Select your language TH EN
เภสัชกรรม หลักการปรุงยา  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



เภสัชกรรม 

       เภสัชกรรม  คือ  รู้จักการปรุงยา  ผสมเครื่องยาหรือตัวยาตามที่กำหนดในตำรับยา  หรือตามใบสั่งยา

๑.วิธีปรุงยา

การปรุงยาตามตำราแพทย์แผนโบราณ คงจะเข้าใจดีว่า การปรุงยาก็หมายถึงกราผสม การผสมนี้ก็ต้องใช้วัตถุต่างๆตามความต้องการของแพทย์และเภสัชกรเพื่อนำเอามาแปรสภาพให้เป็นยารักษาและป้องกันโรคที่เกิดขึ้น ให้มีสรรพคุณแรงพอที่จะบำบัดโรคได้ เภสัชกรก็คือเป็นผู้ที่รอบรู้มนวิชาเภสัชกรรมได้ดี รู้ซึ้งถึงวัตถุต่างๆว่ามีรูปร่างลักษณะมีฤทธิ์ที่จะแก้โรคได้อย่างไรและเป็น ผู้แปรสภาพวัตถุต่างๆ ให้กลายเป็นยารักษาโรคได้

การปรุงยา เภสัชกรต้องมึวามเข้าใจต่อตัวยา การประสมประสานตัวยานั้น มีความหมายอย่าไร หรือตัวยาจะมีความสัมพันธ์กัน หรือมีฤทธิ์ต่อต้านกัน หรือจะเสริมฤทธิ์ ทำให้มีอาการ ข้างเคียงเกิดขึ้นในเมื่อใช้ต่อผู้ป่วย หรือไม่มีฤทธิ์พอจะทำลายโรคได้

       ตัวยาหรือวัตถุต่างๆ ย่อมมีสรพคุณปรากฏอยู่ในตัวแล้วก็ตาม แต่หากจะนำมาใช้ทำยา ตัวยาสิ่งเดียวย่อมไม่มีสรรพคุณแรงพอที่จะใช้รักษาโรคได้ เพราะมีกากเจือปนมาก ทั้งยังไม่เรียกว่าเป็นยา คงเป็นวัตถุสิ่งหนึ่ง เป็นเครื่องประกอบยา เรียกว่าเครื่องยา หรือตัวยาเท่านั้น ท่าคณาจารย์แพทย์ทั้งหลายเป็นผู้ชำนาญการ จึงได้รวบรวมตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างนับตุ้งแต่สองสิ่งขึ้นไป  ผสมรวมกันเข้าจึงเรียกว่า ปรุง ผลผลิตจาการปรุง จึงได้ชื่อว่ายาสำหรับบำบัดและรักษาโรคที่เกิดขึ้นได้ สมมุติว่าท่านจะเอากระเพราะ (ตัวยา) แต่อย่างเดียวมาต้มกับน้ำหรือละลายน้ำ ก็ไม่เรียกว่ายา ถ้าจะให้เรียกใกล้เคียงก็แค่น้ำกระสายยาเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็กลายเป็นอาหารไป ยาไทยนั้นปรุงขึ้นจากพืช สัตว์ และธาตุ ที่เกิดขึ้นจากพื้นภูมิประเทศอันเกิดขึ้นอยู่ตามธรรมชาติของมัน เมื่อยังมิได้ทำการสกัดกลั่น เอาแต่ตัวยาจริงๆ มาปรุงผสมเป็นยา ก็ย่อมมีกากและสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยาปะปนอยู่มาก จำกำหนดให้ใช้ตัวยารวมกันหลายสิ่ง ผสมกันเข้าเป็นยา

๑.๑ หลักการปรุงยา ยาไทยปรุงขึ้นจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมิได้สกัดกลั่นเอาเฉพาะเนื้อยาที่แท้ จึงมีส่วนที่เป็นกากเจือปนอยู่มาก ดังนั้น ยาไทยจึงกำหนดให้ใช้ตัวยาที่มีปริมาณมาก และตัวยาหลายสิ่งรวมกัน อย่างไรก็ตามโครงสร้างของยาไทยสามารถแบ่งออกสรรพคุณของตัวยาออกเป็นส่วนๆได้ดังนี้ คือ

       ตัวยาตรง คือ ยาที่มีสรรพคุณบำบัดโรคและไข้ โดยเฉพาะเรื่องอาจจะมีรสขมมาก รสเปรี้ยวมากมีรสเค็มมากๆ ไม่อาจจะรับประทานได้มาก เพราะรสไม่อร่อย และโรคแทรกก็มี แพทย์จึงได้หาตัวยาช่วยอีกแรงหนึ่งจะได้รักษาโรคและไข้หายเร็วขึ้น

ตัวยาช่วย คือ เมื่อมีโรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษาไอก็มีตัวยากัดเสมหะช่วยด้วย

       ตัวยาประกอบ เพื่อป้องกันโรคตามและช่วยบำรุงแก้ส่วนที่หมอเห็นควร หรือาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น เช่น ลูกผักชีล้อม ใส่เพื่อแก้อาการไข้ในท้องในยาต่างๆ

       ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา ตัวยาชูกลิ่นนี้ หากบางครั้งการปรุงยารักษาโรคอาจจะมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน ก็ต้องอาศัยตัวยาชูกลิ่นให้น่ารับประทานหรือบางคราวยามีรสขมมากเกินไป  ก็ควรใช้ยาชูรสให้รับประทานได้ง่าย เช่น ควรเติมรสหวานเข้าไปบ้างก็ควรเติม ใช่แต่เท่านั้น สีของยาถ้ามีสีสดก็น่ารับประทาน หรือสีแดงอ่อนๆ ก็น่ารับประทาน

       ทั้ง ๔ ประการนี้ ซึ่งได้กล่าวมาพอสังเขป เป็นหลักของการปรุงยา ซึ่งตามหลักของการปรุงยาสากลก็ยังนิยมใช้กันอยู่จำนวนหลายสิ่งหลายอย่างเหล่านี้ ต่างรวมและแบ่งสรรพคุณกันไป ทำการุณบำบัดรักษาโรคและรวมพลังสรรพคุณรุนแรงขึ้น เพื่อต่อสู้กับสมุฏฐานของโรคได้ ซึ่งอาจมีโรคแทรกโรคตามผสมกันอยู่ดังได้บรรยายมาแล้ว

๑.๒ ขั้นตอนการปรุงยา เภสัชกรผู้ทำการปรุงยา จึงจำเป็นยึดตำรับยาที่จะปรุงหรือตามใบสั่งแพทย์เป็นหลักสำคัญ การปรุงยาต้องอาศัยตำรับยาที่จะทำการปรุงยาทุกครั้ง ตำรับนั้นๆ จะบอกชื่อตัวยาส่วนขาด วิธีใช้ และวิธีปรุงไว้ทุกขนาน เมื่อได้ใช้ตำรับยาเป็นหลักแล้ว ก็ควรพึงระลึกอยู่เสมอว่า การปรุงยาที่จะให้มีสรรพคุณดีนั้นควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี การปรุงยาให้มีสรรพคุณดี อาศัยหลักดังต่อไปนี้คือ

       พิจารณาตัวยา ก็คือ หลักเภสัชวัตถุนั่นเอง การปรุงยานั้นตำราบอกไว้ให้ใช้ส่วนของพืช สัตว์ และธาตุ ก็ควรใช้อย่างนั้น เป็นต้นว่า  พืชวัตถุให้ใช้เปลือก ราก หรือ ดอก ฯลฯ สัตว์วัตถุ ให้ใช่ส่วนใด เช่น กระดูกหนัง เขา ดี เลือด นอ งา ฯลฯ ธาตุวัตถุให้ใช้ดิบๆ  หรือทำการสะตุ เสียก่อน เช่น สารหนู สารส้ม จุนสี กำมะถัน ฯลฯ ดังนี้ ธาตุบางชนิด ควรทำการสะตุหรือผสมใด้เลย นอกจากทั้งพืช สัตว์ และธาตุควรใช้ขิงสด ขิงแห้ง ลูกสมอไทยอ่อน ลูกสมอไทยแก่ ดังนี้เป็นต้น ตัวยาบางอย่างแปรสภาพ สรรพคุณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ตัวยาบางอย่างมีฤทธิ์แรงจะเป็นอันตราย ต้องฆ่าเสียก่อน เช่น เมล็ดสลอด ยางสลัดได ฯลฯ ซึ่งวิธีฆ่า และแปรสภาพที่มีฤทธิ์จะได้กล่าวในตอนต่อไป ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

       พิจารณาสรรพคุณตัวยาแต่ละอย่าง ก็คือ หลักสรรพคุณเภสัช คือ ให้รู้จักรสของตัวยาเสียก่อนเมื่อทราบรสของตัวยาแล้ว รสจะแสดงให้รู้สรรพคุณได้ ถึงแม้ว่าตัวยาในโลกนี้จะมีมาก เสียจริง แต่รสของยานั้นกำหนดไว้เพียงจำนวนน้อย ดังได้บรรยายมาแล้วในตอนสรรพคุณเภสัช จึงจะไม่กล่าวให้ยืดยาวต่อไปรสหรือสรรพคุณของตัวยานั้น ถ้าจะทำการปรุงก็อย่าให้รสยาขัดกัน หรือตัวยารักษาโรคดีอยู่แล้วแต่เพิ่มตัวยาที่ฆ่าสรรพคุณยาขนานนี้เข้าไปทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ เช่น หญ้ารางแดง รางจืด ตัวยาพวกนี้ถ้าเพิ่มเข้าไปทำให้รสและสรรพคุณสียไป ตัวยารสเค็ม ควรใช้ยารสอะไรผสมจึงจะมีสรรพคุณดี หรือตัวยาบางอย่างมีอันตรายควนใส่แต่น้อย หรือสะตุเสียก่อนเหล่านี้ แล้วแต่ความฉลาดของเภสัชกรผู้ทำการปรุงยานั้น

       พิจารณาดูขนาดและปริมาณของตัวยา ขนาดของตัวยานั้นๆ ให้เอาปริมาณมากน้อยเท่าใดสิ่งละหนักเท่าไร โดยตำรับได้กำหนดลงไว้หนักสิ่งละ ๑ สลึง หรือ ๑ บาท ก็ควรพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ควรที่ผู้เป็นเภสัชกรพิจารณาดูให้รอบคอบก่อนจึงทำการปรุงยาเป็นต้นว่ายาขนานนี้มีตัวยาที่รสเผ็ดร้อนมากอยู่แล้ว ก็ยังเพิ่มเมล็ดพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย จะสมควรหรือไม่ประการใด แล้วแต่เภสัชกรพิจารณาดูให้ดีทั้งน้ำหนัก ตัวยา ก็ชั่ง ตวง ให้ถูกต้อง

       ความสะอาดและความละเอียดรอบคอบเภสัชกร การปรุงยาที่จะให้มีสรรพคุณดีนั้นจะปราศจากความสะอาดหาได้ไม่เป็นสิ่งสำคัญมาก การปรุงยา ตัวยาบางชนิดมีดินติดอยู่หรือพืชบางชนิดมีตัวหนอนติดอยู่หรือมดติดอยู่ในโพรงของรากยาก็เอามาบดโดยล้างไม่สะอาดใช่แต่เท่านั้นภาชนะในการปรงยา หั่นยา ครกตำยา ฯลฯ ก็ควรสะอาดด้วย แม้แต่ตัวเภสัชกรเองก็ล้างมือให้สะอาดเมื่อจะทำการปรุงยา นอกจากนี้เภสัชกรควรเป็นคนที่มีนิสัยละเอียด รอบคอบ ไม่เผลอเรอมักง่าย เช่นตำราบอกให้ปรุงมีตัวยา ๒๐ สิ่งแต่ใส่เพียง ๑๕ หรือ ๑๖ สิ่ง โดยลืมตัวยาที่เหลือเหล่านั้นเสีย ซึ่งจัดว่าเป็นการเผอเรอ และตำราบอกให้บดละเอียดเป็นอณูสำหรับเป็นยานัตถ์ แก้ริดสีดวง เภสัชกรมักง่าย ขี้เกียจก็บดหยาบๆเวลาใช้ยา รักษาโรคก็ไม่เกิดผลและ มิหนำซ้ำเกิดโทษ แก่คนไข้ ดังนี้เป็นต้น

       ปรุงยาให้ถูกต้อง ถูกหลักวิชาตามหลักของเภสัชกรรมวิธีปรุงยาตามตำรับแผนโบราณนั้นกำหนดไว้มี ๒๘ วิธี  การปรุงยานี้ควรที่จะค้นคว้าและพยายามศึกษาการปรงยาให้ได้มาตรฐาน ทันความเจริญของโลกเสมอ เป็นต้นว่าน่ารับประทาน สะดวกในการใช้รักษาโรค รูปแบบของภาชนะบรรจุเหล่านี้ เป็นต้น หรือได้ปรุงเสร็จเรียบร้อย ก็ควรเขียนชื่อยาไว้ บอกขนาดและวิธีใช้ ตลอดทั้งสรรพคุณว่ารักษาโรคอะไรปรุงเมื่อไร

๑.๓ การปรุงยาตามแบบแผนโบราณ

เภสัชกรรม คือ การปรุงยาที่ผสมใช้ตามวิธีต่างๆ ตามแผนโบราณ ซึ่งมี ๒๘ วิธี ดังต่อไปนี้

๑)     ยาสับเป็นชิ้นเป็นท่อนใส่ลงในหม้อ เติมน้ำต้มแล้วรินแต่น้ำกิน

๒)     ยาดองแช่ด้วยน้ำท่าหรือน้ำสุรา แล้วรินแต่น้ำกิน

๓)     ยากัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์ และหยดลงในน้ำ เติมน้ำกิน

๔)     ยาเผาเป็นด่าง เอาด่างมาแช่น้ำไว้ แล้วรินแต่น้ำกิน

๕)     ยากลั่นเอาน้ำเหงื่อ เอาด่างมาแช่น้ำไว้ แล้วรินแต่น้ำกิน

๖)     ยาหุงด้วยมัน เอาน้ำมันใส่กล่อง เป่าบาดแผล และฐานฝี

๗)     ยาผสมแล้ว ต้มเอาน้ำบ้วนปาก

๘)     ยาผสมแล้ว ต้มเอาน้ำอาบ

๙)     ยาผสมแล้ว ต้มเอาน้ำแช่

๑๐)  ยาผสมแล้ว ต้มเอาน้ำสระ

๑๑)  ยาผสมแล้ว ต้มเอาน้ำสวน

๑๒) ยาต้มเป็นผงแล้ว บดให้ละเอียดละลายน้ำกระสายกิน

๑๓) ยาเผาหรือคั่วให้ไหม้ ตำเป็นยาผงบดให้ละเอียด ละลายน้ำกิน

๑๔) ยาผสมแล้ว ทำเป็นผง กวนให้ละเอียดใส่กล่องเป่าทางจมูกและคอ

๑๕) ยาผสมแล้วม้วนเป็นบุหรี่ หรือยัดกล้องสูบ

๑๖) ยาผสมแล้ว มาเป็นยาธาตุ

๑๗) ยาผสมแล้ว ทำเป็นลูกประคบ

๑๘) ยาผสมแล้วใช้เป็นยาพอก

๑๙) ยาผสมแล้ว บดละเอียดเป็นผงแล้วปั่นเป็นเม็ดหรือเม็ดลูกกลอน กลืนกิน

๒๐) ยาผสมแล้ว บดผงปั่น เป็นแผ่นหรือปั่นเป็นแท่ง แล้วใช้เหน็บ

๒๑) ยาผสมแล้ว บดผงผสมตอกอัดเม็ด

๒๒) ยาผสมแล้ว บดผงทำเม็ดแล้วเคลือบ

๒๓) ยาผสมแล้ว ทำเป็นเม็ดแคปซูล (ต้องมีคำว่า “แผนโบราณ” อยู่บนแคปซูล)

๒๔) ยาผสมแล้ว ห่อผ้าบรรจุลงในกลักแล้วเอาไว้ใช้ดม

๒๕) ยาผสมแล้ว ใส่กล่องติดไฟใช้ควันเป่าบาดแผลและฐานฝี

๒๖) ยาผสมแล้ว เผาไฟหรือโรยบนถ่านไฟ ใช้ควันรม

๒๗) ยาผสมแล้ว ต้มเอาไอลมหรืออบ

๒๘) ยาผสมแล้ว กวนเป็นยาขี้ผึ้งปิดแผล ซึ่งเรียกว่ายากวน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง