Select your language TH EN
คณาเภสัช จุลพิกัด  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ




จุลพิกัด

      จุลพิกัด คือ จำกัดตัวยาน้อยอย่าง หรือพิกัดที่เรียกชื่อตรงตามตัวยา มักจะเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน หรือส่วนมากมีตัวยาเพียง ๒ อย่างเท่านั้น แต่เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่สี ต่างกันที่รส ต่างกันที่ชนิด (เพศผู้ เพศเมีย) ต่างกันจากถิ่นที่เกิด ตัวอย่างเช่น

 

๑.๑ พวกที่ต่างกันที่ขนาด

๑) กระพังโหมทั้ง ๒

คือ

กระพังโหมน้อย

กระพังโหมใหญ่

๒) ข่าทั้ง ๒

คือ

ข่าเล็ก

ข่าใหญ่

๓) ตับเต่าทั้ง ๒

คือ

ตับเต่าน้อย

ตับเต่าใหญ่

๔) เปล้าทั้ง ๒

คือ

เปล้าน้อย

เปล้าใหญ่

๕) เร่วทั้ง ๒

คือ

เร่วน้อย

เร่วใหญ่

๖) ส้มกุ้งทั้ง ๒

คือ

ส้มกุ้งน้อย

ส้มต้มกุ้งใหญ่

๑.๒ พวกที่ต่างกันที่สี

๑) การบูรทั้ง ๒

คือ

การบูรดำ

การบูรขาว

๒) กะเพราทั้ง ๒

คือ

กะเพราแดง

กะเพราขาว

๓) กระดูกไก่ทั้ง ๒

คือ

กระดูกไก่ดำ

กระดูกไก่ขาว

๔) กระวานทั้ง ๒

คือ

กระวานดำ

กระวานขาว

๕) หัวกระดาดทั้ง ๒

คือ

หัวกระดาดแดง

หัวกระดาดขาว

๖) ต้นก้างปลาทั้ง ๒

คือ

ต้นก้างปลาแดง

ต้นก้างปลาขาว

๗) กำมะถันทั้ง ๒

คือ

กำมะถันแดง

กำมะถันเหลือง

๘) ขี้กาทั้ง ๒

คือ

ขี้กาแดง

ขี้กาขาว

๙) ขอบชะนางทั้ง ๒

คือ

ขอบชะนางแดง

ขอบชะนางขาว

๑๐) แคทั้ง ๒

คือ

แคแดง

แคขาว

๑๑) จันทน์ทั้ง ๒

คือ

จันทน์แดง

จันทน์ขาว

๑๒) เจตมูลเพลิงทั้ง ๒

คือ

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงขาว

๑๓) เทียนทั้ง ๒

คือ

เทียนแดง

เทียนขาว

๑๔) บัวหลวงทั้ง ๒

คือ

บัวหลวงแดง

บัวหลวงขาว

๑๕) ผักเป็ดทั้ง ๒

คือ

ผักเป็ดแดง

ผักเป็นขาว

๑๖) ผักแพวทั้ง ๒

คือ

ผักแพวแดง

ผักแพวขาว

๑๗) ฝ้ายทั้ง ๒

คือ

ฝ้ายแดง

ฝ้ายขาว

๑๘) พริกไทยทั้ง ๒

คือ

พริกไทยดำ

พริกไทยาว (ล่อน)

๑๙)  เถามวกทั้ง ๒

คือ

เถามวกแดง

เถามวกขาว

๒๐) ละหุ่งทั้ง ๒

คือ

ละหุ่งแดง

ละหุ่งขาว

๒๑) สัตตบงกชทั้ง ๒

คือ

สัตตบงกชแดง

สัตตบงกชขาว

๒๒) หางไหลทั้ง ๒

คือ

หางไหลแดง

หางไหลขาว

๑.๓ พวกที่ต่างกันที่รส

๑)  มะขามทั้ง ๒

คือ

มะขามเปรี้ยว

มะขามหวาน

๒) มะขามเทศ ๒

คือ

มะขามเทศฝาด

มะขามเทศมัน

๓)  มะปรางทั้ง ๒

คือ

มะปรางเปรี้ยว

มะปรางหวาน

๔)  มะเฟืองทั้ง ๒

คือ

มะเฟืองเปรี้ยว

มะเฟืองหวาน

๑.๔ พวกที่ต่างชนิดกัน  (เพศผู้ – เพศเมีย)

๑) กระพังโหมทั้ง ๒

คือ

กระพังโหมตัวผู้

กระพังโหมตัวเมีย

๒) เกลือทั้ง ๒

คือ

เกลือตัวผู้

เกลือตัวเมีย

๓) ตำแยทั้ง ๒

คือ

ตำแยตัวผู้

ตำแยตัวเมีย

๔) เบี้ยทั้ง ๒

คือ

เบี้ยตัวผู้

เบี้ยตัวเมีย

๕) ผักปอดทั้ง ๒

คือ

ผักปอดตัวผู้

ผักปอดตัวเมีย

๖) มะยมทั้ง ๒

คือ

มะยมตัวผู้

มะยมตัวเมีย

๗) หมากทั้ง ๒

คือ

หมากผู้

หมากเมีย

๘) ศิลายอนทั้ง ๒

คือ

ศิลายอนตัวผู้

ศิลายินตัวเมีย

๑.๕ พวกที่ต่างกันที่ถิ่นที่เกิด

๑) กระท้อนทั้ง ๒

คือ

กระท้อนบ้าน

กระท้อนป่า

๒) กะทือทั้ง ๒

คือ

กะทือบ้าน

กะทือป่า

๓) หัวข้าวเย็นทั้ง ๒

คือ

หัวข้าวเย็นเหนือ

หัวข้าวเย็นใต้

๔) ขี้เหล็กทั้ง ๒

คือ

ขี้เหล็กบ้าน

ขี้เหล็กป่า

๕) เขาวัวทั้ง ๒

คือ

เขาวัวบ้าน

เขาวัวป่า

๖) ชะมดทั้ง ๒

คือ

ชะมดเช็ด

ชะมดเชียง

๗) ชะเอมทั้ง ๒

คือ

ชะเอมเทศ

ชะเอมไทย

๘) ชำมะเรียงทั้ง ๒

คือ

ชำมะเรียงบ้าน

ชำมะเรียงป่า

๙) ชุมเห็ดทั้ง ๒

คือ

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดไทย

๑๐) หญ้าเกล็ดหอยทั้ง ๒

คือ

หญ้าเกล็ดหอยเล็ก

หญ้าเกล็ดหอยใหญ่

๑๑) ดีเกลือทั้ง ๒

คือ

ดีเกลือไทย

ดีเกลือฝรั่ง

๑๒) ปรงทั้ง ๒

คือ

ปรงบ้าน

ปรงป่า

๑๓) ประยงค์ทั้ง ๒

คือ

ประยงค์บ้าน

ประยงค์ป่า

๑๔) ผักหวานทั้ง ๒

คือ

ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า

๑๕) มะระทั้ง ๒

คือ

มะระขี้นก

มะระจีน

๑๖) ยอทั้ง ๒

คือ

ยอบ้าน

ยอป่า

๑๗) สลอดทั้ง ๒

คือ

สลอดบก

สลอดน้ำ

๑๘) แสมทั้ง ๒

คือ

แสมสาร

แสมทะเล

๑๙) สะเดาทั้ง ๒

คือ

สะเดาบ้าน

สะเดาป่า

๒๐) สีเสียดทั้ง ๒

คือ

สีเสียดแขก

สีเสียดไทย

๒๑) หัศคุณทั้ง ๒

คือ

ทัศคุณเทศ

หัศคุณไทย

๒๒) อบเชยทั้ง ๒

คือ

อบเชยเทศ

อบเชยไทย

 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง