Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะขามไทย

ชื่อท้องถิ่น: มะขาม (ภาคกลาง)/ ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ (นครราชสีมา)/ ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง, กาญจนบุรี)/ อำเปียล (เขมร, สุรินทร์)/ หมากแกง (เงี้ยว, แม่ฮ่องสอน)/ ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: Tamarind, Indian date

ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica L.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

สกุล: Tamarindus 

สปีชีส์: indica

ชื่อพ้อง: 

-Cavaraea elegans Speg.

-Tamarindus erythraeus Mattei

-Tamarindus occidentalis Gaertn.

-Tamarindus officinalis Hook.

-Tamarindus somalensis Mattei

-Tamarindus umbrosa Salisb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะขาม ตั้งตรงได้เอง สูงประมาณ 20 เมตร ผิวลำต้นหยาบขรุขระ สีของลำต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีน้ำตาลเข้ม ไม่มียาง ลำต้นแตกกิ่งก้านแขนงต่างๆ แตกออกไปเป็นจำนวนมากแน่น ทำให้มองเห็นต้นเป็นทรงพุ่มกลม

ใบ เป็นใบประกอบขน นก 2 ชั้น ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม แผ่นใบมนขอบขนานใบกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตรยาว 1-2.5 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบเป็นแบบคู่ตรงข้าม กั้นด้วยแกนลางใบ


มะขามไทย thai-herbs.thdata.co | มะขามไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อกระจายตามด้านข้างของกิ่ง และตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5-15 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ดอกย่อย 4-10 ดอก กลีบเลี้ยง 4กลีบ


มะขามไทย thai-herbs.thdata.co | มะขามไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย มะขามไทย thai-herbs.thdata.co | มะขามไทย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวตรง หรือโค้งแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คอดเป็นข้อๆ ต่อกันตลอดฝัก ยาว 3-20 ซม. กว้าง 1 -2.5 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝัก เปลือกหนาแข็ง แต่เปราะหักง่าย สีน้ำตาลอมเทา เนื้อในจะมีสีน้ำตาลนิ่มหุ้มเมล็ดอยู่ เนื้อมีรสเปรี้ยว หรือหวาน หรือทั้งเปรี้ยวและหวาน ในผลเดียว และฝักหนึ่งๆ จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดอยู่ 3-12 เมล็ด เมล็ดอ่อนสีขาวเขียว  เมื่อเมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกาเขตร้อนและมาดากัสการ์

การกระจายพันธุ์: มาดากัสการ์, อัลดาบรา, เกาะอันดามัน, แองโกลา, อารูบา, อัสสัม, บาฮามาส, บังกลาเทศ, เบลีซเบนิน, หมู่เกาะบิสมาร์ก, โบลิเวีย, บูร์กินา, บุรุนดี, กัมพูชา, แคเมอรูน, เคปเวิร์ด, เคย์แมนไอเอฟ, แอฟริกากลาง, ชาด, หมู่เกาะชากอส จีนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เกาะคริสต์มาส, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, คิวบา, จิบูตี, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอริเทรีย, เอธิโอเปีย, ฟิจิ, ฟลอริดา, กาลาปากอส, แกมเบีย, กานา, กัวเตมาลา, กินี, กินี-บิสเซา, อ่าวกินี, ไหหลำ, เฮติ, ฮาวาย, อินเดีย, อิรัก, ไอวอรีโคสต์, จาเมกา, จาวา, เคนยา,  ควาซูลู-นาทาลา, เกาะแลคคาดีฟ,. ลาว, เกาะลีวาร์ด, ไลบีเรีย, ลิเบีย, มาลาวี, มาลายา, มัลดีฟส์, มาลี, มอริเตเนีย, มอริเชียส, เม็กซิโกกลาง, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, เม็กซิโกตะวันตกเฉียงใต้, โมซัมบิก, โมซัมบิกช่อง 1, เมียนมาร์, เนปาล, เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส, นิวแคลิโดเนีย, นิวกินี, นิโคบาร์ไอส์, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โอมาน, ปากีสถาน, ปานามา, เปรู, ฟิลิปปินส์, เปอร์โตริโก, โรดริเกส , เรอูนียง, ซาอุดีอาระเบีย, เซเนกัล, เซเชลส์, เซียร์ราลีโอน, โซโคตรา, โซมาเลีย, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, ซูดาน, สุมาเตรา, แทนซาเนีย, เท็กซัส, ไทย, โตโก, ตรินิแดด - โตเบโก, เติกส์ - เคคอสคือ, ยูกันดา, เวเนซุเอลา, แอนทิลลิสเวเนซุเอลา, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก, ออสเตรเลียตะวันตก, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, เยเมน, แซมเบีย, สาธารณรัฐซาอีร์, ซิมบับเว

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ ต้มเอาน้ำชะล้างบาดแผลทำให้หายเร็ว ฝนกับน้ำปูนใสใส่แผลเรื้อรังทำให้หายเร็ว

*ใบแก่ รสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณ ขับเสมหะในลำไส้ แก้บิด แก้ไอ ต้มน้ำโกรกศีรษะเด็กเวลาเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูก

*เนื้อในฝัก รสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ กัดเสมหะ แก้กระหายน้ำ ทำให้เกิดน้ำลาย

*น้ำส้มมะขามเปียก รสเปรี้ยว สรรพคุณ รับประทานกับน้ำปูนใส ขับเลือด ขับลมสำหรับสตรี 

*เปลือกเมล็ด รสฝาด สรรพคุณ คั่วไฟเอาเปลือกแช่น้ำรับประทาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน

*เมล็ดใน คั่วแล้ว รสมันเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือนตัวกลม

*รกมะขาม รสฝาดเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ท้องเสีย

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด ประกอบด้วยอัลบูมินอยด์ (albuminoids) โดยที่มีปริมาณไขมัน 14-20%, คาร์โบไฮเดรต 59-60 %,น้ำมันที่ถูกทำให้แห้งบางส่วน (semi-drying fixed oil) 3.9-20 %,น้ำตาลรีดิวซ์ (reducing sugar) 2.8%, สารที่มีลักษณะเป็นเมือก (mucilaginous material) 60%ได้แก่ โพลีโอส (polyose) 

-เปลือกหุ้มเมล็ด ประกอบไปด้วยโปรตีน 9.1% และไฟเบอร์ 11.3% แทนนิน (tannins) ถึง 32% ซึ่งแทนนินนี้จำแนกได้เป็นโฟลบาแทนนิน (phlobatannin) 35%ที่เหลือเป็นคะเตโคแทนนิน (Catecholtannin)

-เนื้อผล รสเปรี้ยวยังพบกรดทาริทาริก (Tartaric acid) 

-ใบ พบกรดทาริทาริก (Tartaric acid) และกรดมาลิก (Malic acid) 

-ดอก พบแซนโทฟิล (xanthophyll) 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดน้ำร้อนจากใบ สารสกัดเอทานอล 95% จากใบ ไม่ระบุขนาดที่ใช้ สารสกัดอีเทอร์-เฮกเซน-เมทานอล จากใบ ความเข้มข้น 100 มค.ก. และสารสกัดเอทานอล 95% จากผล ไม่ระบุขนาดที่ใช้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สารสกัดน้ำร้อนจากผล ไม่ระบุขนาดที่ใช้ ให้ผลยับยั้งเชื้อ S. aureus ไม่ชัดเจน ในขณะที่สารสกัดอัลกอฮอล์จากผล ความเข้มข้น 200 มก./มล. ให้ผลยับยั้งเชื้อดังกล่าวต่ำมาก สารสกัดเอทานอล 95% และสารสกัดน้ำร้อนจากราก ไม่ระบุขนาดที่ใช้ สารสกัดเฮกเซนและสารสกัดน้ำจากผล ความเข้มข้น 200 มก./มล. และสารสกัดน้ำ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ความเข้มข้น 1 ก./มล. ไม่มีผลยับยั้ง S. aureus สารสกัดส่วนเนื้อมะขามด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลองที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ได้แก่ Bacillus subtilis, Escherichia coli และ Salmonella typhi แต่สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม และสารสกัดด้วยน้ำ 

-มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าวอย่างอ่อนมีการทดสอบในสัตว์ (in vivo study) โดยให้เปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม หรือเมล็ดมะขาม ให้สัตว์ทดลองรับประทานพบว่าเปลือกเมล็ดมะขามที่กำจัดแทนนินออกแล้วมีค่าปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคในไก่ คือ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยที่สามารถลดความเครียดจากความร้อน (heat stress) และลดภาวะออกซิเดทีฟสเตรทได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาอีกฉบับรายงานว่าเมล็ดมะขามต้มแล้วเอกเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามออกนั้นไม่สารถเพิ่มคุณค่าทางอาหารในไก่ได้ ไก่ที่รับประทานเมล็ดมะขามดังกล่าวพบผลเสียคือ ดื่มน้ำมากขึ้นและมีขนาดของตับอ่อนและความยางของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น โดยที่ผลที่ได้นี้ผู้วิจัยแนะนำว่าเกิดจากโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่สามารถย่อยได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-หนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมียที่กินอาหารผสมด้วยส่วนสกัดโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ด ขนาด 5% ของอาหาร ไม่พบพิษ แต่หนูถีบจักรเพศเมียที่กินอาหารผสมดังกล่าวขนาด 1.2 และ 5% จะมีน้ำหนักลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 34

-ไก่ (Brown Hisex chicks) กินอาหารผสมด้วยเนื้อมะขามสุก 2% และ 10% นาน 4 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักลดลง (weight gain) และ feed conversion ratios ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ คือ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมันของตับ (fatty change) เซลล์ตับ และ cortex ของไตตาย (necrosis) ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ไก่กลุ่มที่กินอาหารผสม 10% จะมีพยาธิสภาพรุนแรงกว่าไก่กลุ่มที่กินอาหารผสม 2% ผลการตรวจทางซีรัมพบว่า กรดยูริก total cholesterol, alkaline phosphatase (ALP), glutamic oxaloacetic trans-aminase (GOT) ในซีรั่มเพิ่มขึ้น total serum protein ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ไม่ได้กินอาหารผสมเนื้อมะขามสุก) sorbitol dehydrogenase และ total bilirubin ไม่เปลี่ยนแปลง ค่า ALP กรดยูริก cholesterol และ total protein จะไม่กลับสู่ภาวะปกติในช่วง 2 สัปดาห์หลังจากไม่ได้กินอาหารผสมแล้ว ผลการตรวจทางโลหิตวิทยาไม่มีการเปลี่ยนแปลง

-หนูขาวเพศเมียและเพศผู้กินอาหารที่มีส่วนผสมของโพลีแซคคาไรด์จากเมล็ดมะขาม 4, 8 และ 12% นาน 2 ปี ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม อัตราการตาย น้ำหนักร่างกาย การกินอาหาร ผลทางชีวเคมีในปัสสาวะและเลือด ผลการตรวจเลือด น้ำหนักอวัยวะ และพยาธิสรีระหนูถีบจักรที่กินสารสกัดเอทานอล:น้ำ (1:1) จากดอก พบว่าขนาดความเข้มข้นของสารสกัดสูงสุดที่หนูทนได้ เท่ากับ 1 ก./กก. นน.ตัว

-หนูขาว Sprague-Dawley SPF กินอาหารที่ผสมด้วย pigments จากเมล็ดที่เผาในขนาด 0, 1.25, 2.5 และ 5% ของอาหาร เป็นเวลา 90 วัน ไม่พบความผิดปกติใดๆ ความเข้มข้นสูงสุดของ pigments ที่ให้โดยการผสมในอาหารในหนูเพศผู้เท่ากับ 3,278.1 มก./กก./วัน และในหนูเพศเมียเท่ากับ 3,885.1 มก./กก./วัน ไม่พบพิษ

-พิษต่อตัวอ่อน L-(-)-di-Butyl malate ที่ได้จากสารสกัดเมทานอลจากฝักมะขาม เป็นพิษต่อเซลล์ตัวอ่อนของ Sea urchin แต่สารสกัดเอทานอล : น้ำ จากฝักมะขาม ให้ทางสายยางลงสู่กระเพาะอาหารหนูขาวที่ตั้งท้อง ขนาด 100 มก./กก. ไม่พบพิษต่อตัวอ่อนในท้อง และสารสกัดเอทานอล 100% จากผล ให้ทางสายยางให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย ขนาด 200 มก./กก. ไม่ทำให้แท้ง และไม่มีผลต้านการฝังตัวของตัวอ่อน ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ฝักมะขามขนาด 0.1 มก./จานเพาะเชื้อ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ Salmonella typhimurium TA1535 แต่ไม่มีผลต่อ S. typhimurium TA1537, TA1538 และ TA98

การใช้ประโยชน์:

-อาการท้องผูก ใช้เนื้อมะขามเปียกประมาณ 15 ฝัก นำมาจิ้มกับเกลือแล้วรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำแล้วคั้นเป็นน้ำดื่ม

-อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้นประมาณ 2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำแล้วนำมารับประทาน

-ถ่ายพยาธิตัวกลมในลำไส้ พยาธิไส้เดือน ใช้เมล็ดมะขามมาคั่ว กะเทาะเปลือกออก นำเนื้อในเมล็ดมาแช่น้ำเกลือจนนิ่ม แล้วรับประทานครั้งละ 20 เม็ด

-ช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ ใช้มะขามเปียกมาจิ้มเกลือแล้วรับประทาน

-ช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟัน สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ใช้เนื้อมะขามมาขัดถูฟันเป็นประจำทุกครั้งที่แปรงฟัน จะช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟันลงได้ ช่วยให้ฟันขาวขึ้น

-ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น และช่วยกำจัดแบคทีเรีย ใช้มะขามเปียกนำไปไปแช่น้ำ ลอกเอาใยออก นำมะขามมาถูตัวเบา ๆ จะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นตลอดทั้งวัน และช่วยกำจัดแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

-ช่วยให้ผิวหน้าดูกระชับ ใช้มะขามเปียกและดินสอพองนำมาผสมจนเข้ากัน มาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยให้ผิวหน้าดูกระชับสดใสและสะอาดยิ่งขึ้น

-ช่วยให้ผิวหนังขาวสดใส ใช้มะขามเปียกนำมาผสมกับน้ำอุ่นและนมสด ใช้พอกผิว ช่วยให้ผิวหนังที่มีรอยดำคล้ำกลับมาขาวสดใส นุ่มนวลยิ่งขึ้น

-ยานวดผม ซึ่งช่วยรักษารากผม ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ และช่วยฆ่าเหา ใช้มะขามเปียกนำมาผสมกับน้ำแล้วใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกมาผสมกับน้ำ น้ำที่ได้นั้นจะมีลักษณะเหลว (ไม่ควรเหลวมาก) แล้วนำมานวดศีรษะหลังจากที่สระผมเสร็จแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก

-น้ำยาอาบน้ำ ด้วยการนำใบมะขามมาจำนวนหนึ่ง ใส่ใบมะขามลงในน้ำเดือดแล้วปิดฝา แล้วเคี่ยวประมาณ 30 นาที จากนั้นนำลงจากเตาปล่อยให้เย็นแล้วนำมาอาบ จะช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น รักษาผดผื่นคันตามร่างกายและผิวหนังได้

-ยอดอ่อนและฝักอ่อน มีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี

-เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริก (Citric Acid) กรดทาร์ทาริก (Tartaric Acid) หรือกรดมาลิก(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดี

-ผลสุก สามารถนำมาแปรรูปได้หลายชนิด เช่น มะขามแก้ว มะขามกวน มะขามอบไร้เมล็ด มะขามบ๊วย มะขามแช่อิ่ม มะขามคลุก มะขามจี๊ดจ๊าด เป็นต้น

-ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม







ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง