Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คนทีเขมา

ชื่อท้องถิ่น: คนทีสอดำ ผีเสื้อน้อย (ภาคเหนือ)/ คนทิ คนที (ภาคตะวันออก)/ โคนดินสอ คนดินสอดำ ดินสอดำ ผีเสื้อดำ (อื่น ๆ)/ กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)/ กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี)/ หวงจิง (จีนกลาง)/ อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว)

ชื่อสามัญ: Five-leaved chaste tree, Chinese chaste, Indian privet, Negundo chest nut

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex negundo L.

ชื่อวงศ์: LAMIACEAE-LABIATAE

สกุล: Vitex 

สปีชีส์: negundo

ชื่อพ้อง: Agnus-castus negundo (L.) Carrière

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

คนทีเขมา thai-herbs.thdata.co | คนทีเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นคนทีเขมา เป็นม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 3-6 เมตร ผิวลำต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล กิ่ง ก้าน และใบมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม รากเป็นสีเหลือง เนื้อในรากเป็นสีขาว 

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 หรือ 3 ใบ โดย 3 ใบบนจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ใบล่าง ใบบนมีก้าน ส่วนใบล่างไม่มีก้าน ใบมีกลิ่น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบยาวแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีขาว ปกคลุมไปด้วยขนอ่อน


คนทีเขมา thai-herbs.thdata.co | คนทีเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีอยู่เป็นจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เชื่อมติดกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน

ผล เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปกลม แห้ง เปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: ตอนใต้โซมาเลียถึงโมซัมบิก มหาสมุทรอินเดียตะวันออก อิหร่านจนถึงญี่ปุ่นและมาริอานัส

การกระจายพันธุ์: ทวีปแอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก (อัฟกานิสถาน, หมู่เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนเหนือ - กลาง, จีนตอนใต้ - กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, มองโกเลียใน, อิหร่าน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เกาะลัคคาไดฟ์, มาดากัสการ์, มัลดีฟส์, มาเรียนัส, มอริเชียส, โมซัมบิก, เมียนมาร์, เนปาล, นิโคบาร์อิส., ปากีสถาน, ชิงไห่, โซมาเลีย, ศรีลังกา, ไต้หวัน, แทนซาเนีย, ไทย, ทิเบต, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก)

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ และกิ่งตอน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้เลือด แก้ลม เป็นยาอายุวัฒนะ

*รากและใบ รสร้อน สรรพคุณ ต้มรับประทานหรือประคบ แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงและรักษาไข้

*ใบสด รสร้อนหอม สรรพคุณ คั้นเอาน้ำรับประทานแก้ปวดศีรษะ รักษาเยื่อจมูกอักเสบ ถอนพิษสาหร่ายทะเล

*ยาง รสร้อนเมา สรรพคุณ บำรุงกำลัง ขับเลือดขับลมให้กระจาย ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง แก้คุดทะราด

*ราก รสเมาร้อน สรรพคุณ แก้ลม ขับเหงื่อ แก้ริดสีดวงแห้ง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ มีอัลคาลอยด์ (nishindine และ hydrocotylene), gluconitol, hydroxyisophthalic acid, 3,4-dihydroxybenzoic acid, tannic acid, aucubin, agnuside, casticin, orientin, isoorientin, α-d-glucoside ของ tetrahydroxymonomethylflavone, 5-hydroxy-3,6,7,3′,4′- pentamethoxyflavone, carotene และ วิตามิน ซี

-ผลแห้ง ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 0.1% ซึ่งมี cineol,l sabinene,l-2-pinene, camphene, ß -caryophyllene และสารประกอบ พวก diterpenes, hemiterpene alcohol และสาร azulene เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพวก flavone และสารกระตุ้นหัวใจ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus เมื่อฉีดน้ำต้มเมล็ดและรากคนทีเขมาเข้าไปในปอดของหนูขาวที่ ทดลองนอกร่างกาย ทำให้หลอดลมขยายตัว ส่วนที่สกัดจากเมล็ดมีฤทธิ์แรงกว่าส่วนอื่น สารละลายที่ได้จากการต้มราก และเมล็ด มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus

-ฤทธิ์ระงับไอและขับเสมหะ (ทำสารละลายที่ได้จากการต้มรากคนทีเขมามีฤทธิ์ระงับไอในหนูถีบจักร (ทำให้ไอโดยวิธีรมไอแอมโมเนีย) และมีฤทธิ์ขับเสมหะ (ทำให้มี เสมหะโดยการใช้ phenol red) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการขยายหลอดลม และยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย

-ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Micrococcus pyogenes var. aureus และ Escherichia coli ยาต้มที่ได้จากใบ ใช้ลดอาการบวมตามข้อของหนูขาวที่ทดลอง (ทำให้ข้อบวมโดยการฉีดฟอร์มัลดีฮัยด์ (formaldehyde) )และต้านแบคทีเรียบางชนิด เช่น Micrococcus pyogenes var. aureus และ Escherichia coli

-ฤทธิ์ต้านเซลล์เนื้องอกชนิดเออร์ลิช แอสไซติส สารสกัดจากใบ มีฤทธิ์ต้านเซลล์เนื้องอกชนิดเออร์ลิช แอสไซติส (Ehrlich ascites tumour cells)

-ฤทธิ์รักษาโรคเรื้อน ผงที่ได้จากเชื้อราชนิด Alectra parasitica ที่เจริญบนรากของคนทีเขมา ใช้รักษาโรคเรื้อน และไม่ก่อให้เกิดพิษ

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: 

-ช่วยให้มีกลิ่นหอม ใช้ใบผสมในน้ำอาบ

-ช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่องเป็นยองใย นำมาต้มกินต้มอาบเป็นประจำและเหมาะที่จะนำมาใช้ในสปาหรือทำครีมบำรุงผิว

-ไล่ไรไก่ เห็บ หมัด ลิ้น ไร ยุง โดยนำกิ่งไปไว้ในเล้าไก่ ขยี้ใบทาตัวไล่แมลง หรือนำกิ่งใบมาเผาไล่ยุง รวมทั้งต้มกิ่งก้านใบกับน้ำใช้ฉีดไล่ยุง (ยาไล่ยุง ให้ใช้กิ่งก้านใบ 1 ส่วน และน้ำ 2 ส่วน นำมาต้มให้เดือดนาน 15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นไล่ยุง)

-ใบแห้ง นำมาปูรองเมล็ดพืชจะช่วยป้องกันแมลงและมอดมารบกวนได้

-ในด้านความเชื่อ มีความเชื่อที่ว่าหากนำต้นคนทีเขมามาปลูกไว้ริมน้ำ จะช่วยป้องกันไม่ให้ตลิ่งพังได้ รวมทั้งหากนำมาปลูกไว้ในบ้านก็จะช่วยแก้สิ่งที่ไม่เป็นมงคล ที่ชาวบ้านเรียกว่า แก้เข็ดแก้ขวง กันผีร้ายที่จะมาทำให้เจ็บป่วย คนสมัยก่อนเวลาจะลงเรือลงน้ำจะพกใบผีเสื้อติดกระเป๋าไปด้วยเพื่อป้องกันผีน้ำ วัฒนธรรมการพกใบคนทีเขมานี้ไม่ได้มีแต่บ้านเราเท่านั้น ในยุโรปสมัยก่อนก็เชื่อด้วยว่าหากพกใบคนทีเขมาติดตัวไว้จะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้

-ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ดอกมีกลิ่นหอม ให้สรรพคุณทางยามาก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง