Select your language TH EN
การแพทย์จีน การใช้สมุนไพรจีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




การใช้สมุนไพรจีน

ค้นหา "รายชื่อสมุนไพรจีน"

การใช้ยาสมุนไพรตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีนประกอบด้วย การจัดยาร่วมหรือยากลุ่ม ข้อห้ามใช้ขนาดยาที่ใช้ วิธีต้มยาและวิธีรับประทาน ดังนี้

การจัดยาร่วมหรือยากลุ่ม

การใช้สมุนไพรจีน thai-herbs.thdata.co | การใช้สมุนไพรจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ในการใช้ยาสมุนไพรตัวยาบางชนิดสามารถใช้เดี่ยวๆ เแต่ตัวยาบางชนิดจำเป็นต้องใช้ร่วมกับตัวอย่างอื่นตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีนการใช้ยาสมุนไพรมี 7 ประเภท คือ ประเภทตัวยาเดี่ยว ประเภทตัวยาเสริมกัน ประเภทเสริมฤทธิ์ฝ่ายเดียว ประเภทถูกข่ม ประเภทลดทอนหรือกำจัดพิษประเภทลดทอนฤทธิ์และประเภทให้ผลตรงข้ามกัน

-ประเภทตัวยาเดียว เป็นการใช้ตัวยาชนิดเดียวที่มีฤทธิ์ชัดเจน และเหมาะสมกับโรคนั้นๆ เช่นโสมคนใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการชีพพร่องมาก ชีพจรอ่อนมาก หัวใจอ่อนแรง มือเท้าเย็น หยางชี่อ่อนแอ และต้นผักเบี้ยใหญ่ใช้รักษาโรคบิด เป็นต้น

-ประเภทเสริมฤทธิ์กัน เป็นการใช้ตัวยาร่วมกันของตัวยาที่มีคุณสมบัติเหมือนกันและมีสรรพคุณใกล้เคียงกัน ทำให้ตัวยามีสรรพคุณดีขึ้น เช่น เกลือจืดเมื่อใช้กับจื่อหมู่จะมีสรรพคุณแก้ไข้ร้อนจัด แก้ไข้ร้อนในและกระหายน้ำได้ผลดี

-ประเภทเสริมฤทธิ์ฝ่ายเดียว เป็นการใช้ตัวยาร่วมกันโดยมีตัวยาชนิดหนึ่งเป็นตัวยาหลัก และตัวยาอีกชนิดหนึ่งทำหน้าที่เสริมสรรพคุณร่วมของตัวยาหลัก เพื่อให้มีฤทธิ์แรงขึ้น เช่น หวงฉี มีสรรพคุณเพิ่มชี่ระบายน้ำเมื่อใช้ร่วมกับโป่งรากสน ซึ่งมีสรรพคุณเสริมม้ามระบายน้ำ ซึ่งโป่งรากสนจะช่วยเสริมฤทธิ์หวงฉีให้เพิ่มการระบาย โป่งรากสนจะช่วยเสริมฤทธิ์ห่วงฉี่ให้เพิ่มการระบายน้ำได้มากขึ้น

-ประเภทถูกข่ม เป็นการใช้ตัวยาร่วมกันโดยตัวยาชนิดหนึ่งมีพิษหรือผลข้างเคียงส่วนตัวยาอีกชนิดหนึ่งสามารถลดพิษหรือผลข้างเคียงของตัวยาชนิดแรกได้ ตัวยาในกลุ่มนี้มี 19 ชนิดดังนี้

*กำมะถัน ถูกข่มด้วย ผ่อเซียว

*ปรอท ถูกข่มด้วย สารหนู

*หลังตู๋ ถูกคงด้วย มี่ถอเจิง

*สลอด ถูกข่มด้วย เชียนหนิว

*กานพลู ถูกข่มด้วย ว่านนางคำ

*โหราเดือยไก่และเฉ่าอู ถูกข่มด้วย นอแรด

*ดินประสิว ถูกข่มด้วย ซานหลิง

*อบเชยจีน ถูกข่มด้วย สือจือ

*โสมคน ถูกข่มด้วย อู่หลิงจือ

-ประเภทลดทอนหรือกำจัดพิษ เป็นการใช้ตัวยาร่วมกันโดยตัวยาชนิดหนึ่งสามารถลดทอนหรือกำจัดพิษหรือผลข้างเคียงของตัวยาอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น เหง้าขิงสด สามารถกำจัดผลข้างเคียงของปั้นเซี่ย จะเห็นได้ว่าเซียงเวย์และเซียงซามีความหมายเหมือนกันคือตัวยาหนึ่งจะไปลดพิษของตัวยาอีกตัวนึง ต่างกันเพียงตัวยาใดเป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ

-ประเภทลดทอนฤทธิ์ เป็นการใช้ตัวยาร่วมกันโดยตัวยาชนิดหนึ่งทำให้สรรพคุณเดิมของตัวยาอีกชนิดหนึ่งลดลงหรือหมดไป เช่น หัวผักกาดลดทอนฤทธิ์ของโสมคน เป็นต้น

-ประเภทให้ผลตรงข้าม เป็นการใช้ตัวยาสองชนิดร่วมกันและทำให้เกิดการลบล้างสรรพคุณของตัวยาตัวยาในกลุ่มนี้มี 18 ชนิด ดังนี้

*ชะเอมเทศจะลบล้างสรรพคุณของต้าจี๋ กันสุ้ย เหยียนฮวา และสาหร่ายทะเล

*อูโถว จะลบล้างสรรพคุณของปั้นเซี่ย กวาโหล เปย์หมู่ ไป๋เลี่ยน และไป๋จี๋

*หลีหลู จะลบล้างสรรพคุณของโสมคน เป่ย์ซาเซิน ตันเซิน เสวี่ยนเซิน ซี่ซิน และไป๋เสา


ข้อห้ามใช้

การใช้สมุนไพรจีน thai-herbs.thdata.co | การใช้สมุนไพรจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ในการใช้ยารักษาโรคนั้นหากใช้ถูกกับโรคจะให้คุณหากใช้ผิดจะให้โทษดังนั้นการใช้ยาบางชนิดจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้เพื่อไม่ให้เกิดโทษต่อร่างกายข้อห้ามใช้มี 4 ประเภทดังนี้

-ข้อห้ามใช้ในกลุ่มอาการบางอย่าง ตัวยาแต่ละกลุ่มหรือตัวยาแต่ละชนิดเหมาะกับโรคแตกต่างกันหมายถึงตัวยาแต่ละกลุ่มหรือตัวยาแต่ละชนิดจะใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้นเช่น หมาหวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อแก้หอบ เหมาะสำหรับโรคไข้หวัดจากการกระทบเย็น ไม่มีเหงื่อ ไอหอบเนื่องจากชี่ปอดไม่กระจาย จึงห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแอ เหงื่อออกมาก ไอหอบ เนื่องจากปอดพร่อง เป็นต้น

-ข้อห้ามตามหลักการจัดยาร่วงหรือยากลุ่ม ตัวอย่างบางชนิดเมื่อเช้าร่วมกันแล้วจะทำให้เกิดพิษหรือเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์หรือทำให้เกิดพิษเพิ่มขึ้นหรือทำให้ ฤทธิ์ของตัวยาหมดไปตัวยาเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้ร่วมกันการแพทย์จีนกล่าวถึงตัวยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกันสองกลุ่ม คือ สือปาฝั่นและสือจิ่วเวย์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

-ข้อห้ามในหญิงมีครรภ์ ตัวยาบางชนิดมีผลต่อทารกในครรภ์ทำให้แท้งลูกได้ จึงห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ ซึ่งยาส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มักมีผิดมาก เช่น สลอด เซียนหนิวเหยียนฮวา ซานหลิง ต้าจี๋ และกันสุ้ย เป็นต้น ตัวอย่างต้องใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวังในหญิงมีครรภ์ เนื่องจากเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์กระจายชี่และเลือด ทำให้เลือดไหลเวียน เช่นเมล็ดท้อ ดอกคำฝอย มีฤทธิ์ขับของเสียตกค้างและขับถ่ายพิษร้อน โกศน้ำเต้า มีฤทธิ์ระบายขับพิษร้อน อบเชยจีน มีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นเสริมอย่างระบบไต เป็นต้น ดังนั้นหากไม่จำเป็นจริงๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวยาดังกล่าวในหญิงมีครรภ์

-ข้อห้ามใช้ช่วงเวลาที่รับประทานยา นิยมเรียกว่า ของแสลง กล่าวคือในช่วงเวลาที่รับประทานยาควรงดดื่มน้ำเย็นของมัน ของคาว อาหารที่ย่อยยากหรือที่มีรสจัด เช่น กรณีผู้ที่มีไข้สูงห้ามรับประทานของมัน เป็นต้น


ขนาดยาที่ใช้ 

การใช้สมุนไพรจีน thai-herbs.thdata.co | การใช้สมุนไพรจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ขนาดยาที่ใช้หมายถึงปริมาณของยาที่ใช้ในผู้ใหญ่ต่อวัน เนื่องจากยาสมุนไพรเป็นผลผลิตจากธรรมชาติดังนั้นปริมาณของตัวยาที่ใช้จึงไม่เข้มงวดเหมือนกับยาแผนปัจจุบัน ยกเว้นตัวยาบางชนิดเท่านั้นที่ต้องใช้ขนาดยาด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย โดยทั่วไปขนาดยาที่ใช้ควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

-คุณลักษณะของยา ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงควรใช้ปริมาณน้อยหรือเริ่มใช้ปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นให้ค่อยๆลดขนาดยาลงจนหยุดใช้ สำหรับตัวยาที่มีฤทธิ์อ่อนมักใช้ในปริมาณมากโดยทั่วไปตัวยาที่มีความหนาแน่นหรือแข็งมาก เช่น แร่ธาตุหรือ เปลือกหอย เป็นต้น จะใช้ในปริมาณมาก ส่วนตัวยาที่มีน้ำหนักเบา เช่น ดอก ใบ หรือ ตัวยาที่มีน้ำมันหอมระเหยจะใช้ในปริมาณน้อย

-การจัดยาร่วมหรือยากลุ่มและรูปแบบของยา โดยทั่วไปตัวยาเดียวจะใช้ในปริมาณมากกว่ายาตำรับและหากใช้เป็นอย่าต้มประมาณที่ใช้จะมากกว่ายาลูกกลอนหรือยาผง และในยาแต่ละตำรับตัวยาหลักจะใช้ได้ประมาณมากกว่าตัวอย่างอื่นๆ

-อาการของโรค รูปร่าง และอายุของผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยหนักผู้ป่วยโรคเฉียบพลันหรือผู้ป่วยที่มีร่างกายอ้วนจะใช้ยาในปริมาณมาก ส่วนผู้สูงอายุมีร่างกายอ่อนแอ หญิงหลังคลอดหรือเด็กจะใช้ในปริมาณน้อยสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปให้ใช้ยาขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดที่ใช้ ในผู้ใหญ่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีให้ใช้ยาขนาด 1 ใน 4 ของขณะที่ใช้ในผู้ใหญ่


วิธีต้มยา

การใช้สมุนไพรจีน thai-herbs.thdata.co | การใช้สมุนไพรจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ยาต้มเป็นรูปแบบยาเตรียมที่นิยมใช้มากที่สุดในการแพทย์แผนจีน และแผนจีนให้ความสำคัญกับวิธีต้มยาเป็นอย่างมากเนื่องจากวิธีต้มยาสมุนไพรมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประสิทธิผลในการรักษาโรคของยาสำหรับในการเตรียมยาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผลในการรักษานั้นควรปฏิบัติดังนี้

-ภาชนะที่ใช้ในการต้ม นิยมใช้ภาชนะจำพวกเครื่องปั้นดินเผาที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยาขององค์ประกอบเคมีในตัวยากับภาชนะที่ใช้ ระหว่างการต้มยาทำให้ประสิทธิภาพหรือความแรงของตัวยาไม่สูญเสียไป ไม่ควรใช้ภาชนะจำพวกเหล็กหรือทองแดง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตกตะกอนอาจทำปฏิกิริยาทางเคมีกับตัวยาซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษได้

-น้ำที่ใช้ต้มยา จะต้องเป็นน้ำสะอาดและบริสุทธิ์ เช่น น้ำประปา น้ำแร่ น้ำกลั่น เป็นต้น

-ระดับไฟที่ใช้ต้มยา ไฟที่ใช้ต้องอย่าแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ไฟอ่อน และไฟแรง โดยทั่วไปการต้มยามักจะใช้ไฟแรงก่อนแล้วใช้ไฟอ่อน บางครั้งอาจใช้ไฟอ่อนหรือไฟแรงเพียงอย่างเดียวในการต้มยา เช่น ใช้ไฟอ่อนอย่างเดียวในการต้มยาประเภทบำรุงหรือ ใช้ไฟแรงอย่างเดียวในการต้มยาประเภทรักษาอาการภายนอก 

-วิธีต้มยา 2 วิธีคือ

1. วิธีทั่วไป เตรียมโดยนำตัวยาใส่ภาชนะที่มีฝาปิดเติมน้ำให้ท่วมตัวยา ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 - 60 นาที เพื่อให้น้ำซึมเข้าตัวยาอย่างเต็มที่ เวลาต้มจะใช้ไฟแรงก่อนเมื่อเดือดจะใช้ไฟอ่อนอ่อนต้มต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาหล่นออกจากภาชนะหรือไม่ให้น้ำยาแห้งงวดเร็วเกินไป ในระหว่างต้มอย่าเปิดฝาบ่อยบ่อยเพื่อป้องกันไม่ให้สารที่ระเหยได้สูญเสียไปในการต้มยาประเภทรักษาอาการภายนอกหรือยาลดไข้ควรใช้ไฟแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สารระเหยไป สำหรับยาบำรุงควรต้มด้วยไฟอ่อนอ่อนเพื่อสกัดสาระสำคัญออกได้อย่างสมบูรณ์ ตัวยาที่มีพิษบางชนิด เช่น โหราเดือยไก่ ควรใช้ไฟอ่อนต้มนานนานเพื่อลดพิษของสมุนไพร เมื่อต้มเสร็จแล้วให้รินน้ำยาเก็บไว้เติมน้ำลงในกากที่เหลือแล้วต้มต่อโดยทั่วไปยาหนึ่งห่อจะต้ม 2  - 3 ครั้งเมื่อต้มเสร็จให้รวมยาที่ต้มได้เข้าด้วยกันแล้วแบ่งรับประทาน ควรรับประทานขณะยายังอุ่นอุ่น ยกเว้นยาที่เมื่อรับประทานตอนอุ่นแล้วทำให้คลื่นไส้อาเจียน ก็ให้รับประทานเมื่อยาเย็นแล้ว

2. วิธีเฉพาะ เป็นวิธีที่ใช้ต้องตัวยาที่มีคุณลักษณะพิเศษบางชนิด ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีเฉพาะและต้องระบุไว้ในสุดตำรับยาด้วยดังนี้

ใส่ก่อน มีตัวยาสามประเภทซึ่งต้องต้มก่อนตัวยาอื่นในตำรับได้แก่

*ตัวยาที่มีพิษให้ต้มก่อนตัวยาอื่น 30 ถึง 45 นาที

*แร่ธาตุและเปลือกหอย เช่น เกลือจืด สือจเหวียหมิง หมู่ลี่เป็นตัวยาที่มีลักษณะแข็งสารออกฤทธิ์อะไรออกมาได้มายากมันจึงต้มให้เดือดประมาณ 15 นาทีก่อนแล้วจึงใส่ตัวยาชนิดอื่นๆได้ตามกลับลงไปต้มพร้อมกัน

*ตัวยาที่มีน้ำหนักเบาและใช้ในปริมาณมากหากต้องพร้อมตัวอย่างอื่นจะทำให้ตัวยาเต็มหม้อจนต้มไม่ได้ จึงให้ต้องตัวยาดังกล่าว 20 นาทีก่อนแล้วเอาเฉพาะน้ำที่ต้มได้ไปใช้ต้มกับตัวยาอื่นในตำรับยา

ใส่หลัง ตัวยาบางชนิดมีน้ำมันหอมระเหยควรใส่หลังจากต้มตัวยาชนิดอื่นๆในตำรับให้เดือนแล้วประมาณ 5 - 10 นาทีแล้วจึงต้มต่อประมาณ 5 นาทีเพื่อป้องกันไม่ให้สารออกฤทธิ์ประเภทน้ำมันหอมระเหยสลายไปตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ เช่น เร่ว และสาระแหน่ เป็นต้นนอกจากนี้ตัวยาบางชนิดที่มีสรรพคุณเป็นยาระบายหรือยาถ่ายก็ควรใส่ทีหลัง เช่น โกฐน้ำเต้าและใบมะขามแขก เป็นต้น

ใส่ห่อ สมุนไพรบางชนิดมีลักษณะเป็นผง หรือมีลักษณะเหนียว หรือเป็นยางหรือมีลักษณะเป็นคนควรใส่ในถุงผ้าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาขุ่น หรือเหนียวติดภาชนะที่ใช้ต้ม หรือทำให้ไม่ระคายคอเช่น ซวนฟู่ฮวา เมล็ดผักกาดน้ำ เป็นต้น

แยกต้ม ตัวยาบางชนิดมีราคาแพง เช่น โสมคน โสมอเมริกัน เป็นต้น ควรแยกต้มต่างหากหรือตุ๋นด้วยหม้อตุ๋น 2 ชั้น นานสองถึง 3 ชั่วโมงเพื่อสกัดตัวยาออกมาให้มากที่สุด อาจแยกรับประทานหรือนำมาผสมกับตัวยาของตัวยาชนิดอื่นที่ตนได้เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียฤทธิ์ของยา

ชงน้ำรับประทาน สมุนไพรบางชนิดไม่ควรนำมาต้มแต่คนบดเป็นผงให้ละเอียดมากๆ แล้วชงน้ำอุ่นดื่มหรือนำไปชงกับน้ำยาของสมุนไพรชนิดอื่นที่เตรียมได้ตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ เช่น อำพัน และซันชี เป็นต้น

ชงละลายตัวยา บางชนิดมีลักษณะเป็นยางหรือมีความเหนียวมากควรนำมาละลายในน้ำร้อนหรือละลายในยาที่เตรียมรับประทาน เช่น เออเจียว

แช่น้ำ ตัวยาบางชนิดมีสารออกฤทธิ์หรือองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยซึ่งสามารถละลายในน้ำร้อนได้ง่ายควรเตรียมยาโดยการนำมาแช่ในน้ำร้อนหรือน้ำยาของตัวยาชนิดอื่นที่ร้อน เช่น อบเชยจีน เป็นต้น


วิธีรับประทานยา

การใช้สมุนไพรจีน thai-herbs.thdata.co | การใช้สมุนไพรจีน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

วิธีรับประทานยารวมถึงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานยาโดยทั่วไปปฏิบัติ ดังนี้

-ยาต้ม ให้รับประทานวันละ 1 ห่อหากอาการรุนแรงสามารถรับประทานวันละ 2 ห่อได้ ยาห่อหนึ่งหนึ่งต้มแบ่งรับประทาน 2 - 3 ครั้ง โดยกำหนดว่าอาการป่วยทั่วไปให้รับประทานยาเช้า เย็น หากอาการป่วยหนักสามารถรับประทานได้ทุก 4 ชั่วโมง 

*ยาประเภทบำรุง ควรรับประทานก่อนอาหาร แต่หากจะให้เหมาะสมไม่ว่าจะรับประทานก่อนหรือหลังรับประทานอาหารให้เว้นระยะเวลาห่างกันพอสมควร 

*ยาประเภทฆ่าพยาธิหรือยาระบาย ให้รับประทานขณะท้องว่าง

*ยารักษาโรคมาลาเรีย ให้รับประทานยาก่อนมาลาเรียกำเริบ

*ยาช่วยให้จิตใจสงบหรือนอนหลับ ให้รับประทานก่อนนอน

*โรคเรื้อรังควรกำหนดเวลารับประทานยาให้แน่นอน ประเทศถ้าชงให้รับประทานต่างน้ำชาเจ็บได้บ่อยบ่อย

*ให้รับประทานยาต้มขณะอุ่นๆ แต่ถ้าป่วยด้วยโรคกลุ่มความร้อนสามารถรับประทานยาในขณะที่ยาเย็นแล้วถ้าป่วยด้วยโรคกลุ่มความเย็นให้ดื่มขณะร้อนร้อนในอาการที่ป่วยด้วยโรคกลุ่มอาการเย็นแท้ร้อนเทียมให้รับประทานยาขณะที่ยาเย็นแล้วถ้าป่วยด้วยโรคกลุ่มอาการร้อนแท้เย็นเทียมให้รับประทานที่ยาวยังร้อนอยู่

*ในผู้ป่วยหมดสติหรือกัดฟันแน่นสามารถใช้ยาทางสายยางผ่านรูจมูกในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนให้ต้มยาให้ค่อนข้างเข้มข้นมีปริมาณน้อยแล้วแบ่งรับประทานหลายครั้ง

-ยาเม็ดลูกกลอนและยาผง ให้ดื่มน้ำตาม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง