Select your language TH EN
การแพทย์จีน รูปแบบยาเตรียมของตำรับยาจีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




รูปแบบยาเตรียมของตำรับยาจีน

รูปแบบยาเตรียมของตำรับยาจีนมีหลายรูปแบบ เช่น ยาต้ม ยาดองเหล้า ยาน้ำเชื่อม ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาชงพร้อมดื่ม ยาเส้น ยาครีม ยาฉีด เป็นต้น การเลือกรูปแบบยาเตรียมที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงลักษณะและอาการโรคของผู้ป่วยแต่ละราย คุณลักษณะเฉพาะของตัวยาแต่ละชนิดและสรรพคุณของตำรับยารูปแบบยาเตรียมที่นิยมใช้มีดังต่อไปนี้

1. ยาต้ม ยาต้มเป็นรูปแบบยาเตรียมที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนมากที่สุด เตรียมโดยนำตำรับยามาแช่ในน้ำให้น้ำท่วมตัวยาเล็กน้อยตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 - 60 นาทีเพื่อให้น้ำซึมเข้าตัวยาก่อนต้ม ในการต้มยานั้นปริมาณน้ำ ระดับไฟและเวลาที่ใช้ในการต้มยาขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของยาแต่ละประเภท เช่น ยารักษาอาการภายนอก ยาแก้ร้อนในให้ใช้น้ำปริมาณน้อยใช้ไฟแรงและใช้เวลาต้มน้อย โดยทั่วไปหลังต้มเดือดแล้วให้ต้มต่ออีกประมาณ 5 - 15 นาที หากเป็นยาบำรุงให้เพิ่มปริมาณน้ำใช้ไฟอ่อนและใช้เวลาต้มนานขึ้น โดยทั่วไปหลังต้มเดือดแล้วให้ต้มต่ออีกประมาณ 30 - 40 นาที

วิธีการต้มโดยทั่วไปเมื่อเริ่มต้มให้ใช้ไฟแรงก่อนพอเดือดแล้วให้ใช้ไฟอ่อนๆต้มต่อ ยาหนึ่งห่อจะต้ม 2 – 3 ครั้ง เมื่อต้มครั้งแรกเสร็จแล้วให้รินน้ำยาเก็บไว้เติมน้ำลงในกาที่เหลือแล้วต้มต่ออีก 1 – 2 ครั้ง รวมยาที่ต้มได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน(อาจนำไปเคี่ยวให้งวดลงอีกครึ่งหนึ่ง) จุดเด่นของอย่าต้ม คือ ยาดูดซึมได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีผลข้างเคียงน้อยและพิษต่ำ นิยมใช้รักษาโรคทั่วไปหรือโรคเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนสูตรตำรับให้เหมาะกับผู้ป่วยได้ ยาต้มบางตำรับใช้สำหรับรักษาแผลภายนอกโดยใช้ชำระล้างที่ผิวหนังและบางตำรับใช้สวนทวาร

2. ยาดองเหล้า ยาดองเหล้าเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยามาแช่ในเหล้าขาว สารที่ออกฤทธิ์จะละลายออกมาในเหล้ายาดองเหล้า มักมีลักษณะใสเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ มีปัญหาเรื่องลมชื้น ปวดเมื่อยตามร่างกาย บาดเจ็บจากการชกต่อย ตัวอย่างเช่น ยาดองเหล้า 10 ทิศและเฟิงซือเหย้าจิ่ว เป็นต้น

3. ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำเชื่อมแบ่งออกเป็นสองประเภทคือแบบนี้ตัวยาและไม่มีตัวยา (น้ำเชื่อมล้วน) ยาน้ำเชื่อมแบบมีตัวยามีวิธีการเตรียมคือนำตัวยามาต้มน้ำแล้วนำน้ำยาที่ได้ไปเคี่ยวจนเข้มข้นจากนั้นจึงใส่น้ำเชื่อมลงไปผสมให้เข้ากันยาน้ำเชื่อมจะมีรสหวานเหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็ก

4. น้ำยากลั่น น้ำยากลั่นเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยาสูตรที่มีองค์ประกอบของสารระเหยง่ายใส่หม้อนึ่งนึ่งจนกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำยาไปกระทบกับความเย็นที่ฝาหม้อจะได้หยดน้ำยา เรียกว่าน้ำยากลั่น  น้ำยากลั่นจะมีกลิ่นหอมชื่นใจ รสจืดไม่มีสี รับประทานง่ายใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแก้ร้อนใน ตัวอย่างเช่น น้ำยากลั่นดอกสายน้ำผึ้ง เป็นต้น

5. ยาลูกกลอน ยาลูกกลอนเป็นรูปแบบยาเตรียมที่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมกลมขนาดแตกต่างกัน เตรียมโดยนำตัวยาไปบดเป็นผงละเอียดแล้วผสมกับน้ำกระสายยาเช่นน้ำ น้ำผึ้ง น้ำส้มสายชู น้ำผลไม้ แป้งเปียก แป้งหมี่เปียกเหล้า เหล้าองุ่นและไขผึ้ง เป็นต้น จากนั้นนำมาปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยมือหรือเครื่องจักร โดยปกติยาลูกกลอนใช้รับประทานรักษาโรคทั่วไป ประเภทของยาลูกกลอนที่นิยมใช้ ได้แก่

5.1 ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง คือ ยาลูกกลอนที่ใช้น้ำผึ้งเป็นน้ำกระสายเตรียมไว้โดยนำตัวยาที่บดเป็นผงละเอียดมาผสมกับน้ำผึ้งบริสุทธิ์แล้วเคี่ยวจนเหนียวสีคล้ำ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนกลมด้วยมือหรือเครื่องจักรอาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ขนาดใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 3 - 9 กรัมขนาดเล็กอาจจะมีขนาดต่างๆกันตามความต้องการเนื่องจากยาลูกกลอนชนิดนี้ใช้น้ำผึ้งเป็นน้ำประสายากจึงมีลักษณะค่อนข้างนิ่มนุ่มและเหนียวชื้นเล็กน้อย กลิ่นหอมชวนรับประทาน ยาออกฤทธิ์เร็วปานกลางเหมาะสำหรับใช้รักษาโรคทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรังและยังมีผลบำรุงร่างกายด้วย ตัวอย่างเช่น เซิ่นชี่หวานและอันกงหนิวหวงหวาน เป็นต้น

5.2 ยาลูกกลอนน้ำ คือ ยาลูกกลอนที่ใช้น้ำเป็นน้ำประสายเตรียม โดยนำตัวยาที่บดเป็นผงละเอียดมาผสมกับน้ำสะอาดหรือของเหลวที่รับประทานได้อื่นๆ เช่น เหล้า เหล้าองุ่นน้ำส้มสายชูหรือแม้แต่นำยาที่เตรียมได้จากตัวยาอื่นๆ จากนั้นนำมาทำเป็นยาลูกกลอนด้วยมือหรือเครื่องจักรปกติมักทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดเล็ก กลืนง่าย จึงใช้สำหรับรักษาโรคทั่วไป ยาสามารถแตกตัวและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว ตัวอย่างยาลูกกลอนน้ำ เช่น เป่าเหอหวานและลิ่วเสินหวาน เป็นต้น

5.3 ยาลูกกลอนแป้งเปียก คือ ยาลูกกลอนที่ใช้แป้งเปียกเป็นน้ำกระสายยาเตรียม โดยนำยาสมุนไพรที่บดเป็นผงละเอียดบางผสมกับแป้งเปียกหรือแป้งหมี่เปียกเพื่อช่วยในการปั้นลูกกลอน ยาลูกกลอนชนิดนี้มีลักษณะเหนียวเหนอะน่ะมากกว่ายาลูกกลอนชนิดอื่น เมื่อรับประทานยาจึงแตกตัวและถูกดูดซึมได้ช้ากว่ายาลูกกลอนน้ำผึ้ง และยาลูกกลอนน้ำเป็นรูปแบบยาที่นิยมใช้กับตัวยาที่เป็นสารกระตุ้นหรือมีพิษหรือระคายเคืองมากซึ่งจะช่วยในการดูดซึมช้าลง ลดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารและมีผลการรักษาเนิ่นนานออกไป ตัวอย่างยาลูกกลอนแป้งเปียก เช่น ซีห่วงหวาน เป็นต้น

5.4 ยาลูกก่อนสารสกัด คือ ยาลูกกลอนที่เตรียมจากน้ำยาสมุนไพรสกัดเข้มข้น มีวิธีการเตรียมคือต้มตัวอย่างที่ต้องการตามกรรมวิธีการเตรียมยาต้ม จากนั้นนำน้ำยาที่ต้มได้มาเคี่ยวต่อให้เข้มข้นจนเหนียวหนืดแล้วนำไปผสมกับตัวยาอื่นๆในตำรับที่บดเป็นผงละเอียดผสมคลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างสม่ำเสมอนำไปอบแห้ง แล้วบดเป็นผงละเอียดนำผงยาที่เตรียมได้นี้ไปทำเป็นยาลูกกลอนโดยใช้น้ำเหล้าหรือยาสมุนไพรที่เหลือเป็นน้ำกระสายจะได้ยาลูกกลอนสารสกัดซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงรักษาโรคได้โดยใช้ปริมาณน้อย จึงมักทำเป็นยาลูกกลอนเม็ดเล็กรับประทานง่ายเหมาะกับการใช้รักษาโรคทุกชนิด ตัวอย่างยาลูกกลอนสารสกัด เช่น หนิวหวง เจี่ยตู๋หนงซัวหวาน เป็นต้น

6. ยาตัน ยาตันเป็นรูปแบบยาที่ได้จากการระเหิดเมื่อได้รับความร้อนของเครื่องยาธาตุวัตถุที่มีปรอทและกำมะถันเป็นส่วนประกอบ ตัวยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีคือใช้ในปริมาณน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง ส่วนมากมักใช้เป็นยาภายนอก เช่น ไป๋เจี้ยงตัน และหงเซิงตัน เป็นต้นนอกจากนี้คำว่าอย่าตันอาจจะหมายถึงยาจีนที่มีคุณค่าหายากและมีคุณสมบัติเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น เสี่ยวเอ๋อร์หุยชุนตัน หัวบั่วตัน และจื่อเสว่ตัน เป็นต้น

7. ยาเม็ด ยาเม็ดเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยามาบดเป็นผงแล้วเติมสารประกอบอื่นเพื่อให้ได้ส่วนผสมและปริมาณยาที่เหมาะสมและช่วยในการตอกเป็นเม็ดผสมให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตอกเม็ดเป็นรูปแบบต่างๆโดยใช้เครื่องตอกเม็ดยา ยาเม็ดมีข้อดี คือ รับประทานง่าย มีปริมาณสาระสำคัญสม่ำเสมอ ต้นทุนการผลิตต่ำ ดูแลรักษาง่ายและการขนส่งสะดวก หากตัวยามีกลิ่นและมีรสขมสามารถบดบังได้โดยการเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล หากต้องการให้ยาเม็ดออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้สามารถใช้สารเคลือบที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างเช่น ซังจหวีกั่นเม่าเพี่ยน และอิ๋นเฉียวเตี่ยตู๋เพี่ยน เป็นต้น

8. ยาแคปซูลยา แคปซูลมี 2 ประเภทได้แก่สมุนไพรบรรจุแคปซูล (บดเป็นผงแล้วผ่านแรงเบอร์ 100) และสารสกัดสมุนไพรบรรจุแคปซูล ขนาดของแคปซูลมีหลายขนาดเช่น 100 250 150 กรัม เป็นต้น ปลอกแคปซูลผลิตมาจากวัสดุต่างๆกัน เช่น จากพืชและจากสัตว์ เป็นต้น

9. ยาอมหรือยาเม็ดแบน ยาอมหรือยาเม็ดแบนเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยาล้วนๆที่บดเป็นผงละเอียดหรือผสมกับสารประกอบอื่นทำให้เป็นรูปแบบต่างๆกัน เช่น รูปกลม รูปกลมแบน รูปรี รูปเหลี่ยมเป็นต้น แล้วนำไปอบแห้ง ใช้ได้ทั้งรับประทานหรือยาใช้ภายนอก เช่น จื่อจินติ้ง เป็นต้น

10. ยาผง ยาผงเป็นรูปแบบและเตรียมที่ได้จากการนำตัวยามาบดเป็นผงละเอียดและผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำไปอบให้แห้ง มีทั้งตำรับที่ใช้ภายในและภายนอก ตำรับที่ใช้ภายในนั้นกรณีที่ใช้ขนาดยาปริมาณน้อยให้นำตัวอย่ามาบดเป็นผงละเอียดแล้วชงกับน้ำรับประทาน กรณีที่ใช้ขนาดยาปริมาณมากมักบดเป็นผงหยาบนำไปต้มกับน้ำกรองเอากากออกแล้วรับประทานเฉพาะน้ำที่กรองได้ ส่วนตำรับยาผงที่ใช้ภายนอกใช้วิธีโรยบนแผลหรือบริเวณที่ต้องการรักษา ตำรับยาผงอาจถูกนำไปปรุงแต่งก่อนนำไปใช้ เพราะเป็นรูปแบบยาเตรียมที่นิยมมากอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเตรียมได้ง่ายใช้สะดวกทั้งรับประทานหรือใช้ภายนอกหากการเตรียมและการเก็บรักษาดียาจะไม่เสื่อมสภาพง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อดีในเรื่องราคาถูกและประหยัด

11. ยาชงสมุนไพร ยาชงสมุนไพรเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยาที่บดเป็นผงยามาผสมกับสารยึดเกาะ ปั้นเป็นก้อนหรือเม็ดเล็กๆและอบให้แห้ง วิธีใช้คือนำมาแช่ในน้ำเดือดในภาชนะที่มีฝาปิดนาน 10 - 15 นาที แล้วดื่มแทนน้ำชา ตัวอย่างเช่น อู่สือฉา เป็นต้น

12. ยาชงพร้อมดื่ม ยาชงพร้อมดื่มเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำสารสกัดกึ่งแข็งหรือสารสกัดแห้งมาผสมกับสารประกอบบางชนิด เช่น แป้งหรือผงน้ำตาลแล้วนำไปอบแห้งทำเป็นเม็ดเล็กๆบรรจุซองสำหรับชงน้ำรับประทาน รูปแบบยาประเภทนี้พัฒนามาจากยาต้มและยาน้ำเชี่ยม มีข้อดีคือใช้ง่ายและพกพาสะดวก ตัวยาออกฤทธิ์เร็วเหมาะสำหรับใช้รักษาโรคหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ซูกานชงจี้และกั่นเม่าทุ่ยเร่อชงจี้ เป็นต้น

13 . ยาครีม ขี้ผึ้ง รูปแบบที่คล้ายกัน ยาครีมขี้ผึ้งหรือรูปแบบยาที่คล้ายกัน เตรียมโดยนำตัวยามาต้มกับน้ำหรือน้ำมันพืช ทำให้เข้มข้นโดยการเคี่ยวต่อจนได้ยาเตรียมที่มีลักษณะข้นเหนียวคล้ายครีมหรือยาขี้ผึ้ง หรือเคี่ยวจนได้ยาเตรียมที่ข้นกึ่งแข็งเกือบแห้งคล้ายยาสีฟันหรือปูนที่ผสมแล้ว (พร้อมที่จะนำไปฉาบ) หรือเคี่ยวจนได้รูปแบบเกือบแข็งเหมือนกอเอี๊ยะหรือเคี่ยวจนแห้งเป็นผงสารสกัด ยาเตรียมรูปแบบนี้มีทั้งชนิดรับประทาน เช่น สารสกัดเหลว สารสกัดกึ่งแข็งหรือสารสกัดแห้ง สารสกัดเข้มข้นกึ่งเหลวและชนิดที่ใช้ทาภายนอก เช่น ขี้ผึ้งและครีมและกอเอี๊ยะ เป็นต้น

13.1 สารสกัดเหลว เตรียมโดยนำตัวยามาแช่ในตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารสกัดที่ออกฤทธิ์ตามต้องการแล้วนำไประเหยเอาตัวทำละลายออกโดยใช้อุณหภูมิต่ำ ปรับความเข้มข้นของสารสกัดและปริมาณของตัวทำละลายให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปยาเตรียมสารสกัดเหลวปริมาตร 1 มิลลิลิตรจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับตัวยาแห้งน้ำหนัก 1 กรัม เว้นแต่จะมีการระบุไว้เป็นกรณีพิเศษ ตัวอย่างสารสกัดเหลว เช่น สารสกัดเหลวชะเอมเทศและสารสกัดเหลวกัญชาเทศ เป็นต้น

13.2 สารสกัดเข้มแข็งและสารสกัดแห้ง เตรียมโดยนำตัวยามาหมักในตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารสกัดที่ออกฤทธิ์ตามต้องการแล้วนำไประเหยเอาตัวทำละลายออกโดยใช้อุณหภูมิต่ำตามมาตรฐานของสารสกัดกึ่งแข็งและสารสกัดแห้ง สารสกัดปริมาณ 1 กรัมจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับตัวยาแห้งน้ำหนัก 2 - 5 กรัม นิยมนำสารสกัดกินแข็งมาเตรียมเป็นยาเม็ดหรือยาลูกกลอน ตัวอย่างเช่น เหมาตงชิงจิ้นเกา  เป็นต้น สารสกัดแห้งที่เป็นผงแห้งนิยมใช้บรรจุแคปซูลหรือชงน้ำรับประทาน ตัวอย่างเช่น หลงต่านเฉ่าจิ้นเกา เป็นต้น

13.3 สารสกัดเข้มข้นกึ่งเหลว เตรียมโดยนำตัวยามาต้มจนกระทั่งการสกัดสมบูรณ์ ทิ้งกาก นำสารสกัดที่ได้มาทำให้เข้มข้นเติมน้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรวดหรือน้ำตาลทรายในปริมาณที่เหมาะสม ผสมให้เข้ากันจะได้สารสกัดที่มีลักษณะเข้มข้นกึ่งเหลว การใช้ยาเตรียมชนิดนี้จะใช้ในปริมาตรน้อยรับประทานง่ายเนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำผึ้งหรือน้ำตาลในปริมาณมากและมีประสิทธิภาพในการบำรุงค่อนข้างสูงจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่างกายอ่อนแอตัวอย่างสารสกัดเข้มข้นกึ่งเหลว เช่น อี้หมู่เฉ่าเกาและผีผาเกา เป็นต้น

13.4 ครีมและขี้ผึ้ง เป็นรูปแบบยาเตรียมซึ่งมีลักษณะเป็นครีมคนเหนียวถ้าติดผิวได้ง่ายที่อุณหภูมิปกติจะมีลักษณะค่อนข้างแข็งและมีความเหนียวเฉพาะตัวเมื่อนำมาป้ายหรือทาลงบนผิวหนังจะค่อยๆอ่อนตัวหรือหลอมละลาย สารออกฤทธิ์จากค่อยๆถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์เร็วปานกลางตัวอย่างยาครีมและขี้ผึ้ง เช่น ซันหวงหรวนเกา และครีมฟ้าทะลายโจร เป็นต้น

13.5 กอเอี๊ยะ เตรียมโดยใช้สารพื้นที่เหมาะสมผสมหรือละลายเข้ากับตัวยาสมุนไพรแล้วนำมาป้ายลงบนผ้าหรือบนแผ่นวัสดุที่ใช้ปิดเฉพาะที่ผิวหนัง ส่วนที่เป็นสีดำบนผ้าหรือวัสดุนั้นเรียกว่ากอเอี๊ยะหรือกอเอี๊ยะดำ โดยปกติที่อุณหภูมิห้องจะมีลักษณะเป็นของแข็งแต่จะอ่อนตัวลงที่อุณหภูมิร่างกายหรือที่ประมาณ 36 - 37 องศาเซลเซียสและยาจะเริ่มออกฤทธิ์โดยค่อยๆถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย ตัวอย่างเช่น กอเอี๊ยะเช่นโก่วผีเกาและซางซือจื่อท่งเกา เป็นต้น

14. ยาเส้น ยาเส้นเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวยาใส่ในกระดาษที่เตรียมจากเปลือกต้นหม่อนแล้วนำมาม้วนปิดเส้นเล็กๆหรือนำมาม้วนเป็นเส้นเล็กๆ แล้วเคลือบด้วยผงยาสมุนไพร ยาเส้นมักใช้ปักเข้ารูหัวฝีเพื่อขับหนองและทำให้แผลเปื่อยแห้งเร็ว นิยมใช้ในศัลยกรรมกรรมจีน

15. ยาเส้นด้าย ยาเส้นด้ายเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำเส้นด้ายไหมหรือเส้นด้ายฝ้ายไปแช่หรือต้มในน้ำยาสมุนไพรจากนั้นนำไปตากแห้ง โดยทั่วไปมักใช้ยาเตรียมประเภทนี้ไว้ผูกรากไฝหรือรากหัวริดสีดวงทวาร

16. ยาม้วนลนไฟ อย่าม้วนลนไฟเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำใบโกศจุฬาลัมพามาหั่นเป็นเส้นฝอย จากนั้นหอม้วนด้วยไปโกฐจุฬาลัมพาอีกทีคล้ายกับม้วนยาสูบเป็นรูปแบบยาที่ใช้ในการฝังเข็มหรือรักษาลมปราณหรือตำแหน่งที่เกิดโรค วิธีการใช้คือนำตัวยานี้มาจุดไฟแล้วนำมาลนเพื่อการรักษาหรือเพื่อการป้องกันโรค

17. ยาฉีด ยาฉีดเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการนำตัวอย่างมาสกัดและผ่านกระบวนการสกัดเอาสารประกอบที่ไม่ต้องการออกจนได้สารบริสุทธิ์แล้วนำไปเตรียมยาฉีด โดยผ่านการฆ่าเชื้อตามเกณฑ์มาตรฐานของการเตรียมยาฉีดยาฉีดมีหลายประเภททั้งประเภทฉีดใต้ผิวหนังฉีดเข้ากล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำยาฉีดมีประสิทธิภาพสูงมีปริมาณสารสำคัญที่แน่นอน นอกจากนี้การดูดซึมของตัวยาจะไม่ถูกรบกวนด้วยอาหารและตัวยาไม่ถูกทำลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาฉีดเช่น ยาฉีดจวิ่นหวงและยาฉีดฟู่ฟางตันเซิน เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง