Select your language TH EN
การแพทย์จีน ประเภทของตำรับยาจีน  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




ประเภทของตำรับยาจีน

ตำรับยาจีนแบ่งตามสรรพคุณเป็นประเภทใหญ่ๆ 17 ประเภทได้แก่ ตำรับยาบำรุง ตำรับยาปรับให้สมดุล  ตำรับยาปรับการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกาย ตำรับยารักษาความผิดปกติของระบบเลือด ตำรับยาให้ความอบอุ่นภายในร่างกาย ตำรับยารักษาอาการภายนอก ตำรับยาระบายความร้อน ตำรับยาสลายความชื้น ตำรับยาสมาน ตำรับยาช่วยย่อยสลาย ตำรับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น ตำรับยาขับเสมหะ ตำรับยาบรรเทาอาการลม ตำรับยาเปิดทวาร ตำรับยากล่อมจิตประสาท ตำรับยาถ่าและตำรับยารักษาแผลฝีหนอง รายละเอียด ตำรับยาแต่ละประเภทสรุปได้ดังนี้

1. ตำรับยาบำรุง 

หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มสารจำเป็นเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแบ่งเป็นสี่กลุ่มดังนี้

1.1 ตำรับยาบำรุงชี่ ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณบำรุงชี่สามารถเพิ่มสมรรถนะการทำงานของปอดและนั้นใช้รักษาโรคที่ชีของปอดและน้ำพร่อง เช่น เซิงม่ายส่าน เป็นต้น

1.2 ตำรับยาบำรุงเลือด ประกอบด้วยตัวยาบำรุงเลือดใช้รักษาอาการขาดเลือด เช่น ซื่ออู้ทัง เป็นต้น

1.3 ตำรับยาบำรุงยิน ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณเสริมบำรุงหินใช้รักษาอาการหยินของตับและไตพร่อง เช่น ลิ่วเว่ย์ตี้หวงหวาน เป็นต้น

1.4 ตำรับยาบำรุงหยาง ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณบำรุงหยางของไต ใช้รักษาอาการหยางของไตอ่อนแอ เช่น เซิ่นชี่หวาน เป็นต้น

 2. ตำรับยาปรับให้สมดุล

หมายถึง ตำรับที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณรักษาอาการของโรคเส้าหยาง ช่วยให้การทำงานของตับ ม้าม กระเพาะอาหารและลำไส้ดีขึ้น ตำรับนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

2.1 ตำรับยาปรับเส้าหยางให้สมดุล ใช้รักษาโรคเส้าหยาง ซึ่งมีลักษณะกึ่งในการกึ่งนอก เช่น เสี่ยวไฉหูทัง เป็นต้น

2.2 ตำรับยาปรับตับและม้ามให้สมดุล ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์กระจายชี่ของตับและเสริมม้ามให้แข็งแรง มีสรรพคุณปรับตับและม้ามให้สมดุล ใช้รักษาโรคที่ชี่ติดขัดไปกระทบต่อม้าม หรือม้ามพร่องอ่อนแอไม่สามารถทำได้ที่ด้านลำเลียงจนส่งผลให้ชี่ของตับกระจายได้ไม่คล่อง ทำให้ตับและม้ามไม่สมดุล เช่น ซื่อหนี้ส่าน เป็นต้น

2.3 ตำรับยาปรับกระเพาะอาหารและลำไส้ให้สมดุล มีรสเผ็ดและขม กระจายสู่เบื้องล่าง มีฤทธิ์ปรับม้ามและกระเพาะอาหารให้สมดุล ใช้รักษาโรคที่การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน เช่น หวงเหลียนทัง เป็นต้น

3. ตำรับยาปรับการไหลเวียนของชีพภายในร่างกาย 

หมายถึงตำรับยาที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวอย่างที่ช่วยในการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกายดีขึ้นหรือปรับชี่ให้ลงสู่เบื้องล่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

3.1 ตำรับยาช่วยให้การไหลเวียนของชี่ภายในร่างกายดีขึ้น มีฤทธิ์ปรับการทำงานของชี่ทั้งระบบทำให้ไหลเวียนดีขึ้น ใช้รักษาโรคที่มีอาการชี่ติดขัด เช่น ต่าวชี่ทัง เป็นต้น

3.2 ตำรับยาปรับให้ชีลงสู่เบื้องล่าง มีฤทธิ์ปรับชี่ให้ลงสู่เบื้องล่าง ลดการไหลย้อนขึ้นของชีในร่างกาย เพื่อระงับอาการไอหอบ หรืออาเจียนในผู้ป่วยเช่น ติ้งฉ่วนทัง เป็นต้น

4. ตำรับยารักษาความผิดปกติของระบบเลือด

หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณรักษาอาการผิดปกติของระบบเลือด ช่วยปรับสมดุลของชี่และเลือด โดยทั่วไปใช้บำรุงเลือด ห้ามเลือด สลายเลือดคั่ง และช่วยกันไหลเวียนของเลือดให้ได้ดีขึ้นแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

4.1 ตำรับยาช่วยให้เลือดไหลเวียนและสลายเลือดคั่ง มีสรรพคุณรักษาการที่มีเลือดคั่งและช้ำใน (เลือดตกใน) เช่น ชีหลีส่าน และเถี่ยต่าหวาน เป็นต้น

4.2 ตำรับยาห้ามเลือด มีฤทธิ์ห้ามเลือดทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ใช้รักษาอาการของโรคที่มีเลือดออก เช่น ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล ถ่ายเป็นเลือด หรือประจำเดือนมาผิดปกติเช่น ซื่อเซิงหวาน เป็นต้น

5. ตำรับยาสมาน 

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษาโรคที่ชี่ของเลือด สารพื้นฐานในไต และอสุจิเคลื่อนหลั่งออกง่าย ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือเหนี่ยวรั้งให้เสถียร การเคลื่อนหลังออกของสารภายในร่างกาย ทำให้สูญเสียชี่ของเลือด ซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิสภาพของร่างกายแตกต่างกัน เช่น เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกขณะนอนหลับ ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายบิดเรื้อรัง หลั่งอสุจิขณะหลับ หรือปัสสาวะรดที่นอนในขณะหลับ ประจำเดือนมามากผิดปกติหรือมาทีละน้อยไม่หมด รวมถึงอาการตกขาวมามากผิดปกติแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

5.1 ตำรับยาเสริมภูมิต้านทานของผิวภายนอก ระงับเหงื่อ มีสรรพคุณบำรุงชี่ ปกป้องรูขุมขนของร่างกาย ช่วยระงับไปให้เหงื่อออก ใช้รักษาโรคเหงื่อออกเอง ซึ่งมีสาเหตุจากพลังชี่ที่หอหุ้มผิวร่างกายขาดภูมิต้านทาน หรือใช้รักษาโรคที่มีอาการหยินพร่องทำให้เกิดความร้อน เหงื่อออกมาก เช่น หยี่ผิงเฟิงส่านและหมู่ลี่ส่าน เป็นต้น

5.2 ตำรับยาสมานลำไส้ กระชับระบบขับถ่าย มีสรรพคุณแก้ท้องเสีย บำรุงม้ามและไต ช่วยชะลอและยับยั้งการถ่ายมาก หรือถ่ายโดยควบคุมไม่ได้ ใช้รักษาโรคม้ามและไตพร่อง(ยินพร่อง) ซึ่งทำให้ท้องเสียเรื้อรังถ่ายไม่หยุด เช่น ซื่อเสินหวาน เป็นต้น

5.3 ตำรับยาเหนี่ยวรั้งการหลั่งน้ำอสุจิและปัสสาวะ มีสรรพคุณบำรุงไตและช่วยให้ไตมีพลังในการเหนี่ยวรั้งไม่ให้อสุจิเคลื่อนหลั่ง หรือปัสสาวะเล็ดโดยไม่มีแรงควบคุม ใช้รักษาโรคที่พลังไตพร่อง ซึ่งทำให้เก็บรั้งอสุจิไม่อยู่ ทำให้เกิดอาการหลั่งเร็วอหรือพลังไตพร่องไม่สามารถควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเล็ด กลั้นไม่ได้ หรือปัสสาวะบ่อย เช่น ฝูทู่ตันตัน เป็นต้น

5.4. ตำรับยาระงับการตกขาวและประจำเดือนมามาก มีฤทธิ์ห้ามเลือดประจำเดือนที่มามาก หรือตกขาวมามากผิดปกติ ใช้รักษาโรคประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาทีละน้อยแต่ไม่หมด รวมทั้งตกขาวมาก เช่น กู้จิ้งหวาน

6. ตำรับยาให้ความอบอุ่นภายในร่างกาย 

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษากลุ่มอาการเย็นภายในร่างกาย มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายอบอุ่นสลายความเย็น แก้ปวด เสริมการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร ตำรับยานี้มีรสเผ็ดร้อน

กลุ่มอาการเย็นภายในร่างกาย มีสาเหตุมาจากสภาพหยางของร่างกายพร่อง หยางไม่เพียงพอทำให้เกิดความเย็นภายในร่างกาย หรือใช้ยาผิดทำให้อย่างลดลงหรือกระทบกับความเย็นภายนอกและเข้าถึงอวัยวะภายใน แล้วต่อไปยังเส้นลมปราณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามความรุนแรงของอาการของโรคและตำแหน่งที่เกิดโรค ดังนี้ 

6.1. ตำรับยาขจัดความเย็น อุ่นจงเจียว (ม้ามและกระเพาะอาหาร) ใช้รักษาโรคที่มีอาการเย็นภายในตำแหน่งจงเจียว ประกอบด้วยตัวยาที่ให้ฤทธิ์อุ่นร้อนและเสริมบำรุงที่ของม้าม เช่น หลี่จงหวาน เป็นต้น 

6.2. ตำรับยาฟื้นคืนหยางชี่ ประกอบด้วยตัวยาที่มีคุณสมบัติอุ่นร้อน มีสรรพคุณอุ่นหยางของไตช่วยให้หยางฟื้นคืน ใช้รักษาโรคที่มีอาการหนาวเย็นมากเนื่องจากอย่างของไตอ่อนแอ หรืออย่างของหัวใจและไตอ่อนแอ เช่น ซื่อหนี้ทัง เป็นต้น 

6.3. ตำรับยาสลายความเย็น อุ่นเส้นลมปราณ มีฤทธิ์สลายความเย็นอุ่ นเส้นลมปราณและบำรุงเลือด ทะลวงชีพจร ใช้รักษาโรคที่มีอาการหยางชี่ไม่เพียงพอ เลือดลมอ่อนแอ หรืออาการปวดที่เกิดจากความเย็นมากระทบ ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนของเส้นลมปราณ เช่น ตังกุยซื่อหนีทัง เป็นต้น 

7. ตำรับยารักษาอาการภายนอก 

หมายถึงตำรับที่ใช้รักษากลุ่มอาการของโรคอันมีสาเหตุจากภายนอก เช่น สภาพอากาศทั้ง 6 ได้แก่ ลมความเย็น ความร้อนอบอ้าว ความชื้น ความแห้ง และไฟ ตำรับยานี้จะออกฤทธิ์กำจัดของเสียที่อยู่ตามผิวหนังออกโดยผ่านการขับเหงื่อและกระทุ้งอาการของโรคหัดให้ออกได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปตำรับยาประเภทนี้จะมีรสเผ็ด ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับโรคตามสาเหตุของโรค เช่น ลมร้อน ลมเย็นและสภาพร่างกายซึ่งมีลักษณะหยินหยางแกร่ง พร่องแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 

7.1. ตำรับยารักษาอาการภายนอกที่มีรสเผ็ดอุ่น มีรสเผ็ดและมีสรรพคุณเป็นยาอุ่นใช้รักษาอาการไข้จากการกระทบลมเย็น หนาวสั่น เช่น หมาหวงทังและ เซียงซูส่าน เป็นต้น 

7.2. ตำรับยารักษาอาการภายนอกที่มีรสเผ็ดเย็น มีรสเผ็ดแต่มีสรรพคุณเป็นยาเย็นใช้รักษาอาการไข้เหงื่อออก เช่น อิ่นเฉียวส่าน เป็นต้น 

7.3. ตำรับยาเสริมภูมิคุ้มกันและขับเหงื่อ มีฤทธิ์ขับเหงื่อบำรุงร่างกาย และเสริมภูมิคุ้มกันใช้รักษาอาการไข้หนาวสั่นในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น เซินซูอิ่น เป็นต้น

8. ตำรับยาระบายความร้อน

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษากลุ่มอาการร้อนภายในร่างกาย ประกอบด้วยตัวยาซึ่งมีสรรพคุณระบายความร้อน ช่วยให้เลือดเย็นและแก้พิษแบ่งเป็น 7 กลุ่มตามตำแหน่งโรคดังนี้ 

8.1. ตำรับยาระบายความร้อนภายในระดับชี่ มีฤทธิ์ระบายความร้อนในระดับชี่ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ใช้รักษาโรคที่มีไข้สูง กระหายน้ำมากเหงื่อออกมาก ชีพจรใหญ่ เช่น ไป่หู่ทัง เป็นต้น 

8.2. ตำรับยาระบายความร้อนในระบบหยินชี่และเลือด มีฤทธิ์บรรเทาความร้อนในระบบหยินชี่ และเลือดช่วยให้เลือดเย็นลง กระจายการคั่งของเลือดและห้ามเลือดอันเนื่องจากเลือดร้อน ระบายความร้อนและถอนพิษไข้ เช่น ชิงอิ๋งทัง เป็นต้น 

8.3. ตำรับยาระบายความร้อนในระดับชี่และระดับเลือด มีระบายความร้อนทั้งในระดับชี่และในระดับเลือด ใช้ในกรณีที่ความร้อนเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งภายในและภายนอก หรือมีไข้พิษร้อนซึ่งมีอาการรุนแรง 8.4. ตำรับยาระบายความร้อน บรรเทาพิษไข้ มีฤทธิ์ระบายความร้อน บรรเทาพิษไข้ ใช้รักษาโรคที่มีอาการพิษร้อนมากภายใน รวมทั้งพิษร้อนบริเวณศีรษะ และใบหน้า เช่น หวงเหรียญเจี๋ยตู่ทัง เป็นต้น 

8.5. ตำรับยาระบายความร้อนที่อวัยวะภายใน มีฤทธิ์ระบายความร้อนสูงที่เกิดขึ้นในอวัยวะภายในทั้งหลาย เช่น เซี่ยไป๋ส่าน และเสาเหย้าทัง เป็นต้น 

8.6. ตำรับยาลดไข้จากหยินพร่อง มีสรรพคุณลดไข้จากหยินพร่อง (มีอาการไข้ต่ำซึ่งเป็นความรู้สึกของคนไข้เอง เมื่อวัดปรอทอาจมีไข้เพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้) เสริมหยิน ระบายความร้อนภายใน ใช้รักษาโรคที่มีไข้ต่ำๆ เป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่มีอาการร้อนในกระดูก เช่น ชิงกู่ส่าน 

8.7. ตำรับยาลดไข้จากอาการเป็นลมเพราะแพ้แดด และเสริมชี่ มีสรรพคุณลดไข้จากอาการเป็นลมแดด เป็นลม แพ้แสงแดดและตัวยาที่มีสรรพคุณบำรุงชี่เสริมหยิน ใช้รักษาโรคที่ถูกแดดเป็นเวลานานทำให้มีอาการอ่อนเพลียตัวร้อนและหมดสติเช่น หลิวอี้ส่านและชิงสู่อี้ชี้ทัง เป็นต้น 

9. ตำรับยาสลายความชื้น

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษาโรคหรือกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากความชื้น ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณขจัดความชื้นด้วยการขับน้ำสลายชื้น ระบายน้ำที่มีลักษณะขุ่นเป็นตะกอน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นมี 2 สาเหตุคือ 

1) ความชื้นจากภายนอก เมื่อร่างกายกระทบความชื้นจากภายนอกทำให้ทางเดินของลมปราณติดขัด เกิดอาการกลัวหนาว เป็นไข้ตัวร้อน ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวหรืออาจปวดที่ข้อทำให้ข้อยืดงอไม่สะดวก 

2) ความชื้นจากภายใน ความชื้นภายในร่างกายมีผลต่อการทำงานของม้ามปอดไปทางเดินของซานเจียว และกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ระบบการกำจัดน้ำเสียบกพร่อง เป็นผลให้เกิดภาวะน้ำตกค้าง (น้ำเสียที่ค่อนข้างใส่) กับเสมหะ (น้ำเสียที่ค่อนข้างหนืด) หรือน้ำเสียที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

ร่างกายของคนเรามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในและภายนอก ดังนั้นความชื้นจากภายนอกสามารถเข้าสู่ภายในได้ ในทำนองเดียวกันความชื้นจากภายในสามารถขจัดออกสู่ภายนอกได้โดยผ่านผิวหนังความชื้นภายนอกและภายในจึงมีผลต่อกัน

โดยทั่วไปความชื้นมักมาพร้อมกับลม ความเย็น ความร้อน และเนื่องจากสภาพร่างกายของคนเรามีความแข็งแรง อ่อนแอ แกร่งและพร่องต่างกัน ตำแหน่งที่เกิดโรคสามารถเกิดได้ทั้งส่วนบน ส่วนล่างภายในและภายนอก นอกจากนี้อาการเจ็บป่วยอาจแปรเปลี่ยนไปเป็นเย็นหรือร้อนได้ การรักษาด้วยการสลายความชื้นจึงมี 5 วิธี คือ 

1) หากตำแหน่งของโรคอยู่ภายนอกหรืออยู่ส่วนบน ให้ใช้ยาขับเหงื่อน้อยๆ เพื่อขจัดความชื้นให้ออกทางเหงื่อ

2) หากตำแหน่งของโรคอยู่ภายในหรืออยู่ส่วนล่าง ให้ใช้ยาหอมเย็นรสขมมีหรือรสหวานอมจืดเพื่อขับน้ำออกทางปัสสาวะ

3) หากความชื้นแปรสภาพเป็นเย็น ให้อุ่นอย่างสลายชื้น 

4) หากความชื้นแปลสภาพเป็นร้อนใ ห้ขจัดร้อนสลาชื้น 

5) หากร่างกายอ่อนแอพร้องมีความชื้นค่อนข้างมาก ให้ขจัดความชื้นพร้อมกับเสริมบำรุงตำรับยาสลายความชื้นแบ่งเป็น 5 กลุ่มดังนี้ 

9.1. ตำรับยาสลายความชื้น ปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร มีรสขม มีคุณสมบัติอุ่น มีฤทธิ์ขจัดความชื้นทำให้แห้งและมีกลิ่นหอมมีฤทธิ์กระจายสลายความชื้น ใช้รักษาโรคที่มีความชื้นอุดกั้นภายในร่างกาย และมีลมเย็นจากภายนอกมากระทบ เช่น ผิงเว่ย์ส่าน เป็นต้น 

9.2. ตำรับยาระบายความร้อน สลายความชื้น มีสรรพคุณขจัดความร้อน และระบายความชื้น ใช้รักษาโรคที่มีอาการร้อนชื้น เช่น ปาเจิ้งส่าน เป็นต้น

9.3. ตำรับยาขับปัสสาวะ ระบายความชื้น มีสรรพคุณระบายความชื้นออกทางปัสสาวะ ใช้รักษาโรคที่มีน้ำหรือความชื้นตกค้าง (บวมน้ำ) เช่น ซื่อหลิงส่าน เป็นต้น 

9.4. ตำรับยาให้ความอบอุ่นกับสลายความชื้น มีสรรพคุณอุ่นหยาง และระบายความชื้น ใช้รักษาโรคที่มีความเย็นชื้น เช่น ฟูจื่อทัง เป็นต้น 

9.5. ตำรับยาขจัดลมชื้นและแก้ปวด มีสรรพคุณขจัดลมชื้น ใช้รักษาโรคที่มีอาการปวดเนื่องจากลมชื้น หรือโรคผื่นคันตามผิวหนัง เช่น กุ้ยจือเสาเหย้าจื่อหมู่ทัง เป็นต้น 

10. ตำรับยาถ่าย

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษากลุ่มอาการแกร่งภายในร่างกาย ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณระบายท้อง กำจัดของเสียที่ตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ ระบายความร้อนที่สูงเกินไป และขับน้ำ เนื่องจากกลุ่มอาการแกร่งภายในร่างกายเป็นสาเหตุให้ท้องผูกนั้น อาจเกิดจากความร้อนความเย็นความแห้ง และน้ำตำรับยาประเภทนี้จึงแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามพยาธิสภาพของร่างกายและอายุไขของผู้ป่วย ดังนี้ 

10.1. ตำรับยาถ่าย ขับความร้อน มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ใช้รักษาโรคท้องผูกจากความร้อนสะสมภายในร่างกาย เช่น เลี่ยวเฉิงชี่ทัง เป็นต้น 

10.2. ตำรับยาถ่าย เสริมความอบอุ่น มีคุณสมบัติอุ่นร้อนมีฤทธิ์สลายความเย็นที่เป็นสาเหตุให้ท้องถูก ใช้รักษาโรคที่มีอาการแกร่งภายในร่างกายที่เกิดจากความเย็น เช่น เวินผีทัง เป็นต้น 

10.3. ตำรับยาถ่าย เพิ่มความชุ่มชื้นให้ระบบขับถ่าย มีฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้นและหล่อลื่นลำไส้ เพื่อให้ถ่ายง่าย ใช้รักษาโรคท้องผูกเนื่องจากน้ำในลำไส้ไม่เพียงพอ ทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายลำบาก เช่น หมาจื่อเหรินหวาน เป็นต้น 

10.4. ตำรับยาถ่ายอย่างแรง ขจัดความชื้น มีคุณสมบัติเป็นยาถ่ายอย่างแรง ใช้รักษาโรคที่มีน้ำเสียตกค้างอยู่บริเวณช่องท้องและทรวงอก รวมถึงอาการบวมน้ำที่เกิดจากกลุ่มอาการแกร่ง เช่น สือเจ่าทัง เป็นต้น 

10.5. ตำรับยาระบาย เพิ่มความแข็งแรงของลำไส้ มีสรรพคุณบำรุง และระบาย ใช้รักษาโรคที่มีอาการแกร่งภายใน และพลังชี่ของร่างกายอ่อนแอ (พบในคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ ท้องผูกง่าย) หากระบายอย่างเดียวจะทำให้มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น จึงต้องทั้งบำรุงและระบายพร้อมกัน เช่น ซินเจียหวงหลงทัง เป็นต้น 

11. ตำรับยาช่วยย่อยสลาย

หมายถึงตำรับยาที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น กับอาหารตกค้างบรรเทาอาการท้องอืด หรืออาการจุกเสียดแน่น แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 

11.1. ตำรับยาช่วยย่อยอาหาร ขับอาหารตกค้าง ตำรับยากลุ่มนี้ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการจุกเสียดท้อง และช่วยย่อยอาหารใ ช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อย เช่น เป่าเหอหวาน เป็นต้น 

11.2. ตำรับยาช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด มีสรรพคุณช่วยให้ชี่เดิน ช่วยการไหลเวียนของเลือด และขับชื้นสายเสมหะซึ่งเป็นสาเหตุให้ท้องอืด เช่น จื่อสือเซียวผี่หวาน เป็นต้น

12. ตำรับยาขับเสมหะ

หมายถึงตำรับยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ อันเกิดจากเสมหะ ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณขับเสมหะและน้ำเสียที่ตกค้างให้หมดไป เนื่องจากเสมหะมีหลายชนิด เช่น เสมหะชื้น เสมหะร้อน เสมหะแห้ง เสมหะเย็นและเสมหะปนลม ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมดังนี้ 

12.1. ตำรับยาสลายความชื้น ละลายเสมหะ ประกอบด้วยตัวยาละลายเสมหะ สลายความชื้น และตัวยาที่มีรสขมอุ่นช่วยให้ความชื้นหายไป หรือตัวยาที่มีรสหวานจืดช่วยระบายความชื้นใช้รักษาโรคที่มีอาการเสมหะชื้น เช่น เอ้อร์เฉินทัง และเวินต่านทัง เป็นต้น 

12.2. ตำรับยาขจัดความร้อน ขับเสมหะ มีสรรพคุณขจัดความร้อนและสลายเสมหะ ใช้รักษาโรคที่มีอาการเสมหะร้อน เช่น ชิงชี่ฮาวาถันหวาน เป็นต้น 

12.3. ตำรับยาเพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอด ละลายเสมหะ มีสรรพคุณสลายเสมหะและช่วยให้ปอดชุ่มชื้น ใช้รักษาโรคที่มีอาการเสมหะแห้ง เช่น เอ้อร์หมู่ส่าน เป็นต้น 

12.4. ตำรับยาอุ่น ปอดขับเสมหะเย็น มีสรรพคุณเพิ่มความอบอุ่นให้ปอดสลายเสมหะ ใช้รักษาโรคที่มีอาการเสมหะเย็นเช่น ซันจื้อหยางซินทัง เป็นต้น 

12.5. ตำรับยาสลายเสมหะขับลม มีสรรพคุณสลายเสมหะและขับลมแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ

12.5.1.ตำรับยาขับลม ภายนอกที่ทำให้เกิดเสมหะ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะ เนื่องจากลมภายนอกทำให้ปอดกระจายที่ไม่คล่อง จึงเกิดเสมหะ ต้องรักษาด้วยการกระจายลมและสลายเสมหะ เช่น จื่อโซ่วส่าน เป็นต้น 

12.5.2. ตำรับยาขับลมภายในที่ทำให้เกิดเสมหะ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเนื่องจากพื้นฐานเดิมมีเสมหะอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมีลมจากตับชักนำให้เสมหะขึ้นสู่ส่วนบนของร่างกายจึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ต้องรักษาด้วยการขับลงภายในและสลายเสมหะ ตำรับยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณขับลมภายใน และสลายเสมหะ เช่น ปั้นเซี่ยไป๋จู๋เทียนหมาทัง เป็นต้น 

13. ตำรับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีสรรพคุณเสริมสร้างน้ำหล่อเลี้ยง ช่วยให้อวัยวะมีความชุ่มชื้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 

13.1. ตำรับยารักษาอาการแห้งภายนอก ที่ออกฤทธิ์กระจายเบาบางช่วยการไหลเวียนของชี่ที่ปอด มีสรรพคุณรักษาความแห้งอันเนื่องมาจากอากาศภายนอก มักเกิดในฤดูใบไม้ร่วงเมื่อลมหนาวมา ทำให้ชี่ปอดกระจายไม่คล่อง นิยมใช้ตัวยาที่มีคุณสมบัติอุ่น น้ำหนักเบา เช่น ซิงซูส่าน เป็นต้น 

13.2. ตำรับยารักษาอาการแห้งภายในด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นเสริมหยิน มีสรรพคุณรักษาอาการแห้งแบบร้อน มักจะเกิดในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงซึ่งยังมีความร้อนของปลายฤดูร้อนแฝงอยู่ ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงภายในปอดลดลง นิยมใช้ยาที่มีคุณสมบัติเกณฑ์น้ำหนักเบา เช่น อี้เวย์ทัง และหย่างชิงเฟย์ เป็นต้น 

14. ตำรับยาเปิดทวาร

หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีรสเผ็ด มีกลิ่นหอม ทะลวงได้ดี สามารถเปิดทวาร ทำให้มีสติฟื้นฟูสัมปชัญญะ ใช้รักษาอาการหมดสติสติเลอะเลือนเกิด อาการชักหรืออัมพฤกษ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

14.1. ตำรับยาเปิดทวารประเภทยาเย็น มีกลิ่นหอมเย็น ใช้ร่วมกับตัวยาที่มีคุณสมบัติระบายความร้อนของหัวใจ และช่วยให้เลือดเย็นล งใช้รักษาโรคที่มีอาการร้อนจัดหรือพิษเข้าสู่เยื่อหุ้มหัวใจทำให้หมดสติเช่น หนิวทวงซิงซินหวาน เป็นต้น

14.2. ตำรับยาเปิดทวารประเภทอุ่น มีกลิ่นหอม ใช้ร่วมกับตัวยาที่มีรสเย็นมีคุณสมบัติอุ่นช่วยให้การไหลเวียนของที่ดีขึ้นใช้รักษาโรคที่มีอาการหมดสติเนื่องจากความเย็นปิดกั้นทวาร เช่น ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ที่ได้รับความเย็นหมดสติหรือเสมหะตีขึ้นสมองทำให้หมดสติ เช่น ทงกวนส่าน เป็นต้น

15. ตำรับยากล่อมจิตประสาท

หมายถึงตำรับยาที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาที่มีฤทธิ์คลายเครียด หรือตัวยาบำรุงหัวใจกล่อมประสาทลดความกระวนกระวายใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 

15.1. ตำรับยาช่วยควบคุมจิตประสาทให้สงบเป็นปกติ บรรเทาอาการชักหรือช็อค มีฤทธิ์ประสาท มีคุณสมบัติบรรเทาอาการตกใจกลัวอาการกระวนกระวายไม่อยู่นิ่งและแก้โรคลมชัก เช่น จูชาอันสินหวาน เป็นต้น 

15.2. ตำรับยาบำรุงหัวใจช่วยให้นอนหลับ มีฤทธิ์บำรุงเลือดและหยิน ช่วยให้จิตใจสงบช่วยให้นอนหลับ ใช้รักษาโรคที่มีอาการตกใจง่ายหวาดกลัวใจสั่นและนอนไม่หลับ เช่น ซวนเจ่าและเทียนหวางปูชิงตัน เป็นต้น 

16. ตำรับยาบรรเทาอาการลม

หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีรสเผ็ดมีฤทธิ์กระจายลม หรือเสริมหยิน ลดอย่างภายในร่างกายแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 

16.1. ตำรับยาปัดเป่าลมภายนอก มีรสเผ็ดมีฤทธิ์กระจายลม มีสรรพคุณรักษาอาการเจ็บป่วยจากการกระทบลงภายนอก เช่น เสี่ยวฟงสาร เป็นต้น 

16.2. ตำรับยาสงบลงภายใน มีคุณสมบัติสงบลมของตับเป็น หลักโดยทั่วไปมักใช้ร่วมกับตัวยาที่มีฤทธิ์ระบายความร้อนสลายเสมหะบำรุงเลือด ใช้รักษาโรคที่มีอาการเจ็บป่วยมาจากลมภายในร่างกายเช่น เจิ้นกานซีเฟิงทัง เป็นต้น

17. ตำรับยารักษาแผล ฝีหนอง

หมายถึง ตำรับที่ประกอบด้วยตัวยาที่มีคุณสมบัติขับพิษร้อน ขับหนอง หรือสลายตุ่มก้อนด้วยความอุ่นใช้รักษาโรค แผล ฝี หนอง ตุ่มก้อนต่างๆ แบ่งเป็น 2 กลุ่มนิ 

17.1. ตำรับยารักษาแผล ฝีหนองภายนอกร่างกาย มีสรรพคุณรักษาแผลฝีหนองที่เกิดตามผิวหนังภายนอกได้แก่ ฝีฝักบัว ฝีหัวแข็ง ตุ่มหนองที่ผิวหนัง งูสวัด ไฟลามทุ่ งต่อมน้ำเหลืองโต เช่น เซียนฟังหัวมิ่งอิ่น และอหยางเหอทัง เป็นต้น 

17.2. ตำรับยารักษาแผล ฝีหนองภายในร่างกาย มีคุณสมบัติรักษาแผล ฝีหนองที่เกิดตามอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ปีฝีในปอด ไส้ติ่งอักเสบ เช่น ต้าหวงหมู่ตันทัง เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง