Select your language TH EN
ศาสตร์การเผ้าจื้อ ผลของการเผ้าจื้อต่อประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ผลของการเผ้าจื้อต่อประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญต่อศาสนาองค์รวมและทฤษฎีการรักษาเชิงสัมพันธ์ โดยเฉพาะความเป็นเอกภาพของร่างกายมนุษย์กับธรรมชาติ กล่าวคือ เงื่อนไขของฤดูกาล เวลา สถานที่เปลี่ยนแปลง ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายในลักษณะที่แตกต่างกันไปทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้น เมื่อร่างกายเกิดการเจ็บป่วย การรักษาโรคของแพทย์จีนต้องนำวิทยาศาสตร์สังคมและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน การใช้ยาสมุนไพรจีนรักษาโรคนั้นต้องคำนึงถึงสมุนไพรแต่ละชนิดว่ามีคุณลักษณะเฉพาะตัวและมีสรรพคุณหลายอย่าง ถ้าว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยอาจใช้สรรพคุณเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของสมุนไพรนั้นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเผ้าจื้อสมุนไพรก่อนใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนสรรพคุณหรือคุณลักษณะของตัวยาให้ออกฤทธิ์ตามต้องการ สมุนไพรที่เผ้าจื้อแล้วสามารถปรับเปลี่ยนทิศการออกฤทธิ์ได้ เช่น ตัวยาออกฤทธิ์ลอยขึ้นข้างบนหรือจมลงล่าง เพิ่มฤทธิ์ ลดพิษ หรือขจัดพิษ หรือลดผลข้างเคียงของตัวยา เมื่อใช้ตัวยานั้นรักษาอาการเจ็บป่วยจึงเหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการรักษาทางคลินิก เช่น โส่วอู หากใช้ดิบจะมีสรรพคุณระบายท้อง หากใช้ศุกร์จะมีสรรพคุณบำรุงจิงและเลือด หลักการใช้ยาต้องคำนึงถึงหน้าที่การทำงานของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดโรคขึ้นและการดำเนินของโรค การใช้ยาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนจำเป็นต้องเข้าใจทฤษฎีอวัยวะภายใน ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะภายในทั้ง 5 ( หัวใจ ปอด ม้าม ตับ และไต) และอวัยวะกลวงทั้ง 6 ( กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ และซานเจียว) ตัวอย่างเช่น

ม้าม เป็นส่วนสำคัญของพลังหยางในร่างกาย มีคุณสมบัติชอบแห้ง ไม่ชอบชื้น เมื่อน้ำถูกความเย็นรบกวน การใช้ยาต้องคำนึงถึงการบำรุงเพื่อป้องกันพลังหยางม้าม เช่น ตำรับยาไป๋หู่ทัง และตำรับยาเถียวเว่ย์ชี่ทัง ของแพทย์จีนจางจ้าจิ่ง มีฤทธิ์เป็นยาระบายความร้อน ตำรับยาดังกล่าวใช้ชะเอมเทศผัดน้ำผึ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร เสริมพลังหยาง และไม่ให้ถูกความเย็นของตัวยาอื่นในตำรับมารบกวน

ม้ามเป็นอวัยวะที่ชอบแห้งแต่กระเพาะอาหารชอบชื้น เมื่อป่วยด้วยอาการม้ามพร่องมักมีความชื้นเกิดขึ้น จึงต้องใช้ตัวยาที่มีคุณสมบัติอุ่นและแห้งเพื่อกำจัดความชื้นเมื่อเกิดความชื้นเกิดขึ้นต้องใช้เวลาในการรักษานาน โกฐเขมาเป็นตัวยาที่เหมาะสมในการรักษาแต่มีคุณสมบัติค่อนข้างแห้งและร้อน หากรับประทานนานเกินไปจะส่งผลต่ออิน ของกระเพาะอาหาร จึงต้องเผ้าจื้อตัวยาก่อนใช้เพื่อให้ฤทธิ์ของตัวยาลดลงและสามารถใช้ได้นานขึ้น

อิทธิพลของฤดูกาลต่อการใช้ยา เมื่อเจ็บป่วยในฤดูหนาวควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวยาที่มีคุณสมบัติเย็นและในฤดูร้อนควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวยาที่มีคุณสมบัติร้อน

อิทธิพลของสภาพภูมิประเทศต่อการใช้ยา ภาคเหนือของประเทศจีนมีสภาพอากาศแห้งและเย็น ไม่ควรใช้ตัวยาที่มีคุณสมบัติแห้งเกินไปควรใช้ตัวยาที่เสริมความชุ่มชื้น ส่วนภาคใต้ของประเทศจีนมีสภาพอากาศร้อนชื้น ไม่ควรใช้ตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นมากเกินไป

สภาพร่างกายของคน คนที่มีร่างกายค่อนข้างสูงใหญ่ควรใช้ปริมาณยามากกว่าคนที่มีรูปร่างเล็กกว่าจึงจะรักษาได้ผล ส่วนคนรูปร่างเล็กหากใช้ปริมาณยาเท่ากับคนรูปร่างสูงใหญ่ร่างกายจะรับไม่ไหวเพราะปริมาณยามากเกินไป

ด้วยเหตุผลดังกล่าวการเผ้าจื้อยาจึงมีความสำคัญต่อการรักษาทางคลินิก แผนจีนต้องพลิกแพลงปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามผลการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย

1. ผลของการเผ้าจื้อตัวยาต่อประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องพบว่า มีตำราทางการแพทย์แผนจีนจำนวนหลายเล่มที่บันทึกวิธีการเผ้าจื้อและอธิบายเหตุผลของการเผ้าจื้อว่าทำให้ตัวยามีสรรพคุณเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น ในสมัยราชวงค์หมิง ตำราอรเสวียรู่เมิน กล่าวถึงการใช้ลูกพุด ว่าเนื้อในลูกพุดดิบมีฤทธิ์ระบายความร้อนจากหัวใจซึ่งทำให้หงุดหงิดและกระวนกระวาย แต่เปลือกผลดิบมีฤทธิ์ระบายความร้อนทางผิวกาย ในสมัยราชวงศ์ชิง ตำราเปิ๋นเฉ่าเปี้ยนคู๋ กล่าวว่าลูกพุดผัดและลูกพูดผัดเกรียม มีฤทธิ์ระบายความร้อนในระดับเลือด ตำราเปิ่นจิงเฟิ๋งเหวียน กล่าวว่าวิธีการเผ้าจื้อแห้วหมู มีความสัมพันธ์กับสรรพคุณ เช่น แห้วหมูแช่น้ำเกลือผัดมีฤทธิ์ปรับชี่ให้สมดุล แห้วหมูผัดเหล้ามีฤทธิ์ช่วยให้ระบบเส้นลมปราณไหลเวียนดี แห้วหมูผัดน้ำส้มมีฤทธิ์ย่อยอาหารและบรรเทาอาการท้องอืด เป็นต้น

การเผ้าจื้อ ยาสมุนไพรจีนเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์การรักษาของแพทย์แผนจีนมาเป็นเวลายาวนาน การเลือกวิธีการเผ้าจื้อจะต้องทำตามความต้องการของการรักษาทางคลินิก นอกจากนี้เทคนิคและวิธีการเผ้าจื้อจะต้องเหมาะสม เพราะมีผลโดยตรงต่อผลการรักษาทางคลินิก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเผ้าจื้อมีดังนี้

1.1 ความสะอาดของตัวยา

วัตถุดิบสมุนไพรมักมีสิ่งอื่นๆปนปลอม หรืออาจมีส่วนของพืชที่ไม่ต้องการใช้ปะปนมาด้วย หรือส่วนที่ใช้ทำยาสมุนไพรแตกต่างกันจะมีสรรพคุณไม่เหมือนกัน ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันแพทย์และเภสัชกรจีนให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดและส่วนที่ใช้ของสมุนไพรเป็นอย่างมาก เช่น ไม่สมัยราชวงศ์ฮั่น ตำราคุ่ยยวี่หันจิง กล่าวถึงตัวยาบางชนิดใช้เฉพาะเนื้อไม้ไม่ใช้เปลือกต้น บางชนิดใช้เฉพาะเปลือกต้นไม่ใช้เนื้อไม้ บางชนิดใช้เฉพาะรากไม่ใช้ลำต้น บางชนิดใช้เฉพาะดอกไม่ใช้ผล เป็นต้น ต้องคัดเลือกส่วนที่ใช้ทํายาตามความต้องการ และทำความสะอาดตัวยาให้สะอาดที่สุด

ปัจจุบันเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน จงหัวเหรินเหมินก้งเหอกั๋วเหย้าเตี่ยน หรือเรียกสั้นๆว่า จงกั๋วเหย้าเตี่ยน ได้กำหนดให้การทำความสะอาดตัวยาเป็นหนึ่งใน 3 หัวข้อของหลักการทั่วไปของการเผ้าจื้อ ตัวอย่างเช่น ตัวยาหมาหวง ลำต้นมีฤทธิ์ขับเหงื่อ แต่รากมีฤทธิ์ยับยั้งเหงื่อ ตัวยาปาจี๋เทียน ใช้ส่วนรากที่เอาแกนกลางออกแล้วทำยา ซึ่งแกนกลางของรากเป็นส่วนที่มีปริมาณมาก หากไม่เอาออกจะทำให้น้ำหนักที่แท้จริงของตัวอย่างน้อยกว่าที่ต้องการ ทำให้ประสิทธิผลการรักษาลดลง

1.2 การหั่นตัวยา

  การหันตัวอย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสกัดตัวยา หรือเพื่อสะดวกต่อการเผ้าจื้อ หรือการเข้าตำรับยา โดยทั่วไปก่อนหั่นตัวยาต้องนำตัวยาไปแช่น้ำสักครู่ในภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อให้ตัวอย่างอ่อนนุ่มและทำให้หั่นง่าย แต่ปริมาณน้ำและระยะเวลาในการแช่มีความสำคัญมาก เพราะหากใช้ปริมาณน้ำมากหรือแช่นานเกินไปจะสูญเสียตัวยา ทำให้ประสิทธิผลการรักษาลดลง มีผลต่อคุณภาพของอิ่นเพี่ยน หากอิ่นเพี่ยนมีความหนาแตกต่างกันมากเกินไปจะทำให้มีปัญหาในการต้มยา ตัวยาอาจละลายออกมาได้ง่ายหรือละลายได้ยาก หรือละลายออกมาก่อนหรือละลายออกมาทีหลัง น้ำยาที่ต้มได้อาจสูญเสียกลิ่นหรือรสยาที่ต้องการ ทำให้การรักษาไม่ได้ผล เช่น ตำรับยากุ้ยจือทัง ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ กิ่งอบเชย มีกลิ่นฉุน และไป๋เสา มีรสขมเปรี้ยวอมหวาน หากคันขนาดหนาเกินไปและใช้เวลาในการต้มยาน้อยนำยาที่ได้จะได้กลิ่นของกลิ่นอบเชยจีนแต่จะสูญเสียรสชาติของไป๋เสา หากใช้เวลาในการต้มยานาน นำยาที่ได้จะได้รสชาติของไป๋เสาแต่จะสูญเสียกลิ่นของกิ่งอบเชย ดังนั้นจึงควรหั่นกิ่งอบเชยแลไป๋เสาเป็นชิ้นบางๆ และใช้เวลาต้มที่เหมาะสมจะทำให้ได้ทั้งกลิ่นและรสของตัวยาตามต้องการ

นอกจากนี้การทำให้อิ่นเพี่ยนแห้งมีความสำคัญมากเช่นกัน หลังจากหั่นตัวยาให้ได้ขนาดที่เหมาะสมตามต้องการ ตัวยาที่ได้จากมีปริมาณน้ำสูง หากไม่ทำให้แห้งทันทีจะเกิดเชื้อราได้ง่าย วิธีและอุณหภูมิที่ใช้ในการทำให้แห้งหากไม่เหมาะสม จะทำให้สูญเสียสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ โดยเฉพาะตัวยาที่มีน้ำมันหอมระเหยหรือสารที่ระเหยได้ไม่ควรทำให้แห้งโดยวิธีตากแดดหรือใช้อุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้ประสิทธิผลการรักษาลดลงอย่างชัดเจน

  1.3 การใช้ไฟในการเผ้าจื้อตัวยา 

การใช้ไฟในการเผ้าจื้อเป็นวิธีที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะผัดหรือสะตุเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก การผัดเป็นวิธีง่ายๆที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลการรักษาและลดอาการข้างเคียงของตัวยาได้ การเลือกใช้วิธีผัดสามารถปรับทิศทางการออกฤทธิ์ของตัวยาเพื่อให้มีสรรพคุณตามต้องการ มีตัวยาหลายชนิดเมื่อผ่านการผัดแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมหรือความเกรียมของตัวยาในระดับแตกต่างกัน จะเพิ่มฤทธิ์ช่วยให้การทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารดีขึ้น เช่น ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น ไป๋จู๋ หากใช้ดิบมีฤทธิ์เสริมชี่ บำรุงม้าม แต่ฤทธิ์ค่อนข้างแรง เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ท้องอืด จึงต้องนำมาผัดให้เกรียมก่อนใช้ นอกจากจะช่วยเสริมชี่บำรุงม้ามแล้วยังไม่ทำให้เกิดอาการท้องอืด ตัวยาวประเภทเม็ดหรือผลเล็กๆต้องนำมาผัดก่อนใช้เพื่อให้มีกลิ่นหอมและเมื่อนำไปต้มจะทำให้สารสำคัญละลายน้ำออกมาง่าย ตัวยาที่มีคุณสมบัติเย็นเมื่อนำมาผัดจะทำให้ฤทธิ์ของยาไม่แรงเกินไป เช่น ลูกพุด ตัวยามีคุณสมบัติแห้งและอุ่นเมื่อนำมาผัดจะทำให้ฤทธิ์ของยาสุขุมขึ้น เช่น โกฐเขมาผัดรำข้าวสาลี จื่อสือผัดรำข้าวสาลี เป็นต้น ตัวยาที่มีกลิ่นและรสชาติแปลกเมื่อนำมาผัดจะทำให้กลิ่นและรสดีขึ้น ทำให้สะดวกในการใช้ เช่น ตัวดักแด้ที่แข็ง จิงเจี้ย หากใช้ดิบจะมีฤทธิ์ขับเหงื่อระบายความร้อน เมื่อนำไปผัดโดยใช้ไฟแรงจนกระทั่งเป็นถ่านจะมีฤทธิ์ห้ามเลือด ขิงแห้งและขิงปิ้งแม้ว่าจะมีฤทธิ์เสริมความอบอุ่นและขับความเย็นเหมือนกันแต่ขิงแห้งมีคุณสมบัติแห้ง มีฤทธิ์ค่อนข้างแรงและออกฤทธิ์เร็ว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ภาวะม้ามและกระเพาะอาหารมีความเย็นค่อนข้างสูง เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น  ส่วนขิงปิ้งมีฤทธิ์ค่อนข้างสุขุมและออกฤทธิ์นาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ม้ามและกระเพาะอาหารมีความเย็นพร่อง เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น การเลือกวิธีผัดธรรมดาหรือวิธีผัดโดยใช้ฝู่เลี่ยวนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของยาแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการใช้ยาในการรักษาโรค

การสะตุมักใช้กับตัวยาประเภทแร่ธาตุ กระดูกและกระดองสัตว์ และหินที่เกิดจากซากสัตว์และซากต้นไม้ หรือตัวยาจากพืชวัตถุที่ต้องการเผาให้เป็นถ่าน การสะตุแร่ธาตุและกระดองสัตว์นอกจากจะทำให้ตัวยากรอบและเปราะแล้ว ยังช่วยให้บดตัวยาเป็นผงละเอียด สามารถต้องสกัดตัวยาออกมาง่าย และสรรพคุณของตัวยาอาจเปลี่ยนไปด้วย เช่น สารส้มสะตุมีคุณสมบัติแห้งและชื้น มีฤทธิ์ฝาดสมานแรงขึ้น จื้อหรันถงสะตุ เมื่อนำไปต้มจะทำให้ตัวยาสามารถสกัดออกมาง่าย เซวี่ยหวีโดยทั่วไปไม่นำมาเข้าตำรับ แต่หากนำไปสะดุดจนเป็นถ่านสามารถนำมาใช้เป็นยาห้ามเลือดได้ เป็นต้น 

นอกจากนี้โกฐขี้แมว เมื่อนำมานึ่งจะได้โกฐขี้แมวนึ่ง มีรสชาติคุณสมบัติและสรรพคุณเปลี่ยนไป โหราเดือยไก่เมื่อผ่านการต้มจะลดพิษได้อย่างชัดเจน ทำให้ปลอดภัยในการใช้ โกฐกระดูกที่ผ่านการหมกด้วยเถ้าไฟจะเพิ่มฤทธิ์แก้ท้องเสียให้แรงขึ้น

1.4 การใช้ฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ 

ตัวยาต่อประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก ตัวยาที่ผ่านการเผ้าจื้อด้วยฝู่เลี่ยว จะทำให้รสยา สรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา การออกฤทธิ์เฉพาะที่ ความเป็นพิษหรืออาการข้างเคียงของตัวยาเปลี่ยนแปลงไป การเลือกใช้ฝู่เลี่ยวที่ต่างกันในการเผ้าจื้อ โดยอาศัยสรรพคุณของฝู่เลี่ยวมาช่วยเสริมฤทธิ์ของตัวยานั้น ช่วยให้การรักษาเป็นไปตามความต้องการได้ดียิ่งขึ้น เช่น ตัวยาที่มีรสขมเย็น เมื่อใช้เหล้าเป็นฝู่เลี่ยว อาศัยคุณสมบัติร้อนแรงและรสหวานเผ็ดของเหล้าจะช่วยขับความเย็นสลายลม ลดทอนรสขมเย็นของตัวยา โดยไม่ทำลายม้ามและกระเพาะอาหาร ทำให้คุณสมบัติเย็นของตัวยาไม่ติดขัด ตัวยามีสรรพคุณระบายความร้อนดีขึ้น กลุ่มตัวยาที่มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเมื่อผ่านการเผ้าจื้อด้วยเหล้าจะทำให้ฤทธิ์ของตัวยาแรงขึ้นและออกฤทธิ์เร็วขึ้น จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเลือดคั่งและปวดบวมอย่างรุนแรง กลุ่มตัวยาที่มีน้ำมันมาก มีกลิ่นอ่อนๆและมีรสเข้มข้น มีผลต่อการลำเลียงน้ำและสารจำเป็นของม้ามและกระเพาะอาหาร เมื่อเผ้าจื้อด้วยเหล้าแล้วตัวยาจะออกฤทธิ์ดี ช่วยให้คุณสมบัติมันเลี่ยนลดลง ทำให้ตัวยามีความชุ่มชื้นแต่ไม่มัน ช่วยให้การออกฤทธิ์ของยาดีขึ้น การเผ้าจื้อด้วยน้ำขิงจะเพิ่มฤทธิ์ละลายเสมหะระงับอาเจียน เช่น ปั้นเซี่ยผัดน้ำขิง เป็นต้น การเผ้าจื้อด้วยน้ำผึ้งจะเพิ่มฤทธิ์ระงับไอหรือบำรุงชี่ เช่น จื่อหว่าน หากใช้ดิบแม้ว่าจะมีฤทธิ์ละลายเสมหะได้ดีแต่จะระบายชี่ของปอด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ชี่ของปลอดติดขัดไอมีเสมหะมาก หากใช้ในผู้ป่วยที่ชี่ของปอดพร่อง จะทำให้สูญเสียสมรรถนะในการควบคุมการขับปัสสาวะ โดยเฉพาะในเด็ก เมื่อนำมาเผ้าจื้อด้วยน้ำผึ้งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอด ระงับไอ

นอกจากนี้เมื่อเผ้าจื้อตัวยาด้วยน้ำกระสายยา น้ำกระสายยาจะเสริมฤทธิ์ของตัวยาหลัก เช่น หวูจูยวี รสเผ็ดร้อน หวงเลียน มีรสขมเย็น เมื่อเผ้าจื้อหวงเหลียนด้วยน้ำหวูจูยวี จะมีคุณสมบัติทั้งเย็นและร้อน อินหยางจะช่วยกันทำให้ฤทธิ์ไม่ค่อนไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งมีฤทธิ์ทางระบายความร้อนจากตับและบำรุงธาตุ กล่าวโดยสรุปยาสมุนไพรจีนเมื่อเลือกใช้วิธีเผ้าจื้อและฝู่เลี่ยวที่ต่างกัน มีแนวโน้มจะลดพิษและเพิ่มประสิทธิผลการรักษา

2. ความสัมพันธ์ของการเผ้าจื้อตัวยาในตำรับต่อประสิทธิผลของการรักษาทางคลินิก

การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับการรักษาโรคแบบองค์รวม ดังนั้นการใช้ยาของแพทย์แผนจีนจึงมักใช้ตำรับยาซึ่งประกอบด้วยตัวยาหลายชนิด ตัวยาส่วนประกอบในตำรับยาจะเผ้าจื้อด้วยวิธีใดมักขึ้นกับสรรพคุณของตำรับยาที่แพทย์แผนจีนต้องการ หากการเผ้าจื้อตัวอย่างไม่เหมาะสม ตำรับยานั้นย่อมให้ผลการรักษาได้ผลไม่เต็มที่ ในการเขียนใบสั่งยาแพทย์จีนมักเขียนวิธีการเผ้าจื้อตัวยากำกับไว้ข้างๆตัวยานั้นๆ ดั้งนั้นการเผ้าจื้อตัวยาในตำรับยาจึงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก ดังนี้

2.1 การเพิ่มประสิทธิผลการรักษาของตำรับยา

การเผ้าจื้อตัวยาด้วยวิธีที่เหมาะสม ช่วยให้ยาออกฤทธิ์เร็วหรือเก็บได้นาน เช่น ตำรับยาซานจื่อหย่างชิงทัง ประกอบด้วยเมล็ดงาขี้ม่อน ไป๋เจี๊ยจื่อ ไหลฝูจื่อ ตัวยาดังกล่าวต้องนำมาผัดหรือคั่วก่อนใช้ การแพทย์แผนจีนใช้ตำรับยานี้รักษาอาการหอบ มีเสมหะมากและเบื่ออาหาร เนื่องจากตำรับยานี้มีฤทธิ์ลดชี่ ระงับอาการหอบ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร โดยเมล็ดงาขี้ม้อนผัดมีรสเผ็ดร้อนลดลง แต่ฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่ปลอดและลดชี่แรงขึ้น ช่วยขับเสมหะและระงับอาการหอบได้ผลดี ไป๋เจี๊ยจื่อผัดมีรสเผ็ดและฤทธิ์กระจายชี่สุขุมขึ้น ช่วงให้ความอบอุ่นแก่ปอดและขับเสมหะ เมล็ดหัวผักกาดมีรสเผ็ดอมหวานและจะปรับทิศทางการออกฤทธิ์จากลอยขึ้นบนเป็นจมลงล่าง จึงมีฤทธิ์แก้ไอ ขับเสมหะช่วยลดอาการท้องอืดเนื่องจากอาหารไม่ย่อย ดังนั้นตำรับยานี้จึงเหมาะสำหรับการรักษาโรคหอบ ขับเสมหะและช่วยให้เจริญอาหาร

2.2 การปรับคุณสมบัติ การปรับคุณสมบัติของตัวยาเสริม การปรับคุณสมบัติของตัวยาเสริมเพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ของตัวยาหลักในตำรับยา

ตำรับยาบางตำรับประกอบด้วยตัวยาหลักซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่ในขณะเดียวกันอาจมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ตำรับยาเถียวเว่ย์เฉิงชี่ทัง มีสรรพคุณระบายความร้อนที่หยางหมิง ช่วยระบายท้องได้ ตำรับยาดังกล่าวมีรสขมเย็น ประกอบด้วย ดีเกลือ โกฐน้ำเต้าและชะเอมเทศผัดน้ำผึ้ง จื้อกัน ตัวยาดีเกลือและโกฐน้ำเต้ามีคุณสมบัติเย็นมาก อาจทำร้ายพลังหยางของม้าม และตัวยาทั้งสองมีทิศทางการออกฤทธิ์ระบายความร้อนลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย ดังนั้นจึงควรใช้ชะเอมเทศผัดน้ำผึ้งซึ่งมีสรรพคุณบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร โดยใช้รสหวานและคุณสมบัติอุ่นของชะเอมเทศผัดน้ําผึ้งลดฤทธิ์ที่แรงเกินไปของตัวยาทั้งสองในตำรับยา

2.3 การปรับตัวยาในตำรับให้สามารถนำไปใช้ได้กว้างขวางขึ้น

แม้ว่าส่วนประกอบของตัวยาในตำรับพื้นฐานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแต่หากวิธีการเผ้าจื้อตัวยาต่างกัน หรือหากปรับเพิ่มลดปริมาณตัวยาในตำรับยาพื้นฐานให้เหมาะสมกับผู้ป่วย สวนส่งผลให้สรรพคุณของตำรับยาเปลี่ยนไป เช่น ตำรับยา อู้ทัง มีสรรพคุณบำรุงโลหิต ประกอบด้วยตัวยาโกฐขี้แมวนึ่งเหล้า ตังกุยผัดเหล้าและโกฐหัวบัว หากผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางร่วมกับโลหิตร้อนให้ใช้โกฐขี้แมวแทนโกฐขี้แมวนึ่งเหล้า หากมีอาการโลหิตจางและมีเลือดคั่งให้เพิ่มน้ำหนักของโกฐเชียงผัดเหล้าและโกฐหัวบัว หรือตำรับยาจือป๋อตี้หวงหวาน มีสรรพคุณเสริมอินลดไฟ ประกอบด้วยตัวโกฐขี้แมวนึ่งเหล้า ซันจูยหวี ฮ่วยซัว เจ๋อเซี่ย โป่งรากสน รเปลือกรากโบตั๋น จื่อหมู่และหวงป๋อ หากผู้ป่วยมีอาการอินพร่องและส่วนล่างของร่างกายร้อนชื้นให้ใช้โกฐขี้แมวแทนโกฐขี้แมวนึ่งเหล้า หากมีอาการอินพร่องและมีไฟให้ใช้จือหมู่ผัดกับน้ำเกลือและหวงป๋อผัดกับน้ำเกลือแทนเพื่อลดรสสุขุมและคุณสมบัติเย็นของยาช่วยเสริมอิน ลดรไฟ เป็นต้น

2.4 รูปแบบที่เหมาะสมของตำรับมีผลต่อความปลอดภัยและประสิทธิผลการรักษา

ยาแต่ละตำรับต้องเตรียมในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย รูปแบบยาที่ต่างกันจะมีวิธีการเตรียมยาและวิธีการเผ้าจื้อต่างกันด้วย อย่าต้มเป็นรูปแบบยาเตรียมที่นิยมใช้และสะดวกมากที่สุด โดยทั่วไปจะใช้อิ่นเพี่ยนเข้าตำรับยา ตัวยาบางชนิดเมื่อใช้ในรูปแบบของยาต้ม ต้องเผ้าจื้อด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำส้ม เช่น หวงฉีผัดน้ำผึ้ง หรือเหยียนหูสั่วผัดน้ำส้ม หากอยู่ในรูปแบบยาฉีดจะสกัดสารสำคัญที่ออกฤทธิ์จากวัตถุดิบสมุนไพรมาเตรียมเป็นยาฉีด เช่น ยาฉีดหวงฉี ยาฉีดเหยียนหูสั่ว ตัวอย่างบางชนิดเมื่อใช้ในรูปแบบยาต้ม เช่น โหราเดือยไก่ ชวนอู หรือต้องนำมาประสะก่อนเข้าตำรับยา หากจะเตรียมเป็นลูกกลอนต้องนำมาคั่วจนกรอบเพื่อให้บดง่ายและเพื่อลดพิษทำให้ปลอดภัยในการใช้ เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล