Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระถินเทศ

กระถินเทศ thai-herbs.thdata.co | กระถินเทศ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กากรึนอง (กาญจนบุรี)/ บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ)/ บุหงาละสะมะนา บุหงาละสมนา (ปัตตานี)/ กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ)/ กระถิน (ภาคกลาง)/ ถิน (ภาคใต้), กะถิ่นเทศ กะถิ่นหอม (ไทย)/ มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)/ บุหงาเซียม (มลายู-ภาคใต้)/ อะเจ๋าฉิ่ว (จีน-แต้จิ๋ว)/ ยาจ้าวซู่ จินเหอฮวน (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Cassie, Cassie Flower, Huisache, Needle Bush, Sponge Tree, Sweet Acacia, Thorny Acacia

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia farnesiana (L.) Willd.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MIMOSOIDEAE-MIMOSACEAE

สกุล: Vachellia

สปีชีส์: farnesiana

ชื่อพ้อง:

-Acacia farnesiana var. farnesiana (L.) Wight et Arn.

-Acacia acicularis Humb. & Bonpl. ex. Willd.

-Acacia densiflora (Small) Cory

-Acacia farnesiana (L.) Willd.

-Acacia farnesiana var. lenticellata (F.Muell.) Bailey

-Acacia farnesiana subsp. pinetorum (F.J.Herm.) Ebinger, Seigler & H.D.Clarke

-Acacia ferox M.Martens & Galeotti

-Acacia indica (Poir.) Desv.

-Acacia lenticellata F. Muell.

-Acacia minuta (M.E. Jones) R.M. Beauch.

-Acacia minuta subsp. minuta (M.E.Jones) R.M. Beauch.

-Acacia minuta subsp. densiflora (Alexander ex Small) R.M.Beauch.

-Acacia pedunculata Willd.

-Acacia pinetorum F.J.Herm.

-Acacia smallii Isely

-Farnesia odora Gasp.

-Farnesiana odora Gasp.

-Mimosa acicularis Poir.

-Mimosa farnesiana L.

-Mimosa indica Poir.

-Mimosa suaveolens Salisb.

-Pithecellobium acuminatum M.E. Jones

-Pithecellobium minutum M.E. Jones

-Popanax farnesiana (L.) Raf.

-Poponax farnesiana (L.) Raf.

-Vachellia densiflora Small

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกระถินเทศ เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดย่อม กิ่งมักคดไปมาแต่จะยืดจนเกือบตรงเมื่อต้นเจริญเติบโตขึ้น ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก เปลือกต้นเป็นสีคล้ำน้ำตาล  

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-1.3 เซนติเมตร มีต่อมบนก้านใบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2-0.4 มิลลิเมตร ไม่มีต่อมบนแกนกลางใบ ช่อใบย่อยมี 4-7 คู่ ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ก้านใบประกอบย่อยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน มีประมาณ 10-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปดาบ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม เบี้ยว ปลายเป็นติ่ง โคนใบตัด ไร้ก้าน ใบย่อยเป็นสีเขียวแก่มีขนาดยาวประมาณ 2-7 มิลลิเมตร โคนก้านใบมีหูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมตรงและแข็ง 1 คู่ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร   

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น มีลักษณะเป็นพุ่มกลม มีหลายช่อออกเป็นกระจุก ก้านช่อยาวประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตร ช่อดอกทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ที่โคนช่อมีวงใบประดับขนาดเล็ก 4-5 ใบ ดอกย่อยไร้ก้าน ใบประดับ 1 ใบ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.3-1.5 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.2 มิลลิเมตร เกลี้ยง ส่วนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด และมีกลิ่นหอมมาก ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก แยกจรดโคน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3.5-5.5 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่ยาวได้ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร เกือบไร้ก้าน เกลี้ยง และมีขนละเอียด ก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะเรียวยาว ขนาดยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ยอดเกสรมีขนาดเล็ก จะให้ดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี

ผล ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะกลมเป็นรูปทรงกระบอก ยาวได้ประมาณ 2-9 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ฝักจะตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ผิวฝักหนาเกลี้ยง เมื่อฝักแก่จะไม่แตก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 15 เมล็ด เรียงเป็น 2 แถว

เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปรี แบนเล็กน้อย ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร มีรอย (pleurogram) รูปรี ยาว 6-7 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน

ถิ่นกำเนิด: อเมริกากลางและอเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์: เขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง และ การตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *ราก รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย เป็นยาอายุวัฒนะ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-มีบ้างที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

-รากใช้ตำแล้วนำมาพอกที่กีบเท้าวัว ควาย จะสามารถฆ่าหรือป้องกันพยาธิได้

-ฝักประกอบไปด้วยของฝาด (tannin) ประมาณ 23% สามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึก มักใช้ผสมในน้ำต้มย้อมผ้า จะได้เป็นสีธรรมชาติมากขึ้นส่วนเปลือกนำมาใช้ฟอกหนัง

-ดอกสามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้

-ในฝรั่งเศสจะปลูกต้นกระถินเทศไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อนำดอกของมันมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำน้ำหอม โดยนำมาสกัดเอากลิ่นหอมของดอกและกลั่นมาเป็นน้ำหอม

-น้ำมันจากดอกกระถินเทศ (Cassie oil) สามารถนำมาผสมในเครื่องหอมต่าง ๆ ได้ เช่น น้ำมันใส่ผม อบผ้าเช็ดหน้า ฯลฯและยังสามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน และลูกกวาดได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณต่ำ

-ยางที่ได้จากลำต้นเป็นยางที่มีคุณภาพดี (ลำต้นเมื่อมีบาดแผลจะให้ยางไม้สีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม) เรียกว่า "กัมอะคาเซีย" (Gum acacia) สามารถนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย ใช้ทำกาว พัฒนาเป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด ใช้เป็นยาหล่อลื่น ใช้ทำขนมหวานประเภทลูกอม ลูกกวาด เบียร์ น้ำผลไม้ เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์สารให้กลิ่น ฯลฯ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง