Select your language TH EN
สรรพคุณเภสัช ยารสประธาน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



สรรพคุณเภสัช

            สรรพคุณเภสัช คือ การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหลักสรรพคุณเภสัชนี้เป็นหมวดที่สำคัญยิ่ง ท่านต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะตัวยาแต่ละอย่าง ถ้าไม่รู้สรรพคุณแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ อะไรเลย ท่านอาจคิดว่าตัวยานั้นมีอยู่มีอยู่มากมายจะจำได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาของทุกท่าน  มักจะคิดว่าตัวยามีสรรพคุณแก้อะไร ยากที่จะจำให้ได้ จึงขอแนะสิ่งที่ท่านต้องจดจำให้ได้ก่อนคือ “รสยา” ซึ่งรสของตัวยานี้จะแสดงถึงสรรพคุณของตัวนาใช้รักษาโรคการรู้จักว่ายานั้นมีสรรพคุณรักษาโรคอย่างไรสรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้น  เพราะรสแต่ละรสจะมีสรรพคุณใยการรักษาโรคต่างกัน  ซึ่งเภสัชกรต้องศึกษาให้รู้จักรของยาให้ถ่องแท้ แล้วรสยานั้นเองจะแสดงสรรพคุณทันที การจำแนกรสยาสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑. ยารสประธาน แบ่งออกเป็น ๓ รส

๒. รสของตัวยา แบ่งออกเป็นยา ๔ รส , ยา ๖ รส , ยา ๘ รส และยา ๙ รส

 

ยารสประธาน

            ยารสประธาน หมายถึง รสของยาที่ปรุงหรือผสมเป็นตำรับแล้ว  สิงที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นยานั้นประกอบด้วยวัตถุธาตุ ๓ ประเภท คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ เมื่อนำมาประกอปรุงเป็นยาสำเร็จรูปแล้วจนเหลือรสของตัวยาสำเร็จรูปอยู่เพียง ๓ รสเท่านั้น คือ

๑. ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสเย็น ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ มาปรุงยารสเย็น เช่น ยามหานิล ยามหากาฬ ขาเขียว เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ)  แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูร้อน

๒. ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสร้อน ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่รสร้อน เช่น เบญจกูล ตรีกฏุก เหง้าขิง กะเพรา มาปรุงเป็นยารสร้อน เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ ยาสัณฑะฆาต ยาประสากานพลู ยาประจุวาโย เป็นต้น  ซึงมีสรรพคุณแก้ในกองวาโยธาตุ (ธาตุลม) แก้ลมกองหยาบ ลมจุกเสียดแน่น ลมพรรดึก บำรุงธาตุ ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูฝน

๓. ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสสุขุม ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน  เช่น โกฐเทียน กฤษณา กระลำพัก จันทร์เทศ เครื่องเทศที่ไม่ร้อน มาปรุงเป็นยารสสุขุม เช่น ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมเนาวโกฐ ยาสังข์วิชัย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้ไข้ที่ใช้ยารสเย็นไม่ได้แก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียน ใจสั่นหวั่นไหว บำรุงกำลัง ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูหนาว

รสยาทั้งสามที่ได้กล่าวมานั้น คือ รสของยาที่ปรุงสำเร็จแล้ว นำไปใช้รักษาโรคและไข้เป็นหลักใหญ่หรือเป็นแม่บท เรียกว่ารสประธาน แต่ในส่วนของวัตถุธาตุแต่ละชนิดก็จะมีรสยาแยกย่อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าวัตถุธาตุชนิดใด จะดูดซับเอารสยาจากแผ่นดินเข้าไว้กับตัวซึ่งสามารถแบ่งรสยาทั่วไปออกเป็น ๙ รส




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง