Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




ชื่อไทย: ง่อนตาหงาย (เอื้องใบไผ่ดอกชมพู)

ชื่อท้องถิ่น: แขมดอกขาว แขมเหลือง ง้วนตากหงาย (ภาคเหนือ) น้ำทราย (ลำปาง) ม้วนตักหงาย (ภาคเหนือ) ยี่โถปีนัง (กรุงเทพฯ) หญ้าจิ้มฟันควาย หญ้าแผงสี หญ้าแยงแย่ (สตูล) ห้อนตักหาย เอื้องใบไผ่ ฮ้วนตักหาย (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundina graminifolia (D.Don) Hochr.

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

สกุล: Arundina 

สปีชีส์: graminifolia

ชื่อพ้อง: 

-Arundina bambusifolia Lindl., nom. illeg.

-Bletia graminifolia D.Don

-Cymbidium bambusifolium Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ง่อนตาหงาย thai-herbs.thdata.co | ง่อนตาหงาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นง่อนตาหงาย เป็นต้นไม้ขนาดเล็กๆ คล้ายกล้วย มีหัวใต้ดิน ต้นผอมตรง สูงประมาณ 50-160 เซนติเมตร


ง่อนตาหงาย thai-herbs.thdata.co | ง่อนตาหงาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว ใบรูปแถบขอบขนานแคบ กว้างประมาณ 6-9 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ง่อนตาหงาย thai-herbs.thdata.co | ง่อนตาหงาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามปลายยอด ดอกสีม่วงหรือสีม่วงอ่อน ช่อดอกสั้น บานครั้งละ 1-3 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเฉียงลงด้านล่าง กลีบดอกรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม สีม่วงหรือสีม่วงอ่อน กลีบปากรูปเกือบกลม หรือแยกเป็น 2 แฉก เว้าตื้น ขอบหยักเป็นคลื่น สีม่วงเข้ม

ผล ลักษณะรูปทรงกระบอก ปลายมนเมื่อแก่แล้วแตกออก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเย็น สรรพคุณ ถอนพิษของเบื่อเมา ถอนพิษไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นง่อนตาหงาย (เอื้องใบไผ่ดอกชมพู) เลี้ยงง่ายและให้ดอกที่สวยงาม



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง