Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สำมะงา

ชื่อท้องถิ่น: สำลีงา ลำมะลีงา สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก)/ สำมะลิงา (ชัยภมูิ)/ เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์)/ สัมเนรา (ระนอง)/ สักขรีย่าน (ชุมพร)/ สำปันงา (สตูล)/ สาบแร้งสาบกา (ภูเก็ต)/ คากี (ภาคใต้)/ จุยหู่มั้ว โฮวหลั่งเช่า (จีน)/ ขู่เจี๋ยซู่ สุ่ยหูหม่าน (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Garden Quinine, Petit Fever Leaves, Seaside Clerodendron

ชื่อวิทยาศาสตร์: Volkameria inermis L.

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล: Volkameria 

สปีชีส์: inermis

ชื่อพ้อง: 

-Clerodendrum buxifolium (Willd.) Spreng.

-Clerodendrum capsulare Blanco

-Clerodendrum commersonii (Poir.) Spreng.

-Clerodendrum coriaceum Poir.

-Clerodendrum coromandelianum Spreng.

-Clerodendrum emarginatum Briq.

-Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.

-Clerodendrum inerme var. macrocarpum (Wall. ex C.B.Clarke) Moldenke

-Clerodendrum inerme f. parvifolium Moldenke

-Clerodendrum javanicum Spreng.

-Clerodendrum neriifolium (Roxb.) Wall. ex Steud.

-Clerodendrum ovalifolium (A.Juss.) Bakh.

-Clerodendrum ovatum Poir.

-Ovieda inermis (L.) Burm.f.

-Ovieda ovalifolia A.Juss.

-Volkameria buxifolia Willd.

-Volkameria commersonii Poir.

-Volkameria neriifolia Roxb.

-Catesbaea javanica Osbeck

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

สำมะงา thai-herbs.thdata.co | สำมะงา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นสำมะงา เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้พุ่มรอเลื้อย พาดพันลำต้นเกาะเกี่ยวขึ้นไป มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านเป็นสีเทาหรือสีขาวมน ๆ ออกสีน้ำตาลเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบ เป็นสีขาวอมสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุม


สำมะงา thai-herbs.thdata.co | สำมะงา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบบางและนิ่ม ก้านใบเป็นสีม่วงแดง ยาวได้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร


สำมะงา thai-herbs.thdata.co | สำมะงา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-7 ดอก แต่ส่วนมากจะพบเพียง 3 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนปลายแยกเป็นกลีบสีขาว 5 กลีบ เมื่อบานจะกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีม่วง จำนวน 5 เส้น เมื่อดอกร่วงโรยไปก็จะกลายเป็นผล

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมยาว หรือเป็นรูปไข่กลับ ก้นตัด แบ่งเป็นพู 4 พู มีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เนื้อนิ่ม ผิวผลเรียบเป็นมันลื่น เมื่อสุกแล้วผลจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีดำ พอแก่จะแห้งและแตกออกเป็น 4 ซีก ภายในผลแต่พูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด รวมเป็น 4 เมล็ดต่อผล

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามชายป่าใกล้ ๆ ลำห้วย และตามป่าชายหาด

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเอเชียไปจนถึงแปซิฟิคตะวันตก

การกระจายพันธุ์: -

สำมะงา thai-herbs.thdata.co | สำมะงา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่งปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ ต้มเอาน้ำอาบ แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสารจำพวกอัลคาลอยด์ (Alkaloids) อยู่หลายชนิด คือ pectolinarigenin, 4-methylscutellarein, unsaponified matters, cholesterol, higher fatty alcohols, steroids ฯลฯ นอกจากยังมีพวก resin, gum สารสีน้ำตาล เถาจากใบมีเกลือแดง (Sodium chloride) 24.01% ของเถ้าทั้งหมด

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์กระตุ้นมดลูก น้ำที่ได้จากการสกัดใบสำมะงา จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกออกจากตัว และมีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตของสุนัขที่ทำให้สลบชั่วคราว หรือถ้าให้ในปริมาณน้อยจะมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

-สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากใบสำมะงาที่มีรสขม จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่กำลังมีท้อง และจากการสกัดแยกสารจำพวก Sterols จากพืชชนิดนี้ ไม่พบฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเพศชายหรือของต่อมเพศอื่น

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้ฝี ประดง แก้หัด อีสุกอีใส ผดผื่นคันตามตัว และผื่นคันมีน้ำเหลือง ใช้ใบสํามะงา มีรสเย็นเฝื่อน ตำรายาไทยจะใบเป็นยาทาภายนอก โดยนำมาพอก ต้มกับน้ำอาบ หรือใช้ชะล้างตามร่างกาย หรือใช้ไอน้ำอบร่างกายเป็นยารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้ฝี ประดง แก้หัด อีสุกอีใส ผดผื่นคันตามตัว และผื่นคันมีน้ำเหลือง

-อาการไข้ ตัวร้อน ไข้มาลาเรีย ใช้ราก มีรสขม ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ด้วยการใช้รากแห้ง 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม โดยใช้ไฟอ่อน ๆ 

-อาการผิวหนังพุพอง และน้ำเหลืองเสีย ใช้ทั้งต้นสดหรือต้นแห้ง มีรสเย็นเฝื่อน นำมาสับเป็นชิ้น ๆ ประมาณ 3-4 กิ่ง แล้วต้มกับน้ำอาบหรือใช้ชะล้างแผล ใช้รักษาโรคผิวหนังพุพอง และน้ำเหลืองเสีย

-อาการแผลติเเชื้อ ใช้ใบสดต้มน้ำใช้ทำความสะอาดแผล ใบแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้ติดเชื้อ 

-อาการแผลเน่าเปื่อย ใช้ใบนำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำชะล้างก็ได้ หรืออาจตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงทา หรือโรยบริเวณทีมีอาการ

-อาการแผลเลือดออก ช่วยสมานแผล ใช้ใบตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงแล้วนำไปโรยบนแผล จะช่วยห้ามเลือดและสมานแผลสด

-อาการแผลฟกช้ำดำเขียวบวม อันเนื่องมาจากถูกกระทบกระแทก เอวเคล็ด เคล็ดขัดยอก ใช้ใบสดตำผสมกับเหล้า ใช้ทาถูบริเวณที่ปวด 

-อาการบวมอักเสบ ฟกช้ำ ใช้ใบและผลสดต้มรวมกับเหล้าพออุ่น ทาแก้รอยฟกช้ำหรือบวม รากแห้งต้มกับน้ำดื่ม แก้ไข้หวัด ตับอักเสบและแผลบวม

-อาการปวดข้อ ปวดประสาทที่ก้นกบ ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ในการต้ม)




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง