Select your language TH EN
ศาสตร์การเผ้าจื้อ พัฒนาการของการเผ้าจื้อ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



พัฒนาการของการเผ้าจื้อ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศาสตร์การเผ้าจื้อเริ่ก่อกำเนิดขึ้นพร้อมกับการค้นพบการใช้ยาสมุนไพรจีนพัฒนาการของการเผ้าจื้อมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้

การค้นพบและการใช้ยาสมุนไพรจีน การค้นพบสมุนไพรจีนเกิดจากการลองผิดลองผิดลองถูก ในขณะมนุษย์ล่าสัตว์มาเป็นอาหาร บางครั้งรับประทานพืชหรือสัตว์ที่มีพิษเป็นอาหาร ทำให้อาเจียน ท้องเสีย หมดสติหรือเสียชีวิต บางครั้งรับประทานแล้วสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ได้ จากการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์มีการบันทึกและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นอาหารสิ่งใดเป็นสมุนไพร ในสมัยโบราณแพทย์สามารถเก็บสมุนไพรจากแหล่งธรรมชาติมาใช้เองได้ โดยเริ่มจากวิธีง่ายๆ เช่น การทำความสะอาด การหั่น การทำแห้ง เป็นต้น วิธีการเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเผ้าจื้อ

การค้นพบไฟและการใช้ประโยชน์ มนุษย์ค้นพบไฟโดยบังเอิญจากการสังเกตไฟที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นไฟป่า ฟ้าผ่า เป็นต้น ทำให้สัตว์ที่หนีไม่ทันถูกไฟคลอกตายและได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของรสชาติอาหารจากการรับประทานทำให้มนุษย์เริ่มคิดนำไฟมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารและใช้ในด้านอื่นๆรวมทั้งการเผ้าจื้อ มีหลักฐานการค้นพบที่สำคัญคือ การประดิษฐ์อักษรคำว่า เผ้าจิ่ว ซึ่งมีความหมายถึงการใช้ไฟสูงหรือเผามาเป็นเวลานาน

การค้นพบเหล้าและการใช้ประโยชน์ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ค้นพบวิธีการทำเหล้าตั้งแต่ยุคหินเก่าและมีความเจริญก้าวหน้าและใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคหินใหม่ โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบ เช่น ไหเหล้า กระดองเต่าที่บันทึกอักษรโบราณซึ่งหมายถึง เหล้า เป็นต้น ต่อมาเหล้าถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อการปรุงยาและการเผ้าจื้อ เหล้าเป็นฝู่เลี่ยวที่สำคัญในการเผ้าจื้อและเป็นตัวทำละลายที่ใช้ในการเตรียมยาดองจากสมุนไพร

การค้นพบวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาและการใช้ประโยชน์ ในยุควัฒนธรรมหยางเสา ราว 5000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คนจีนรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องลายคราม และได้นำไปใช้ประโยชน์เป็นภาชนะสำหรับการแปรรูป การเก็บ การสกัด การหมึกหรือการแช่ยา จนกลายเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการปรุงยา

1. พัฒนาการของการเผ้าจื้อยาสมุนไพรจีน

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องพบว่าพัฒนาของการเผ้าจื้อยาสมุนไพรจีนแบ่งตามยุคต่างๆในประวัติศาสตร์จีนได้เป็น 4 ยุคดังนี้

1. ยุคชุนชิว ยุคจั๋นกั๋ว ถึงยุคราชวงศ์ซ่ง เป็นยุคเริ่มต้นของการเผ้าจื้อและเทคนิคการเผ้าจื้อ

2. ยุคราชวงศ์จิน ราชวงศ์เหวียน และราชวงศ์หมิง เป็นยุคกำเนิทฤษฎีการเผ้าจื้อ

3. ยุคราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่การเผ้าจื้อมีเทคนิคและรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุด

4. ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่มีความตื่นตัวในการพัฒนาการเผ้าจื้อ

การเผ้าจื้อแต่ละยุคมีดังนี้

1.1 ยุคชุนชิว ยุคจั๋นกั๋ว ถึงยุคราชวงค์ซ่ง ประมาณ 722ปีก่อนคริสตศักราชถึง ค. ศ. 1279 

ก่อนยุคชุนชิว ตำราส่วนใหญ่ได้บันทึกวิธีการเผ้าจื้ออย่างง่าย ตำราการแพทย์แผนจีนเล่มแรกที่มีบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับการเผ้าจื้อ คือ ตำรายา 52 ตำรับ ได้กล่าวถึงการทำความสะอาด การหั่น การใช้น้ำและไฟในการแปรรูปสมุนไพร ในยุคจั๋นกั๋วถึงราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น คัมภีร์เน่ย์จิงในภาคหลิงซู ได้บันทึกวิธีการฆ่าฤทธิ์ปั้นเซี่ย อาจกล่าวได้ว่าในยุคราชวงศ์ฮั่นและเริ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์และหลักของการเผ้าจื้อและได้ค้นพบวิธีการเผ้าจื้อที่หลากหลายรวมถึงทราบว่าตัวยาใดที่ต้องการเผ้าจื้อ

ตำราเปิ๋นเฉ่ากังมู่ เป็นตำรายาสมุนไพรจีนเล่มแรกซึ่งได้บันทึกวิธีการฆ่าฤทธิ์ยาที่มีพิษและอธิบายเหตุผลว่าการเผ้าจื้อทำให้คุณสมบัติของตัวยาเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น การเผ้าจื้อชาดจะทำให้ได้สารปรอท เป็นต้น

ตำราจินคุ่ยยวี่หันจิง ของจางจ้งจิ่ง ได้เริ่มบุกเบิกทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีการใช้ที่แตกต่างกันของเหย้าไฉและอิ่นเพี่ยน และได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดที่ใช้และประสิทธิภาพของตัวยา

ตำราซางหานลุ่น ของจางจ้งจิ่ง ได้กล่าวถึงการจัดยาร่วม รูปแบบของยา วิธีต้มยา วิธีรับประทานยา โดยเฉพาะการใช้ระดับไฟแรงและไฟอ่อนต่างกัน เช่น การเผา การหลอม การเคี่ยว เป็นต้น

ตำราโต่วโฮ่วเป้ย์จี๋ฟาง ของเก๋อหง กล่าวถึงวิธีการแก้พิษยา เช่น ใช้น้ำขิงแก้พิษปั่นเซี่ย ใช้น้ำถั่วเหลืองแก้พิษโหราเดือยไก่ รวมถึงวิธีการกลั่นแห้ง

ในยุคราชวงศ์ใต้กับเหนือมีการพัฒนาการปรุงยาโดยมีตำราเหล่ย์กงเผ้าจิ่วลุ่น ซึ่งนับเป็นตำราสำคัญของการเผ้าจื้อที่ได้รวบรวมเทคนิคและประสบการณ์การปรุงยาของยุคก่อนแบ่งเป็น 3 ภาค กล่าวถึงวิธีการเผ้าจื้อต่างๆเช่น การทำความสะอาดโดยการขัดผิวหรือเปลือก การไส การแปรง การขูด การฝน การหั่น เช่นหันเป็นแผ่นหรือผ่าซีก เป็นต้น การทำให้แห้งเช่นเช็ดให้แห้ง ผึ่งในที่ร่ม ตากแดด อบแห้ง ผัดให้แห้ง ระเหยให้แห้ง การใช้ไฟและน้ำร่วมกันในการเผ้าจื้อ เช่น การแช่ การต้ม การนึ่ง การผัด การเคี่ยว การสะตุ การคั่ว เป็นต้น การใช้ฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ เช่น แช่เหล้า ผัดกับน้ำผึ้ง ผัดกับข้าวเหนียว ผัดให้กรอบ ต้มกับน้ำมันงา แช่น้ำซาวข้าว เป็นต้น ซึ่งตำราดังกล่าวมีอิทธิพลมากในยุคก่อน ปัจจุบันเนื้อหาเหล่านี้สามารถอธิบายเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น การนำโกฐน้ำเต้ามานึ่งก่อนใช้จะช่วยลดฤทธิ์ระบายท้องได้ เมื่อเผ้าจื้อหวูจูยหวีด้วยน้ำส้ม สารกลุ่มแอลคาลอยด์จะเปลี่ยนเป็นเกลืออะซิเตตซึ่งละลายน้ำได้ดี ตัวยาที่มีน้ำมันหอมระเหยห้ามเผ้าจื้อโดยใช้อุณหภูมิสูง หรือตัวยาบางชนิดห้ามใช้ภาชนะที่เป็นเหล็กในการเผ้าจื้อ เช่น จือหมู่ เหมยสือจือ เป็นต้น วิธีการเผ้าจื้อต่างๆเหล่านี้ยังมีการใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

ในสมัยราชวงศ์ถังมีการบันทึกเนื้อหาการเผ้าจื้อที่สมบูรณ์มาก ได้กล่าวถึงวิธีการใหม่ๆในการเผ้าจื้อ นับเป็นยุคที่การเผ้าจื้อมีพัฒนาการสูงมาก เช่น ตำราเป้ย์จี๋เซียนจินเอี้ยวฟาง ของซุนซือเหมียว นักประวัติศาสตร์การแพทย์เรียกตำรานี้ว่าสารานุกรมเวชปฏิบัติเล่มแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวถึงตัวยาชะเอมเทศ โฮ่วผอ จือสือ สือหนัน อินยหวี หลีหลู ว่าต้องผัดโดยใช้ฝู่เลี่ยวก่อนใช้ ส่วนตัวยาไม่ตง หรือขิงสดต้องตำและคั้นเอาน้ำใช้ ในตำราสือเหลียวเปิ๋นเฉ่ากล่าวถึงการใช้อุจจาระเด็กมาเข้ายา ตำราไว่ไถปี้เอี้ยว เขียนโดยหวางถาวกล่าวถึงการนำรำข้าวข้าวสาลีมาเป็นฝู่เลี่ยวในการผัดยา ตำราเซียนโซ่วหลี่ซางซู่มี่ฟางเขียนโดยนักพรตลิ่นเต้าเหรินกล่าวถึงการใช้น้ำขิงฆ่าฤทธิ์ตัวยาบางชนิด เช่น เทียนหนานซิง โหราเดือยไก่ เป็นต้น โดยเฉพาะตำราซินซิวเปิ๋นเฉ่าซึ่งเป็นตำราหลวงเกี่ยวกับตัวยาสมุนไพรฉบับแรกของโลกต่อมาคณะแพทย์ได้ชำระตำราสมุนไพรดังกล่าวให้เป็นเภสัชตำรา(Pharmacopeia) ของประเทศ และได้กล่าวถึงการนำเหล้าหรือน้ำส้มซึ่งทำมาจากข้าวมาทำเป็นยาครั้งแรกรวมทั้งมีการบันทึกรายละเอียดวิธีการเผ้าจื้อตัวยาแต่ละชนิดมากขึ้น 

นอกจากตำราไท่ผิงหุ้ยหมินเหอจี้จหวีฟัง ได้บันทึกเทคนิคเฉพาะในการเผ้าจื้อสมุนไพรจำนวน 185 ชนิดและได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของรถยาและสรรพคุณของยาที่ผ่านการเผ้าจื้อแล้ว เช่น ผู่หวง หากใช้ดิบจะมีสรรพคุณช่วยให้เลือดไหลเวียนบรรเทาอาการบวม หากนำมาผ่านจะมีสรรพคุณบำรุงเลือดหรือห้ามเลือดต่อมาหนังสือเล่มนี้ถูกใช้เป็นต้นแบบของการกำหนดมาตรฐานวิธีการเผ้าจื้อที่สำคัญเล่มหนึ่ง

โดยสรุป ในยุคชุนชิว ยุคจั๋นกั๋ว ถึงยุคราชวงค์ซ่ง นับเป็นระยะเริ่มก่อเกิดหลักการ วิธีการและตัวยาที่เหมาะสมในการเผ้าจื้อ 

1.2 ยุคราชวงศ์จิน ราชวงศ์เหวียน ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1280 ถึง ค.ศ. 1644)

ในยุคราชวงศ์จินและราชวงศ์เหวียน มีแพทย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน จางหวียนซู่ หลี่เกา หรือ หลี่ตงยเหวียน หวางห่าวกู่ จูตัน เป็นต้น ท่านเหล่านี้ล้วนให้ความสำคัญกับวิธีการใช้สมุนไพรที่ต่างกันระหว่างก่อยนและหลังการเผ้าจื้อ ฤทธิ์ของสมุนไพรที่ใช่ฝู่เลี่ยวในการเผ้าจื้อ และได้เริ่มจัดทำข้อสรุปสรรพคุณของสมุนไพรที่เผ้าจื้อโดยวิธีต่างๆ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงได้จัดความรู้ด้านการเผ้าจื้อให้เป็นระบบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และพัฒนาเป็ฯทฤทษฎีการเผ้าจื้อสืบทอดต่อกันมา

ในราชวงศ์เหวียน มีตำราสมุนไพรเล่มสอง คือ ตำราเปิ๋นเฉ่าจิงจี๋จู้ เขียนโดยถาวหงจิ่ง ได้รวบรวมวิธีการเผ้าจื้อพร้อมอธิบายเหตุผลของวิธีต่างๆอย่างสมบูรณ์และตำราทังเยี่ยเปิ๋นเฉ่า เขียนโดยหวางห่าวกู่ ได้อ้างถึงตำราย่งเหย้าซินฝ่า ของหลี่ตงยเหวียน ว่า หากใช้หวงเฉิน หวงเหลียน จือหมู่ รักษาอาการเจ็บป่วยบริเวณศีรษะ ใบหน้า และผอวหนัง ต้องนำตัวยามาผัดเหล้าก่อน หากอาการเจ็บป่วยอยู่ระหว่างลำคอและสะดือ ต้องนำตัวยามาล้างด้วยเหล้าก่อนใช้ สำหรับโหราเดือยไก่ต้องนำมาฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้ จางเหวียนซู่ได้แต่งตำราเจินจูหนังกล่าวถึงการใช้ไป๋เสาว่า หากใช้แก้ปวดท้องต้องนำตัวยามาแช่เหล้าก่อนใช้ ส่่วนโกฐกระดูกหากใช้ในสรรคุณช่วยให้ชี่ของตับไหลเวียน ต้องนำตัวยามาหมกด้วยเถ้าไฟ เก๋อเข่อจิ่ว เขียนตำราสือเหย้าเสินซูอธิบายถึงเหตุผลของการนำตัวยาที่เผาให้เป็นถ่านมาใช้ห้ามเลือดเป็นครั้งแรก

ในราชวงศ์หมิงได้ให้ความสำคัญกับการแพทย์และสมุนไพรจีนมาก เทคนิคการเผ้าจื้อ สมุนไพรจีนเจรฺยก้าวหน้ามาก ตำราเปิ๋นเฉ่ากังมู่ เขียนโดยหลี่สือเจิน จัดเป็นสารนุกรมจีนโบราณ มี 52 เล่มกล่าวถึงสมุนไพร 1892 ชนิดในจำนวนนี้มีรายละเอียดการแปรรูปสมุนไพรจำนวน 330 ชนิดและบันทึกประสบการณ์ของตนเองในการเผ้าจื้อ ชนิดและบันทึกประสบการณ์ของตนเองในการตัวยาจำนวนมาก เช่น มู่เซียง เกาเหลียงเจียง เฟิงเซียงจือ เป็นต้น รวมทั้งได้แก้ไขข้อผิดพลาดของคนรุ่นก่อนด้วย

ในสมัยนี้มีแพทย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือ เมียวซียง ได้บันทึกวอธีการเผ้าจื้อแบบเหล่ย์กงไว้ในตำราเผ้าจื้อต้าฝ่า ซึ่งเป็นผลงานสืบเนื่องจากตำราเหล่ย์กงเผ้าจิ่นลุน เี่ยวเซียงได้รวบรวมวิธีการเผ้าจื้อสมุนไพรจำนวน 439 ชนิด  ชนิดโดย ชนิดโดยมีรายละเอียดของแหล่งปลูก ชนิดโดยมีรายละเอียดของแหล่งปลูกสมุนไพร ชนิดโดยมีรายละเอียดของแหล่งปลูกสมุนไพรแต่ละชนิดระยะ ชนิดโดยมีรายละเอียดของแหล่งปลูกสมุนไพรแต่ละชนิดระยะเวลาเก็บเกี่ยว การจำแนกระดับคุณภาพของตัวยา ฝู่เลี่ยวที่ใช้ในการเผ้าจื้อ ขั้นตอนการเผ้าจื้อ รวมทั้งการเก็บรักษาตัวยา

โดยสรุปพัฒนาการด้านการเผ้าจื้อในยุคราชวงศ์เหวียนและราชวงศ์หมิง ได้อาศัยความรู้ของคนรุ่นก่อนเป็นพื้นฐ่น รวบรวมข้อมมูลนำมาศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสรุปเป็ฯทฤษฎี ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีการเผ้าจื้อ

1.3 ยุคราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1ุ645 ถึง ค.ศ. 1911)

ยุคนี้เป็นยุคที่การเผ้าจื้อมีเทคนิคและรูปแบบที่หลาหลายและเจริญมากที่สุด หลิวรั่วจินเขียนตำราเปิ๋ยเฉ่าสู้ ได้รวบนวมวิธีการเผ้าจื้อสมุนไพรจำนวน 300 กว่าชนิด โดยบบรยายถุงขั้นตอนการเผ้าจืื้อ ฤทธิ์ของยา วัตถุประสงค์ คำอธิบายหลักการและเหตุผลของวิธีการเผ้าจื้อ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาสาระมาก ต่อมาหยางสือไท่ ได้นำตำราดังกล่าวมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นตำราเปิ๋นซูโกวเหวียน เช่น การใช้หวงฉี ถ้าต้องการสรรพคุณรักษาแผลมีหนองให้ใช้ดิบ หากใช้สรรพคุณรักษาชี่ของปอดให้นำไปผัดน้ำผึ้ง หากต้องการขับสิ่งคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ให้นำไปผัดกับเกลือหรือนึ่ง เป็นต้น

จ้างจ้งเอี๋ยน เขียนตำราเฉพาะเกี่ยวกับการเผ้าจื้อ ตพราซิวซื่อจือหนัน ซึ่งรวบรวมวิธีการเผ้าจื้อสมุนไพรจำนวน 232 ชนิด ส่วนใหญ่มาจากตำราเจิ้งเล่ย์เปิ๋นเฉ่าและตำรายาเปิ๋นเฉ่ากังมู่ต่อมาจางซื่อได้นำมาสรุป จัดให้เป็นระเบียบและวิเคราะห์อย่างละเอียดทุกแง่มุม หนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์มากในด้านทฤษฎี จางซื่อเชื่อว่าการเผ้่าจื้อมีความสำคัญอย่างมากในศาสตร์การแพทย์จีน หากใช้วิธีการเผ้าจื้อไม่ชดเจนฤทธิ์ของยาจะแน่นอน ทำให้ผลการรักษาไม่ดี

จ้าวเสวียหมิ่น เขียนตำราเปิ๋นเฉ่ากังมู่สืออี้ และถังหรงชวน เขียนตำราเซวีายนเจิ้งลุ่น นอกจากได้บันทึกวิธีการเผ้าจื้อมากมายแล้ว ยังได้บันทึกการใช้ตัวยาถ่าน(หมกด้วยไฟจนเป็นถ่าน) จำนวนหลายชนิดมารักษาโรค เช่น บิด ห้ามเลือด เป็นต้น

1.4 ยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1911 เป็นต้นมา

พื้นฐานและประสบการณ์การเผ้าจื้อในปัจจุบันอาศัยหลักการและวิธีการในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง เนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันประสบการณ์ต่างกันหลักการและวิธีการเผ้าจื้อในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันไม่เป็นเอกภาพเดียวกัน หลังจากสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้สังคายนาวิธีการเผ้าจื้อทั่วประเทศและได้จัดทำข้อกำหนดการเผ้าจื้อในแต่ละมณฑลขณะเดียวกันเภสัชตำรับ (Pharmacopoeia) ของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้บรรจุเนื้อหาของการเผ้าจื้อและได้กำหนดหลักทั่วไปในการปฏิบัติ ตำราการเผ้าจื้อจึงมีหลายเล่ม เช่น ตำราจงเหย้าเผ้าจื้อทงเจ๋อ ตำราจงเหย้าเผ้าจื้แจิงเอี๋ยนจี๋เฉิง ตำราลี่ไต้จงเหย้าเผ้าจื้อฝ่าหุ้ยเตี่ยน เป็นต้น  

ปัจจุบันวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีหลักศูตรการเรียนการสอนวิชาเผ้าจื้อสร้อยฟ้าแผกเป็นศาสตร์เฉพาะทาง โดยให้แต่ละพื้นที่เขียนตำราเรียน ทดลองใช้ แลแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการเรียนการสอน ในปี ค.ศ. 1979 ไ้ตีพิมพ์ตำรายากลางเล่มแรก คือ จงเหย้าเผ้าจื้อเสวีย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทั่วประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1985 จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 และในปี ค.ศ. 1996 จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 และจะจัดพิมพ์ต่อไปเรื่อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิชาเผ้าจื้อนี้ได้รับการสืบทอดต่อไป




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง