Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เต่าร้าง (เต่ารั้ง)

ชื่อท้องถิ่น: ขื่องหมู่ (ภาคเหนือ)/ เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง)/ มะเด็ง (ยะลา)/ งือเด็ง (มลายู-นราธิวาส)/ เต่าร้าง เก๊าหม้าย เก๊ามุ่ย เก๊าเขือง (คนเมือง)/ มีเซเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ เก๊าเขือง (ไทลื้อ)/ ซึ (ม้ง)/ จึ๊ก (ปะหล่อง)/ ตุ๊ดชุก (ขมุ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota mitis Lour.

ชื่อวงศ์: ARECACEAE-PALMAE-PALMACEAE

สกุล:  Caryota

สปีชีส์: mitis

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เต่าร้าง thai-herbs.thdata.co | เต่าร้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเต่าร้าง เป็นไม้ประเภทปาล์ม ต้นแตกกอมีความสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร และลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร มักขึ้นเดี่ยว ๆ หรือแตกกอเป็น 2-4 ต้น ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีลักษณะเกลี้ยงเป็นสีเขียวถึงสีเทาอมเขียว เป็นปาล์มที่มีอายุสั้น หลังออกดอกเป็นผลแล้วต้นจะค่อย ๆ ตายไป 


เต่าร้าง thai-herbs.thdata.co | เต่าร้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อยข้างละ 7-23 ช่อ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้นยาวประมาณ 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม

ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน โดยจะออกดอกเป็นช่อเชิงลดไม่มีก้าน ช่อดอกยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ก้านช่อดอกอวบ ห่อหุ้มไปด้วยกาบสีเขียวขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ต่อมาจะออกตามซอกใบ แล้วไล่ลงมาถึงโคนต้น ช่อดอกมีลักษณะย่อยห้อยลงมา ออกดอกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก เรียงเวียนสลับกับแกนช่อดอกย่อย โดยดอกเพศผู้จะเป็นสีเขียวอ่อนไม่มีก้าน ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปทรงขอบขนาน เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองนวล กลีบดอกแข็งมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้ง ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมติดกัน ดอกที่บานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร


เต่าร้าง thai-herbs.thdata.co | เต่าร้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นพวง ๆ ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร เนื้อผลชุ่มไปด้วยน้ำเลี้ยง ซึ่งเป็นพิษและทำให้ระคายเคือง ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มถึงสีม่วงคล้ำหรือดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: มักพบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเสื่อมโทรม ริมลำธาร ตามที่ลุ่ม และตามแนวหลังป่าชายเลนที่ติดกับป่าบกหรือป่าพรุ

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: อินเดีย พม่า ไทย ลาว หมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทางตอนใต้ของจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและแยกก

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัวและราก รสหวานเย็นขม สรรพคุณ ดับพิษตับ ปอด แก้หัวใจพิการ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อน ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน จะนำมาต้ม ลวก แกง หรือผัดกะทิก็ได้ แล้วนำไปเป็นอาหารกินแกล้มกับแกงหรือน้ำพริก บ้างก็ใช้รับประทานสด ๆ

-แกนในของลำต้น (แกนในยอดอ่อนบริเวณโคนต้น) นำมาประกอบอาหาร เช่น ทำแกง (แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน) แกล้มรับประทานกับน้ำพริก 

-ผลสุก สามารถนำมารับประทานได้ ให้มีรสชาติหวาน

-ใบ ใช้มุงหลังคาได้ ส่วนเส้นใบจากกาบใบใช้ทำเป็นเชือกสำหรับผูกของต่าง ๆ หรือนำไปทำเป็นเครื่องจักสานเพื่อเป็นสินค้าส่งเสริมรายได้ของชาวบ้าน

-ลำต้น ใช้ทำไม้ปลายแหลมสำหรับเจาะหลุมปลูกข้าวไร่ เพราะมีความทนทาน สามารถใช้ได้นานปี

-นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป เช่น ปลูกประดับในอาคาร ปลูกกลางแจ้งในสวนสาธารณะ ริมสระว่ายน้ำ หรือริมทะเล เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม แต่ไม่ควรนำไปปลูกใกล้ทางเดิน บริเวณที่พักผ่อน หรือสนามเด็กเล่น เพราะผลมีพิษ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง