Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ชะมดต้น (ฝ้ายผี)

ชื่อท้องถิ่น: ชะมัดต้น ฝ้ายผี (ภาคกลาง)/ เทียนชะมด (ทั่วไป)/ จั๊บเจี๊ยว (ไทยบางแห่ง)/ หวงขุย (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Abelmosk, Ambrette seeds, Annual hibiscus, Bamia moschata, Galu gasturi, Muskdana, Musk mallow, Musk okra, Musk seeds, Ornamental okra, Rose mallow seeds, Tropical jewel hibiscus, Yorka okra

ชื่อวิทยาศาสตร์: Abelmoschus moschatus Medik.

ชื่อวงศ์:  MALVACEAE

สกุล: Abelmoschus

สปีชีส์:  moschatus

ชื่อพ้อง: 

-Abelmoschus moschatus var. betulifolius (Mast.) Hochr.

-Hibiscus abelmoschus L.

-Hibiscus abelmoschus var. betulifolius Mast.

-Hibiscus chinensis Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ชะมดต้น thai-herbs.thdata.co | ชะมดต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นชะมดต้น เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อนขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม มีอายุได้ประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม 


ชะมดต้น thai-herbs.thdata.co | ชะมดต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะเป็นหยักหรือเป็นแฉกประมาณ 3-5 แฉก ใบบริเวณยอดต้นมีแฉกเล็กและเรียวกว่าใบที่อยู่บริเวณโคนต้นและกลางต้น ลักษณะของใบเป็นรูปดาวหรือรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-15 เซนติเมตร ผิวใบสากและมีขนกระจายทั้งสองด้าน หูใบเป็นเส้นด้าย ยาวประมาณ 7-15 มิลลิเมตร


ชะมดต้น thai-herbs.thdata.co | ชะมดต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามบริเวณซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ริ้วประดับมี 6-12 อัน ลักษณะเป็นรูปเส้นด้ายหรือรูปใบหอก ยาวประมาณ 8-13 มิลลิเมตร โค้งเข้า ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปใบหงาย ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แยกจรดโคนด้านเดียว ปลายกลีบมี 5 แฉกตื้น ๆ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ส่วนกลีบดอกมี 5 5 กลีบ เป็นสีเหลืองนวลและมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงแดงตรงกลางทั้งด้านในและด้านนอก กลีบเป็นรูปไข่กลีบ ดอกเมื่อบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-12 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เกลี้ยง เกสรเพศเมียอยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้  เส้าเกสรเกลี้ยงยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร รังไข่มีขนขึ้นหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียแยกออกเป็น 5 แฉก มีขนขึ้นหนาแน่น ยอดเกสรเป็นรูปจาน แคปซูลรูปไข่แกมขอบขนาน ยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลม มีขนหยาบขึ้นหนาแน่น


ชะมดต้น thai-herbs.thdata.co | ชะมดต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ชะมดต้น thai-herbs.thdata.co | ชะมดต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเป็นรูปกลมยาวเป็นเฟือง 5 เฟือง คล้ายผลมะเฟือง และมีขนแข็งคมคายสีเหลืองขึ้นปกคลุมทั้งฝัก ผลเป็นแบบผลแห้งแตก รูปรีปลายผลแหลม เปลือกผลบาง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ขนาดยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวแก่ เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ 

เมล็ด มีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต มีปุ่มเล็ก ๆ เป็นร่างแหกระจาย มีกลิ่นหอมแรงเหมือนชะมดเชียง ทางแพทย์แผนไทยจะเรียกว่า “เทียนชะมด”

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่โล่งหรือริมลำธาร ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และชายป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: แถบเอเชีย

การกระจายพันธุ์: จีน อินเดีย พม่า หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิผิวหนัง กลาก เกลื้อน 

*ดอก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พยาธิไส้เดือน

*ต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ เกลื้อนช้าง เกลื้อนใหญ่ เรื้อนกวาง เรื้อนน้ำเต้า

*ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิตามชุมชนและรากผม รังแค

*ลูกและใบ ตำพอกฝี เร่งหนองให้แตกเร็ว

*เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมงเข้าหู

*ใช้ทั้ง 5 รสเมาเบื่อ สรรพคุณ รักษาฝีภายใน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบสารน้ำมันและน้ำมันระเหย เช่น Linoleic acid และยังพบสาร Myricetin, Methionine sulfoxide, a-Cephalin 

-เมล็ดและต้น พบสาร Phosphatidylserine, Plasmalogen 

-ดอกและเมล็ด พบสารกลิ่นหอม Ambrettolid 

-น้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ambrettolide, ambrdttolic acid, decyl acetate, dodecyl acetate, alpha-macrocyclic lactone, farnesol, 5-dodecnyl acetate, 5-tetradecenyl acetate

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อให้สาร myricetin จากส่วนที่อยู่เหนือดินของชะมดต้น ในขนาด 0.3, 0.5 และ 1 มก./กก. กับหนูอ้วนที่มีภาวะไขมัน ระดับน้ำตาล และอินซูลินในเลือดสูง โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ พบว่า myricetin ขนาด 1 มก./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลและเพิ่มอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อฉีดวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ (ขนาด 1 มก./กก.) เปรียบเทียบกับการป้อนยา metformin ซึ่งเป็น insulin sensitizer ในขนาด 320 มก./กก. วันละ 3 ครั้ง พบว่าสาร myricetin มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับยา metformin นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ค่า glucose-insulin index ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง กระตุ้นการทำงานของ Akt (serine/threonine kinase protein B) เพิ่มการแสดงออกของ glucose transporter subtype 4 เพิ่มโปรตีนและขบวนการ phosphorelation ของ insulin receptor substrate-1 ในเซลล์กล้ามเนื้อหนู และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ phosphatidylinositol 3-kinase ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความไวต่ออินซูอิน ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น ดังนั้นสาร myricetin จึงมีประโยชน์ที่จะนำมาใช้พัฒนาเป็นยาต้านเบาหวานได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบ ใช้รับประทานเป็นผักกินกับน้ำพริก

-ใยของเปลือกต้นมาใช้ทำเชือกและกระสอบ

-เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงใช้โรยตู้เสื้อผ้าเพื่อป้องกันแมลง

-ราก มีสารเหนียวใช้เป็นกาวในการทำกระดาษ

-เมล็ด เมื่อนำมาเคี้ยวจะได้กลิ่นเหมือนชะมดเช็ด สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นกาแฟได้

-เมล็ด ให้น้ำมันที่ทำให้มีกลิ่นหอม จึงนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอม ใช้ทำน้ำหอม และใช้แต่งกลิ่นอาหารได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง