Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เขยตาย

ชื่อท้องถิ่น: ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา (สุโขทัย/ ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ)/ กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี)/ มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์)/ เขนทะ ส้มชื่น (ภาคเหนือ)/ ส้มชื่น (ภาคอีสาน)/ กระโรกน้ำข้าว เขยตายแม่ยายชักลาก ลูกเขยตาย น้ำข้าว (ภาคกลาง)/ เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ต้มชมชื่น น้ำข้าว โรคน้ำเข้า หญ้ายาง (ภาคใต้)/ ชมชื่น เขยตายแม่ยายปรก ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ตาระเป (บางภาคเรียก)/ ต้นเขยตาย (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: 

ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.-

ชื่อวงศ์: RUTACEAE

สกุล: Glycosmis

สปีชีส์: pentaphylla

ชื่อพ้อง: 

-Bursera nitida Fern.-Vill.

-Chionotria monogyna Walp.

-Chionotria rigida Jack

-Glycosmis arborea (Roxb.) DC.

-Glycosmis arborea var. linearifoliolata V.Naray.

-Glycosmis chylocarpa Wight & Arn.

-Glycosmis madagascariensis Corrêa ex Risso

-Glycosmis pentaphylla var. linearifoliolis Tanaka

-Glycosmis quinquefolia Griff.

-Glycosmis retzii M.Roem.

-Glycosmis rigida (Jack) Merr.

-Limonia angustifolia Wall.

-Limonia arborea Roxb.

-Limonia pentaphylla Retz.

-Marignia nitida Turcz.

-Murraya cerasiformis Blanco

-Myxospermum chylocarpum (Wight & Arn.) M. Roem.

-Sclerostylis macrophylla Blume

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นเขยตาย เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว  


เขยตาย thai-herbs.thdata.co | เขยตาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบน ๆ จะมีสีแดงที่ฐาน

ดอก ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร เรียงซ้อนกันเป็นวง ผิวมีต่อมจุด รูปไข่กลับ ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนจะมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็ก ๆ หลายอัน มีต่อมซึ่งเป็นร่อง ส่วนก้านชูดอกสั้นมาก เกสรเพศเมียออกเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรเพศผู้เป็นแท่ง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร


เขยตาย thai-herbs.thdata.co | เขยตาย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.18 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด

เมล็ด มีลักษณะกลม เป็นลาย

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์: อินเดีย พม่า ไทย จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม ฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด

*เปลือกต้น รสเมาร้อน แก้ฝีภายนอกและภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่างๆ แก้พิษไข้ 

*เนื้อไม้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม

*ดอกและผล รสเมาร้อน ทารักษาหิด 

*ไม่ระบุส่วนที่ใช้ กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม

-ประเทศบังคลาเทศใช้ น้ำคั้นจากใบผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบ ราก ใช้ลดไข้

องค์ประกอบทางเคมี:

ใบ พบสารอัลคาลอยด์ glycosine, arborine, glycosminine, arborinine, glycosamine, glycorine, glycosmicine , gamma-fagarine  สารกลุ่มไตรเทอร์ปีน เช่น arbinol, isoarbinol, arborinone สารสเตียรอยด์ stigmasterol, β-sitosterol  

ราก พบสารอัลคาลอย์ carbazole alkaloids ได้แก่ glycozolicine, 3-formylcarbazole, glycosinine, glycozoline, glycozolidine, skimmianine, gamma-fagarine,  dictamine 

ลำต้น พบสารอัลคาลอยด์  arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ดอก พบสารอัลคาลอยด์ arborine, arbornine, skimmianine, glycorine, glycophymine, glycophymoline, glycosmicine, glycomide

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ราก และใบต้มน้ำดื่มแก้ไอ แก้ไข้โรคบิดท้องเดิน 

-ผลสุก มีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน

-ใบ ใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ

-เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง