Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มหากาฬ (ว่านมหากาฬ)

ชื่อท้องถิ่น: คำโคก (ขอนแก่น, เลย)/ หนาดแห้ง (นครราชสีมา)/ ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์)/ ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ)/ ผักกาดกบ (เพชรบุรี)/ ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี)/ ดาวเรือง (ภาคกลาง)/ แจะออเมีย (เมี่ยน)/ ชั่วจ่อ (ม้ง)/ เครือผักปั๋ง (ลั้วะ)/ หนิวเสอซันฉิ (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynura pseudochina (L.) DC.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE                                

สกุล: Gynura 

สปีชีส์: pseudochina

ชื่อพ้อง: 

-Cacalia bulbosa Lour.

-Cacalia maculata Buch.-Ham. ex Steud.

-Cacalia sagittaria B.Heyne

-Crassocephalum miniatum Hiern

-Crassocephalum pseudochina Kuntze

-Gynura bodinieri H.Lév.

-Gynura bulbosa Hook. & Arn.

-Gynura eximia S.Moore

-Gynura miniata Welw.

-Gynura nudicaulis Arn.

-Gynura rusisiensis R.E.Fr.

-Gynura sagittaria DC.

-Gynura sinuata DC.

-Gynura somalensis (Chiov.) Cufod.

-Gynura variifolia De Wild.

-Senecio bulbosus Sch.Bip.

-Senecio crassipes H.Lév. & Vaniot

-Senecio hamiltonianus Sch.Bip.

-Senecio miniatus (Welw.) Staner

-Senecio nudicaulis Sch.Bip.

-Senecio pseudochina L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มหากาฬ thai-herbs.thdata.co | มหากาฬ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมหากาฬ เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว


มหากาฬ thai-herbs.thdata.co | มหากาฬ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว


มหากาฬ thai-herbs.thdata.co | มหากาฬ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก

ผล ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป 

ถิ่นกำเนิด: จีนตอนใต้ไปจนถึงอินโดจีนและจาวา

การกระจายพันธุ์: แองโกลา, อัสสัม, บุรุนดี, แคเมอรูน, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, เอธิโอเปีย, กาบอง, กานา, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, มาลาวี, เมียนมาร์, เนปาล, ไนจีเรีย, รวันดา, เซียร์ราลีโอน ,โซมาเลีย, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม, แซมเบีย, ซาอีร์


มหากาฬ thai-herbs.thdata.co | มหากาฬ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษกาฬ ดับพิษร้อน แก้พิษไข้เซื่องซึม แก้กระสับกะส่าย แก้พิษอักเสบ

*ใบ รสเย็น สรรพคุณ ตำพอกถอนพิษฝี แก้อักเสบ ปวดแสบปวดร้อน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสาร Flavonoid , Quercetin , Quinic acid นอกจากนี้ยังพบสารประกอบต่างๆอีก เช่น Quercetin-rutinoside, 3,5-dicaffeoyl quinic acid (Isochlorogenic acid A) , 4,5-dicaffeoyl quinic acid (Isochlorogenic acid C) , 3-dicaffeoyl quinic acid, 5- dicaffeoyl quinic acid และสารกลุ่ม Alcaioid เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ  สาร quercetin-rutinoside, 3,5-dicaffeoyl quinic acid, 4,5 dicaffeoyl quinic acid และ 3-, หรือ 5- caffeoyl quinic acid ที่สกัดได้จากส่วนใบว่านมหากาฬมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทำการทดสอบในหลอดทดลอง (in vitro) คือมีผลยับยั้ง nuclear factor kappa B (NF-kB) โดยมีค่าปริมาณของสารที่มีผลยับยั้งการทำงานของโปรตีนลงครึ่งหนึ่ง (IC50)เท่ากับ 25-83 มคก./มล.

-การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากใบว่านมหากาฬในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดเอทานอลใบว่านมหากาฬขนาด 0.16-20 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง interleukin-1-β (IL-1β) ในเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์ (human blood cells) ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) 

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่มเรื่อย ๆ ต่างน้ำชา ช่วยบรรเทาอาการไข้

-โรคงูสวัด เริม ใช้ใบสดประมาณ 5-6 ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะที่สะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย หรือใช้ใบโขลกผสมกับเหล้า ใช้น้ำทาหรือพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการเจ็บคอ ใช้ใบนำมาคั้นเอาน้ำกินแก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ

-อาการเลือดกำเดา ใช้ยาแห้งจากทั้งต้น รากบัวหลวง และหญ้าคา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรวมกันรับประทาน

-อาการแผลพุงพอง ฝี ใช้หัวตำพอกหรือฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาแผลพุพองและฝี โดยให้ทาวันละ 3-4 ครั้ง หรือใบสดนำมาโขลกผสมกับเหล้าใช้เป็นยาพอกฝี 

-อาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสด มีฤทธิ์ทำให้เย็น ตำพอกเป็นยาถอนพิษ และแก้อาการปวดแสบปวดร้อน จากสัตว์ที่มีพิษกัด เช่น ตะขาบ แมงป่อง ตัวต่อ ผึ้ง เป็นต้น

-อาการปวดแสบร้อน ใช้รากและใบสดตำพอกบริเวณที่มีอาการ ช่วยบรรเทาอาการปวดบวม ช่วยถอนพิษปวดแสบปวดร้อน 

-อาการฟกช้ำ ให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการเคล็ดขัดยอก ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ

-ช่วยขับระดู ขับน้ำคาวปลา ใช้ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผงชงกับชาให้สตรีหลังคลอดดื่ม จะช่วยขับประจำเดือนได้ด้วย ช่วยขับระดูของสตรี 

-ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มใส่ไก่ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต

-ชาวลั้วะจะใช้ใบเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ต้มใส่หมูหรือไก่ ส่วนชาวเมี่ยนจะใช้ใบสดนำมารับประทานร่วมกับลาบ

-ปลูกลงแปลงประดับในสวน เพราะใบมีลวดลายสวยงาม หรือปลูกคลุมดิน ปลูกริมน้ำตก หรือริมลำธาร

-ในด้านความเป็นมงคล มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจ หากนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายทั้งได้ และยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั่วไป



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง