษ ไข้กาฬ ไข้หัด สุกใส ดำแดง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-จากการทดลองฉีดสารอัลคาลอยด์ของหญ้าแพรก ในขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของกระต่ายทดลอง พบว่าเลือดจากบาดแผลของกระต่ายจะเกิดการแข็งตัวขึ้น และเลือดจะหยุดไหลได้เร็วขึ้น

-สารอัลคาลอย์บางชนิดในหญ้าแพรกมีฤทธิ์ทำให้การไหลเวียนของโลหิตของหนูและหนูถีบจักช้าลง แต่มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา และมีส่วนที่เป็น Glycoside มีที่ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของแมว

-สารสกัดจากลำต้นหญ้าแพรกด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื่อ Bacillus subtilis, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Shigella dysenteriae, Staphylococcus aureus, Streptococcus faecalis แต่สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งมีการทดลองกับ Vaccinia virus

-จากรายการเป็นพิษที่ทำการศึกษาในประเทศอินเดีย ตรวจพบ hydrocyanic acid ในพืชนี้ ทำให้สัตว์ที่กินพืชนี้เข้าไปเกิดอาการเป็นพิษ โดยมีอาการกล้ามเนื้อหน้าชักกระตุก สัตว์เกิดอาการกัดฟัน ตามมาด้วยมีความดันโลหิตสูง และส่งผลให้สัตว์ตายในเวลาต่อมา

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้ราก (รากให้ใช้รากแห้งครั้งละประมาณ 60 กรัม) นำมาต้มหรือบดให้ละเอียดรับประทาน

-อาการไข้ ด้วยการใช้ลำต้นสด  (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ทั้งต้น (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) ต้มดื่มช่วยลดความร้อน บรรเทาอาการร้อนในกระหายน้ำ 

-อาการไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว รวมถึงเหือดหัด และอีสุกอีใส ใช้ทั้งต้น (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม

-อาการท้องเดินเรื้อรัง อาการท้องเสีย ใช้ทั้งต้น (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม

-อาการปวดบวมอักเสบ  ใช้ทั้งต้น (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) นำมาตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยขับปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ใช้ราก,ทั้งต้น (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) (รากให้ใช้รากแห้งครั้งละประมาณ 60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม

-ช่วยห้ามเลือด พอกแผลจากการหกล้มหรือกระทบกระแทก มีดบาด  ใช้ลำต้นสด (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่มีอาการ ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

-ช่วยรักษาพิษไข้มีผื่นต่าง ๆ เช่น เป็นหัด เหือด ดำแดง อีสุกอีใส เป็นต้น ด้วยการใช้ลำต้นสด (ลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม) นำมาตำคั้นเอาน้ำและกากพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการ

-หญ้าแพรกเป็นแหล่งของอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับสัตว์จำพวกแทะเล็มได้เป็นอย่างดี เช่น พวกโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น 

-ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างดินได้ดี แต่รากจะไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดินพังทลายได้เหมือนหญ้าแฝก

-ทั้งต้นสดใช้ในพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ศิษย์มีปัญญาแตกฉานได้รวดเร็วประดุจหญ้าแพรกที่แตกทอดไปตามพื้นดิน (ใช้ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง