Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ฝ้ายขาว

ชื่อท้องถิ่น: ฝ้ายไทย ฝ้ายหีบ (ไทย)/ ฝ้ายดอก (เชียงใหม่)/ ฝ้ายชัน (ลำปาง)/ ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ เหมียวฮวา เฉ่าเหมียนฮวา (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Cotton plant, Cotton, Sea Iceland Cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gossypium herbaceum L.

ชื่อวงศ์: MALVACEAE

สกุล: Gossypium

สปีชีส์: herbaceum

ชื่อพ้อง: 

-Gossypium albescens Raf.

-Gossypium album Buch.-Ham.

-Gossypium amblospermum Raf.

-Gossypium aureum Raf.

-Gossypium bicolor Raf.

-Gossypium chinense Fisch. & Otto ex Steud.

-Gossypium cinereum Raf.

-Gossypium convexum Raf.

-Gossypium croceum Buch.-Ham.

-Gossypium decurrens Raf.

-Gossypium eglandulosum Cav.

-Gossypium elatum Salisb.

-Gossypium frutescens (Delile) Roberty

-Gossypium fuscum Raf.

-Gossypium latifolium var. paniculatum (Blanco) Roberty

-Gossypium latifolium var. tricuspidatum (Lam.) Roberty

-Gossypium leoninum Medik.

-Gossypium macedonicum Murray

-Gossypium macrospermum Raf.

-Gossypium micranthum Cav.

-Gossypium molle Mauri ex Ten.

-Gossypium paniculatum Blanco

-Gossypium perrieri (Hochr.) Prokh.

-Gossypium purpureum Raf.

-Gossypium siamense Ten.

-Gossypium simpsonii G.Watt

-Gossypium strictum Medik.

-Gossypium tricuspidatum Lam.

-Gossypium vitifolium Roxb.

-Gossypium zaitzevii Prokh.

-Xylon leoninum (Medik.) Medik.

-Xylon strictum (Medik.) Medik.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ฝ้ายขาว thai-herbs.thdata.co | ฝ้ายขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นฝ้ายขาว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย ลำต้นเป็นสีเขียวมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่นขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย จัดเป็นพรรณไม้พื้นเมืองที่ปลูกกันมากทางภาคเหนือของประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ใบแยกออกเป็นแฉก ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร


ฝ้ายขาว thai-herbs.thdata.co | ฝ้ายขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง มีใบประดับหุ้ม ปลายใบประดับเป็นเส้นแหลมประมาณ 12 เส้น กลีบดอกบางมี 5 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างกลมเป็นสีขาวอมเหลือง ออกเรียงซ้อนกัน แต่ละกลีบกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ใจกลางดอกเป็นสีม่วงอ่อน ๆ มีเกสรเพศผู้มากมายรวมอยู่ในดอก ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร และขอบเป็นฟันเลื่อย 6-8 หยัก

ผล ลักษณะเป็นรูปกลม เป็นผลแห้ง แตกได้ตามพูเป็น 3-4 ซีก ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมและแข็ง ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีขนปุยสีขาวหุ้มเมล็ดอยู่ จะออกผลเมื่อดอกแก่ร่วงไปแล้ว

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ซีเรียไปจนถึงอัฟกานิสถาน และคาบสมุทรเอสอาระเบีย

การกระจายพันธุ์: อัฟกานิสถาน, อิหร่าน, เลบานอน-ซีเรีย, โอมาน, เยเมน, แอลเบเนีย, หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, บราซิลเหนือ, บราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ, บราซิลตอนใต้, บราซิลตะวันออกเฉียงใต้, กัมพูชา, ชาด, จีนตอนเหนือ-กลาง, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, อียิปต์, กรีซ, กินี, เฮติ, อินเดีย, อิรัก, อิตาลี, คาซัคสถาน, กฤติ, เกาะแลคาดีฟ, มัลดีฟส์, มอริเตเนีย, โมซัมบิก, เกาะนิโคบาร์, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, ปากีสถาน, โรมาเนีย, เซเนกัล, ซิซิเลีย, โซมาเลีย, สเปน, ซูดาน, ทาจิกิสถาน, โตโก, เติร์กเมนิสถาน, อุซเบกิสถาน, เวียดนาม, ซินเจียง

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกราก รสขื่นเอียน สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตรี บีบมดลูก รับประทานมากๆ อาจแท้งได้

องค์ประกอบทางเคมี:

-สารสำคัญที่พบ ได้แก่ alamine, apocynin, aspartic acid, glutamic acid, glycine, gossypetin, gossyptrin, gossypol, kaempferol, palmitic acid, phytin, satirane, serine, thrconin, tocopherol, triacontane

-ในเมล็ดและเปลือกราก พบสาร Acetovanilone, Asparagin, Berbacitrin, Cossypitrin, Gossypetin, Kaempferol, Quercimeritri นอกจากนั้นในเมล็ดยังพบน้ำมันอีกด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ยับยั้งอาการไอและขับเสมหะ เมื่อนำสาร Gossypol ที่สกัดได้จากรากฝ้ายขาว ให้หนูทดลองที่มีอาการไอกินหรือฉีดเข้าตัวของหนู พบว่าสามารถยับยั้งอาการไอและขับเสมหะได้

-ฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก สารที่สกัดได้จากใบ กิ่ง และรากฝ้ายขาว มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในหนูทดลอง และทำให้มดลูกของหนูทดลองมีกำลังการบีบแรงขึ้น

-ฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อ Coccus, Staphelo coccus สารสกัดจากกิ่งและรากฝ้ายขาว มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อ Coccus, Staphelo coccus, และเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดได้

-ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด เมื่อปี ค.ศ.1960 ประเทศบราซิล ได้ทำการศึกษาทดลองผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือดสูง โดยทำการทดลองในคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดแข็งจำนวน 80 ราย เป็นเวลา 15-30 วัน แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ให้น้ำมันทานตะวัน, กลุ่มที่ 2 ให้น้ำมันเมล็ดฝ้าย, กลุ่มที่ 3 ให้น้ำมันข้าวโพด, กลุ่มที่ 4 ให้น้ำมันมะกอก ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ 1, 2, 3 มี β-Lipoprotein และ albumin ระดับลดลง ยกเว้นกลุ่มที่ 3 ที่มีระดับสูงขึ้น และพบว่าระดับของคอเลสเตอรอลรวมมีระดับต่ำลงทุกกลุ่ม

-เมื่อปี ค.ศ.1961 ประเทศอาหรับ ได้ทำการศึกษาทดลองผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือด โดยทำการศึกษาทดลองในหนูขาว (albio rat) โดยการให้น้ำมันฝ้าย เปรียบเทียบกับหนูที่ให้น้ำมันมะกอก ในหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง และให้ Nicoticin acid 10 mg./rat.day ระยะเวลาทำการทดลองนาน 60 วัน ผลการทดลองพบว่า น้ำมันฝ้ายมีผลทำให้คอเลสเตอรอลลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอก และพบสารต่าง ๆ คือ dehyolrocholic acid, p-aminobenzoic acid phenylpropionic acid

-เมื่อปี ค.ศ.1998 ประเทศปากีสถาน ได้ทดลองหาผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือด ซึ่งทำการทดลองจาก Hemicellulose fraction ในขบวนชีววิทยา ซึ่งพบสารที่ทำการลดไขมันในเลือด (Hypocholesteremic agent) ได้จากการสกัดจาก lignocelluloses ของพืชที่ไม่มีแก่นไม้ เช่น ฝ้าย เป็นต้น

-เมื่อปี ค.ศ.2001 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือดสูง โดยทำการทดลองกับหนูเพศผู้ที่ถูกกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง โดยทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ แบ่งหนูทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้น้ำมันข้าวโพดผสมน้ำมันเมล็ดฝ้ายในอัตราส่วน 1:1 ส่วนกลุ่มที่ 2 ทดลองเปรียบเทียบให้น้ำมันเมล็ดฝ้ายอย่างเดียว และกลุ่มที่ 3 ให้น้ำมันข้าวโพดอย่างเดียว ผลการทดลองพบว่า หนูกลุ่มที่ 1 และ 3 ไม่พบความแตกต่างของระดับไตรกลีเซอไรด์ แต่กลุ่มที่ 2 ที่ให้น้ำมันเมล็ดฝ้าย พบว่ามีผลทำให้คอเลสเตอรอลรวมต่ำลง เนื่องจากน้ำมันเมล็ดฝ้ายมีสารจำพวก saturated fatty acid ระดับต่ำกว่าน้ำมันข้าวโพด

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าน้ำมันฝ้ายดิบในอาหาร 40% เมื่อนำมาให้หนูขาวทั้งสองเพศ กินติดต่อกัน 14 เดือน ไม่เกิดอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ดฝ้าย ใช้สกัดเอาน้ำมันเพื่อเป็นอาหาร ใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม และใช้ในอุตสาหกรรม

-ใยฝ้ายสีขาว หรือปุยฝ้าย สามารถนำมาใช้กรอทำเป็นเส้นสำหรับใช้ทอเป็นผืนผ้า เรียกว่า “ผ้าฝ้าย” สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ทำเชือก ทำถุง ทำสายพานต่าง ๆ และยางรถ ส่วนเส้นใยที่สั้นจะนำมาใช้ทำพรมและเครื่องใช้อื่น ๆ ส่วนเส้นใยที่ติดแน่นอยู่กับเมล็ดจะนำมาใช้ทำเส้นใยเทียม เช่น เรยอน และผลผลิตอื่น ๆ ที่ทำจากเซลลูโลส ปุยฝ้ายใช้ทำสำลีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง