Select your language TH EN
การแพทย์จีน วิธีการรักษาโรคของแพทย์แผนจีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




วิธีการรักษาโรคของแพทย์แผนจีน

วิธีการรักษาโรคของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีล้วนมีจุดเด่นในตัวเอง จากประสบการณ์อันยาวนานของแพทย์แผนจีนทำให้การรักษาโรคค่อยๆเป็นระบบมากขึ้น โดยทั่วไปวิธีการรักษาโรคของการแพทย์แผนจีนแบ่งเป็น 8 วิธีดังนี้

1. วิธีขับเหงื่อ 

วิธีขับเหงื่อ คือ การรักษาโรคด้วยยาที่ไปขจัดสาเหตุของโรคที่ส่วนนอกของร่างกายให้ออกไปจากร่างกายทางเหงื่อ ส่วนมากใช้รักษากลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดจากสาเหตุภายนอกของร่างกายแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1.1 วิธีขับเหงื่อด้วยยาที่มีรสเผ็ดและมีคุณสมบัติเป็นยาร้อน ใช้รักษากลุ่มอาการโรคภายนอกของร่างกายที่เกิดจากลมและความเย็นซึ่งมีอาการกลัวหนาว มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตัว

1.2 วิธีการขับเหงื่อหรือยาที่มีรสเผ็ดและมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น ใช้รักษากลุ่มอาการหรือโรคที่มีสาเหตุจากภายนอกของร่างกายที่เกิดจากลมและความร้อน ซึ่งมีอาการไข้สูง เจ็บคอและกระหายน้ำ การเสียเลือดมากจะทำให้สูญเสียยินและชี่ไปด้วย การรักษาโรควิธีขับนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยที่มียินพร่อง ชี่พร่อง หรือเลือดพร่อง ดังนั้นห้ามใช้วิธีขับเหงื่อในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการภายในของร่างกายที่มีโรคหัวใจล้มเหลว และในผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอมาก 

อนึ่ง การใช้ยารสเผ็ดร้อนต้องไม่ให้มากเกินไปและต้องปรับชนิดและขนาดของยาขับเหงื่อให้เหมาะสมกับลักษณะดินฟ้าอากาศในเขตร้อนด้วย

2. วิธีทำให้อาเจียน 

วิธีทำให้อาเจียน  คือ การรักษาโรคด้วยการขับเสมหะน้ำลายที่ข้างอุดตันอยู่ในลำคอ หรือทรวงอกออกจากทางร่างกายทางปาก ใช้รักษาผู้ที่อาหารไม่ย่อยหรือรับประทานสารพิษเข้าไป

วิธีการรักษาโดยทำให้อาเจียนเป็นการรักษาโรคฉุกเฉินจึงควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้นเพราะการอาเจียนทำให้สูญเสียยินและชี่

การอาเจียนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉียบพลันของความดันในทรวงอกและช่องท้อง จึงห้ามใช้วิธีกระตุ้นให้อาเจียนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดโป่งพอง โรคกระเพาะอาหาร เป็นแผลวัณโรคปอดที่มีเลือดออกง่าย หญิงมีครรภ์ นอกจากนี้ควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังหากต้องใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้มีร่างกายอ่อนแอมาก

3. วิธีระบาย

วิธีระบาย คือ การขับสิ่งที่ค้างค้างอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้แก่อาหารที่ไม่ย่อยอุจจาระที่แข็งความเย็นคั่ง หรือเสมหะและของเหลวคั่ง โดยการขับออกจากทางร่างกายทางทวารหนักมี 4 วิธีคือ 

3.1 วิธีระบายด้วยยาที่มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น เป็นการระบายหรือยารสขมเย็น หรือเค็มเย็นเป็นหลัก ร่วมกับยาที่ช่วยไหลเวียนลมปราณ ส่วนมากใช้รักสากลุ่มอาการภายในของร่างกายที่เกิดจากความร้อนในระบบลมปราณ กลุ่มอาการความร้อนชื้น หรือความร้อนคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้กลุ่มอาการไฟที่เพิ่มสูงที่มีอาการเลือดออกง่ายอาหารเป็นพิษและการรับประทานสารพิษ

3.2 วิธีระบายด้วยยาที่มีคุณสมบัติเป็นยาอุ่น เป็นการระบายด้วยยารสเผ็ดและอย่าอุ่นเป็นหลักร่วมกับยาระบายอื่นๆ ยาจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพิ่มการบิดตัวของทางเดินอาหารและเพิ่มการย่อยอาหารใช้รักษากลุ่มอาการหยาง ของม้ามและกระเพาะอาหารพร่องรักษาความเย็นสะสมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งมีอาการท้องอืด ปวดบิดในท้อง ท้องผูกและมื้อเย็น

3.3 วิธีระบายด้วยยาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำไส้เป็นหลัก จะใช้ร่วมกับยาช่วยให้ลมปราณไหลเวียนทำให้อุจจาระนุ่มขับถ่ายออกได้ง่ายใช้รักษาอาการท้องผูกในผู้ป่วยที่ท้องผูกเป็นประจำ หรือท้องผูกในระยะฟื้นไข้หลังคลอด ผู้สูงอายุผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก

3.4 วิธีระบายด้วยยาขับน้ำออกจากลำไส้อย่างรุนแรงเป็นการขับน้ำที่คั่งภายในร่างกาย เช่น น้ำในปอดท้องมาน ยาจะทำให้ถ่ายท้องอย่างรุนแรงจึงควรใช้ในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงเท่านั้น

วิธีระบายส่วนมากใช้รักษากลุ่มอาการภายในของร่างกายหรือความผิดปกติของทางเดินอาหาร ถ้ามีกลุ่มอาการโรคภายนอกร่วมด้วย หรือเป็นกลุ่มอาการกึ่งภายนอกกึ่งภายใน ก็ควรรักษาไปพร้อมกัน มิฉะนั้นโรคจะลุกลามจากภายนอกเข้าสู่ภายในแล้วทำลายลมปราณ ทำให้โรคเป็นมากขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีกำจัดสาเหตุของโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและรวดเร็วมีผลข้างเคียง คือ ยินพร่อง จึงควรนำมาใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นและควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มียินพร่อง ชี่พร่อง หญิงมีครรภ์ และหญิงมีระดู

4. วิธีประสาน

วิธีประสาน คือ วิธีการรักษาโรคด้วยการปรับความผิดปกติให้พอดี ทำให้ยิน-หยาง กลับมาอยู่ในสมดุลช่วยเสริมลมปราณต้านทานโรคและขจัดลมปราณก่อโรคทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติใช้รักษาความปกติของเลือดและลมปราณของอวัยวะภายในกลุ่มอาการกึ่งภายนอกกึ่งภายใน กลุ่มอาการร้อนปนเย็น ในทางคลินิกวิธีปรับสมดุลใช้บรรเทากลุ่มโรคซ่าวหยาง ปรับสมดุลตับและมั้ม (ระบายตับบำรุงม้าม) ปรับสมดุลตับกับกระเพาะอาหาร (สงบตับปรับกระเพาะอาหาร) ปรับสมดุลกระเพาะอาหารกับลำไส้

5. วิธีให้ความอบอุ่น

วิธีให้ความอบอุ่นคือการรักษาโรคด้วยการให้ความอบอุ่น ขับได้ความเย็นในอวัยวะภายในและเส้นลมปราณ แบ่งเป็น 3 วิธีคือ

5.1 วิธีให้ความอบอุ่นจงเจียวเพื่อขับไล่ความเย็น เป็นการให้ความอบอุ่นเพื่อกระตุ้นการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารให้สร้างความร้อนขับไล่ความเย็น ใช้รักษากลุ่มอาการภายในที่เกิดจากความเย็น เพราะหยางของม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง การทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารลดลง

5.2 วิธีให้ความอบอุ่นเสริมหยาง ใช้รักษาอาการหยางชี่ของหัวใจและไตพร่อง

5.3 วิธีให้ความอบอุ่นเส้นลมปราณขับไล่ความเย็น ส่วนหน้าเชิญรักษาการไหลเวียนเลือดและลมปราณติดขัดเนื่องจากความเย็นในเส้นลมปราณทำให้มีอาการปวดข้อเคลื่อนไหวไม่สะดวกซึ่งความอุ่นจะช่วยขับไล่ความเย็นทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนสะดวกขึ้นจึงช่วยบรรเทาอาการปวดห้ามใช้วิธีให้ความอบอุ่นรักษากลุ่มอาการของโรคร้อนจัด ร้อนแท้เย็นเทียม กลุ่มอาการร้อนที่มีอาการเลือดออกง่ายและต้องใช้ยาที่มีคุณสมบัติร้อนรุนแรงด้วยความระมัดระวังในหญิงมีครรภ์

6. วิธีลดความร้อน

วิธีลดความร้อน คือ การรักษากลุ่มอาการภายในของร่างกายสาเหตุจากความร้อนและไฟด้วยระบายความร้อนและดับไฟยาที่ใช้ระบายความร้อนมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียลดการอักเสบและลดไข้ใช้รักษากลุ่มอาการภายในของร่างกายจากความร้อนดังนี้

- ระยะที่ความร้อนเข้าสู่ลมปราณ

- ระยะที่ความร้อนเข้าสู่ระบบอิ๋งและระบบเลือด

- กลุ่มอาการไฟและพิษไฟในอวัยวะภายในซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย

- กลุ่มอาการร้อนพร่อง

ห้ามใช้วิธีลดความร้อนรักษาอาการเย็น กลุ่มอาการเย็นพร่อง กลุ่มอาการเย็นแท้ร้อนเทียม ยาลดความร้อนส่วนมากมีคุณสมบัติหนาวเย็น ถ้ารับประทานนานเกินไปจะกดการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารทำให้มีอาการเบื่อหาร

ถ้าเป็นกลุ่มอาการร้อนชื้นควรใช้ยาลดความร้อนควบคู่กับยาระบายความชื้น ถ้าความร้อนจะจะไปทำลายยิน ควรใช้ยาเสริมยินร่วมด้วย ถ้าเป็นอาการร้อนและท้องผูกควรให้ยาระบายอุจจาระด้วย

7. วิธีบำรุง

วิธีบำรุง คือการรักษาโรคด้วยการหล่อเลี้ยง เสริมบำรุงชี่และเลือด และยิน-หยาง ของร่างกายใช้รักสากลุ่มอาการพร่องอ่อนแอของอวัยวะภายในชีและเลือด ยิน-หยาง แบ่งเป็น 4 วิธีคือ

7.1 การบำรุงชี่ โดยทั่วไปหมายถึง บำรุงชี่ของม้ามและปอด ใช้รักษากลุ่มอาการชี่พร่องบางครั้งก็ใช้รักษากลุ่มอาการเลือดพร่องโดยใช้ควบคู่กับยาบำรุงเลือด

7.2 การบำรุงเลือด  ถ้ารักษากลุ่มอาการเลือดพร่อง

7.3 บำรุงหยาง มักใช้รักสากลุ่มอาการหยางไตพร่องหรือหยางของม้ามพร่อง

7.4 การบำรุงยิน คือ บำรุงสารจำเป็นเลือด และของเหลวในร่างกาย

การใช้ยาเสริมบำรุงต้องคำนึงถึงการทำหน้าที่ย่อยอาหารของม้ามและกระเพาะอาหาร ถ้าม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอจะต้องใช้ยากระตุ้นการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารก่อน หรือใช้ยาเสริมบำรุงควบคู่กับยากระตุ้นการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร

วิธีเสริมบำรุงจะใช้ต่อเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่องชัดเจน ถ้าการลมปราณต้านทานโรคพร่องไม่มากแต่สาเหตุที่ก่อรูปยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ใช้วิธีขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคก่อน หรือใช้วิธีเสริมลมปราณต้านทานโรคควบคู่กับการขจัดสาเหตุก่อโรค

การเสริมร่างกายให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคไม่สามารถอาศัยยาเสริมบำรุงผิวอย่างเดียว ต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าออกกำลังกายสม่ำเสมอปรับสมดุลจิตใจและอารมณ์ เป็นต้น

8. วิธีทำให้สลาย

วิธีทำให้สลายคือการสลายการคั่ง หรือการสะสมของชี่และเลือด เสมหะ น้ำ หรือก้อนโดยการปรับการไหลเวียนของชี่การระบายการคั่งของเลือด ขับความชื้นทางปัสสาวะ เร่งการย่อยอาหารขับเสมหะสมานแผล ฝีแบ่งเป็น 6 วิธีคือ

8.1 การปรับการไหลเวียนของชี่ให้เป็นปกติ ได้แก่ 

- การกระตุ้นการไหลเวียนของชี่ให้รักษาชี่ติดขัดในตับม้ามและกระเพาะอาหาร

- การปรับให้ลมปราณไหลเวียนลงล่างตามปกติใช้รักษากลุ่มอาการชี่ลอย สวนขึ้นข้างบนในปอดกระเพาะอาหารและตับรักษาอาการหอบหืดอาเจียนสะอึกหรือกระวนกระวาย

8.2 การเพิ่มการไหลเวียนเลือด เป็นการระบายเลือดคั่ง คลายกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ รักษาความผิดปกติของระดู การอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ กระดูกหัก ฟกช้ำ ตับม้ามโต

แต่

8.3 การขับความชื้นออกทางปัสสาวะด้วยยาขับปัสสาวะ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มียินพร่องแนวทางในการขับปัสสาวะทางคลินิกมี 4 วิธีคือ

- การขับปัสสาวะให้ไหลคล่อง ส่วนมากใช้รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะที่มีอาการปวดแน่นท้องน้อย ขับปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม

- การขับปัสสาวะลดอาการบวมน้ำ เป็นการขับน้ำที่คั่งในร่างกาย จากโรคหัวใจล้มเหลว ไตวาย ตับแข็ง ภาวะทุพโภชนาการ

- ขับปัสสาวะร่วมกับการระบายความร้อน ใช้รักษากลุ่มอาการร้อนชื้น

- การให้ความอบอุ่นและขับปัสสาวะ ใช้รักษากลุ่มอาการเย็นชื้นที่เกิดจากหยางม้ามหรือหยางไตพร่อง

8.4 การขับเสมหะที่คั่งอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนมากใช้รักษาโรคทางเดินหายใจและยังใช้รักษาโรคทางเดิน อาหาร ระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท

8.5 การเร่งการย่อยอาหารที่คั่งค้าง ด้วยยาที่ช่วยกระตุ้นการทำหน้าที่ย่อยอาหารของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช่รักษากลุ่มอาการอาหารไม่ย่อยที่มีอาการอาเจียน เรอ ท้องเดิน

8.6 การสลายหรือสมานแผล ฝี ที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน มีหลายวิธีขึ้นกับลักษณะของแผล ฝี ปฏิกิริยาของร่างกาย และการวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง