Select your language TH EN
สมุนไพรจีน-เต้าตี้เย่าไฉ เต้าตี้เย้าไฉ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




เต้าตี้เย่าไฉ

  เต้าตี้เย่าไฉ หรือ สมุนไพรมาตรฐาน หมายถึง สมุนไพรจีนเฉพาะพันธุ์ที่ปลูกได้เฉพาะท้องถิ่น ซึ่งมีคุณภาพและให้ประสิทธิผลการรักษาดี เต้าตี้เย่าไฉเหล่านี้ ได้ผ่านการทดลองใช้ทางเวชปฏิบัติโดยแพทย์จีนมาเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งคุณภาพของแหล่งผลิตและสรรพคุณของตัวยาเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลการรักษาดีกว่าสมุนไพรชนิดเดียวกันที่ได้จากแหล่งผลิตอื่น ข้อมูลเหล่านี้ได้มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนจีนจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า คุณภาพของสมุนไพรและแหล่งผลิตที่เหมาะสมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีผลต่อปริมาณสารสําคัญที่ออกฤทธิ์ในสมุนไพร เช่น ชิงเฮา ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคมาลาเรีย มีสารสําคัญที่ออกฤทธิ์คือ ชิงเฮาซู่ (artemisinin) ชิงเฮาที่ปลูกในหลายพื้นที่มีปริมาณสารสําคัญแตกต่างกันมาก จากการศึกษาวิจัยพบว่า ชิงเฮาที่ปลูกทางภาคใต้ของจีนจะมีปริมาณชิงเฮาซ่สูง ปัจจัยที่ทําให้เกิดผลดังกล่าวคือ พื้นที่ภาคใต้มีความสูงจากระดับน้ำทะเลน้อยและมีอากาศค่อนข้างอบอุ่น โดยแหล่งผลิตที่ดีที่สุด คือ ไห่หนัน (เกาะไหหลํา) และเมืองชีหยางในมณฑลชื่อชวน (เสฉวน) ส่วนชิงเฮาที่ปลูกทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่มีชิงเฮาซู่ ดังนั้น เต้าตี้เย่าไนของชิงเฮา คือ ชิงเฮาที่มีแหล่งผลิตที่ไห่หนันและมณฑลซื่อชวน จึงอาจกล่าวได้ว่า เต้าตี้เย่าไฉเป็นการคัดเลือกระดับคุณภาพของสมุนไพรจีนนั่นเอง

เต้าตี้เย่าไฉ thai-herbs.thdata.co | เต้าตี้เย่าไฉ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพันธุ์พืชประมาณร้อยละ 10 ของพันธุ์พืชทั้งหมดที่พบในโลกและจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการใช้สมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย การที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลายจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญที่ทําให้มีแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรมากมาย เมื่อรวมสมุนไพรที่ใช้เป็นยาทั้งหมดประมาณ 12,800 ชนิด เป็นสมุนไพรที่มีการซื้อขายในท้องตลาดประมาณ 1,200 ชนิด และเป็นสมุนไพรที่ปรากฏในเภสัชตํารับสาธารณรัฐประชาชนจีนประมาณ 500 ชนิด ซึ่งในจํานวนนี้มีเต้าตี้เย่าไฉประมาณ 200 ชนิด กระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆทั่วประเทศ

สารานุกรมสมุนไพรจีน (จงเย่าต้าฉือเตียน) ได้บันทึกตัวยา สมุนไพรไว้ถึง 5,767 ชนิด เป็นพืชวัตถุ 4,762 ชนิด สัตว์วัตถุ 740 ชนิด ธาตุวัตถุ 82 ชนิด และอื่นๆ อีก 183 ชนิด สมุนไพรส่วนใหญ่ได้จากพืช พืชแต่ละชนิดมีแหล่ง กระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน ส่งผลให้สมุนไพรชนิดหนึ่งๆ มีลักษณะเฉพาะตัว มี องค์ประกอบทางเคมี และสรรพคุณทางยาแตกต่างกัน เต้าตี้เย่าไฉบางชนิดอาจได้จาก หลายแหล่ง การแบ่งกลุ่มของเต้าตี้เย่าไฉในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหลายแบบ แต่หาก แบ่งสมุนไพรตามเขตเกษตรกรรมในประเทศออกเป็น 10 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. กลุ่มชวนเย่า จากมณฑลซื่อชวน (เสฉวน)

2. กลุ่มกว่างเย่า จากมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี (กวางสี) และไห่หนัน (เกาะไหหลํา)

3. กลุ่มหวินเย่า จากมณฑลหวินหนัน (ยูนนาน) 

4. กลุ่มกุ้ยเย่า จากมณฑลกุ้ยโจว 

5. กลุ่มไหวเย่า จากมณฑลเหอหนัน 

6. กลุ่มเจ้อเย่าจากมณฑลเจ้อเจียง 

7. กลุ่มกวนเย่า จากมณฑลเหลียวหนิง จี้หลิน เฮย์หลง เจียงและภาคตะวันออกของเน่ย์เหมิง (มองโกเลียในตะวันออก)

8. กลุ่มเปย์เย่า จากมณฑลเหอเป่ย์ ซันตง ซันซี และภาคกลางของเน่ย์เหมิง (มองโกเลียในกลาง)

9. กลุ่มซี่เย่า จากมณฑลส่านซีตะวันตก กันซู ชิงไห่ ซินเจียงและภาคตะวันตกของเน่ย์เหมิง (มองโกเลีย ในตะวันตก)

10. กลุ่มหนุนเย่า จากทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ได้แก่ หูหนัน หูเปย์ เจียงซู อันฮุย เจียงซี ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และไต้หวัน 


เต้าตี้เย่าไฉ thai-herbs.thdata.co | เต้าตี้เย่าไฉ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

จากการแบ่งกลุ่มดังกล่าว แต่ละมณฑลจะมีสมุนไพรที่ขึ้นชื่อและมีคุณภาพดีแตกต่างกัน พืชสมุนไพรจีนมีความสําคัญในตลาดโลกและภาพรวมของมูลค่าการส่งออกสมุนไพรจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ค.ศ. 2002 สาธารณรัฐประชาชนจีนมีพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรมากกว่า 480,000 เฮกแตร์ (3 ล้านไร่) โดยปลูกสมุนไพรมากกว่า 12,000 ชนิด และได้ผลผลิตมากกว่า 550,000 ตัน จึงนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความชํานาญ และมีประสบการณ์ในการศึกษาวิจัยสมุนไพรและมีประสบการณ์ด้านพฤกษศาสตร์และเกษตรศาสตร์เป็นอย่างมาก

การพาณิชย์ถือเป็นวิวัฒนาการทางสังคมอย่างหนึ่ง ตราบใดที่คนจําเป็นต้องใช้สินค้าก็ย่อมจะต้องมีการผลิตเพื่อการค้า ในด้านการแพทย์แผนจีน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ ผู้บริโภคต้องการ ได้แก่ เย่าไฉ (สมุนไพร) อินเพียน (ตัวยาพร้อมใช้) และจงเพิ่งเย่า (ยาสมุนไพรสําเร็จรูป) สินค้าเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษา การ ป้องกันและการส่งเสริมบํารุงสุขภาพ เต้าตี้เย่าไฉจึงมีความสําคัญในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีการจัดระดับคุณภาพ

ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาชนจีนมีการพัฒนาด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นผลทําให้ค่าครองชีพสูงขึ้น และปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมากขึ้น จึงทําให้ความต้องการผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรจึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัยและมีมาตรฐานในระดับสากลเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของ ประชาชน ขณะนี้ในท้องตลาดจีนมีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรประมาณ 9,000 ชนิด แยกเป็น

เย่าไฉและอินเพียนประมาณ 1,000 ชนิด และจงเฉิงเย่าประมาณ 7,000 ชนิด ซึ่งมีการจําหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปขายทั่วโลกมากกว่า 130 ประเทศ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง