Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะคำดีควาย

ชื่อท้องถิ่น: ประคำดีควาย (ภาคกลาง)/ มะซัก ส้มป่อยเทศ (ภาคเหนือ)/ ชะแซ ซะเหล่เด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: Soapberry Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapindus trifoliatus L.

ชื่อวงศ์: SAPINDACEAE

สกุล: Sapindus 

สปีชีส์: trifoliatus

ชื่อพ้อง:

-Sapindus emarginatus Vahl

-Sapindus laurifolius Vahl

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะคำดีควาย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดของต้นหนาทึบ ลำต้นมักคดงอ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล 


มะคำดีควาย thai-herbs.thdata.co | มะคำดีควาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ในช่อหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 2-4 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียว

ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็กสีขาวนวลหรือเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ในหนึ่งดอกจะมีกลีบรองดอกขนาดเล็กประมาณ 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบข้างนอกมีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลปนแดงขึ้นอยู่ประปราย ส่วนบริเวณกลางดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้านมะคำดีควาย thai-herbs.thdata.co | มะคำดีควาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย มะคำดีควาย thai-herbs.thdata.co | มะคำดีควาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลออกรวมกันเป็นพวง ผลย่อยมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลสดสีเขียว ผิวผลเรียบหรืออาจมีรอยย่นที่ผลบ้าง เปลือกผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมีพู 3 พู และมักจะฝ่อไป 1-2 พู เนื้อในผลมีลักษณะเหนียว ใส เป็นสีน้ำตาล และมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมสีดำเป็นมัน เป็นเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มแข็ง

สภาพนิเวศวิทยา: สำหรับในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง

ถิ่นกำเนิด: อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกและอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, จีนตอนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, อินเดีย, ญี่ปุ่น, คาซานเรตโต, เกาหลี, ลาว, เมียนมาร์,เกาะ นันเซอิ, เกาะโอกาซาวาระ, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก, จอร์เจีย, ปากีสถาน

มะคำดีควาย thai-herbs.thdata.co | มะคำดีควาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ผลแก่ รสขม สรรพคุณ แก้กาฬภายใน ดับพิษทั้งปวง บำรุงน้ำดี ต้มเอาฟองสุมศีรษะเด็ก แก้หวัดคัดจมูก สุมเป็นถ่าน สรรพคุณ ดับพิษร้อนภายใน แก้พิษไข้ พิษซาง แก้หอบเนื่องจากปอดชื้นและปอดบวม

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารสำคัญที่พบได้แก่ ß-Sitosterol, Emarginatoside, Quercetin, Quercetin-3-a-A-arabofuranoside, O-Methyl-Saponin, Sapindus - Saponin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์การต้านเชื้อรา จากการทดลองด้วยการทาสารสกัดเอทานอลของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้นร้อยละ 2 พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และการใช้แชมพูจากสารสกัดของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้น 6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าจะช่วยทำให้เส้นผมสะอาดและช่วยลดอาการคันบนหนังศีรษะ

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษ ด้วยการใช้สารที่สกัดได้จากผลประคำดีควายด้วยแอลกอฮอล์ปริมาณ 50% ในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม โดยทำการทดลองฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งคือ 2.0 กรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าไม่พบอาการพิษ (ขนาดที่ใช้เท่ากับ 2,083 เท่า ของปริมาณยาที่ใช้ในตำรับยา)

-การกินผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร หากผงซึ่งมีสารซาโปนินอยู่ เข้าทางจมูก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง จาม ถ้าฉีดเข้ากระแสโลหิตทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เป็นพิษมากต่อสัตว์เลือดเย็น (ใช้เบื่อปลา) ใช้เป็นยาฆ่าแมลง  แต่มีประโยชน์เป็นสารชะล้าง ใช้แทนสบู่ ใช้สระผมได้

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ด มีลักษณะกลมและแข็ง มีสีน้ำตาลดำ สามารถนำไปใช้ร้อยทำเป็นลูกประคำได้

-ผล มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นมาก โดยเฉพาะปลา จึงมีการนำมาใช้ในการเบื่อปลา และใช้เป็นยาฆ่าแมลง

-ผล ที่สกัดเอาน้ำแล้วนำไปคลุกกับเหยื่อพิษ หรือใช้ฉีดพ่นต้นข้าว จากนั้นนำไปวางในนาข้าว เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยกำจัดหอยเชอรี่ได้ โดยขั้นตอนการทำก็เริ่มจากการนำลูกประคำดีควาย 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 2 ส่วน แช่ลูกประคำดีควายกับน้ำไว้ 12 ชั่วโมง จากนั้นให้ขยำเนื้อให้ละเอียด แยกเอาเมล็ดออก แล้วนำผ้าขาวบางมากรองเอาแต่สารละลาย เสร็จแล้วให้นำสารละลายที่กรองได้มาผสมกับน้ำเพิ่มอีกในอัตราส่วน 1 ต่อ 6 (สารละลาย 1 ส่วนต่อน้ำเปล่า 6 ส่วน) แค่นี้ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย ส่วนเนื้อของลูกประคำดีควายสามารถนำมาผสมกับน้ำและคั้นเอาสารสกัดได้อีก 2 ครั้ง

-ชาวลั้วะนำใบมานึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก 

-ชาวบ้านตามชนบทจะนิยมนำผลมาใช้เป็นสารชะล้างแทนสบู่เพื่อชำระล้างร่างกาย สระผม หรือนำไปใช้ซักผ้า ผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องเพชร ฯลฯ เพราะผลเมื่อนำมาทุบแล้วจะเกิดฟองคล้ายสบู่ 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง