Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หัสคุณไทย

ชื่อท้องถิ่น: คอมขน สามโซก (เชียงใหม่), หวด (ลำปาง)/ เพี้ยฟานดง สมัดดง สมัดต้น สมัดใหญ่ (เลย)/ หัสคุณ (สระบุรี)/ ฉี้ ลิ้นชี่ สาบแร้งสาบกา (จันทบุรี)/ หมอน้อย (อุตรดิตถ์)/ ดอกสะมัด สะแบก (อุดรธานี)/ ชะมุย (ชุมพร)/ มุยขาว (ประจวบคีรีขันธ์), หมุยขน (นครศรีธรรมราช)/ กะม่วง สมุยช้าง หมุยช้าง (ยะลา)/ มรุยช้าง (ตรัง)/ สมุย (สุราษฎร์ธานี)/ หมรุย หมุยใหญ่ (กระบี่)/ กาจับลัก จี้ปุกตัวผู้ จี้ย้อย มองคอง หญ้าสาบฮิ้น (ภาคเหนือ)/ หมุย สมุย หัสคุณ (ภาคใต้)/ สมัด สมัดน้อย สหัสคุณ หัสคุณไทย (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: Lime Berry

ชื่อวิทยาศาสตร์: Micromelum minutum Wight & Arn.

ชื่อวงศ์: RUTACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย AURANTIOIDEAE

สกุล: Micromelum 

สปีชีส์: minutum 

ชื่อพ้อง: 

-Aulacia falcata Lour.

-Aulacia falcifolia Stokes

-Bergera villosa Wall.

-Cookia falcata (Lour.) DC.

-Cookia punctata Hassk.

-Glycosmis subvelutina F.Muell.

-Limonia minuta G.Forst.

-Micromelum falcatum (Lour.) Tanaka

-Micromelum glabrescens Benth.

-Micromelum octandrum Turcz.

-Micromelum pubescens Blume

-Micromelum pubescens var. glabrescens (Benth.) Oliv.

-Micromelum timoriense Zipp. ex Span.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นหัสคุณไทย เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ถึง 10 เมตร ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเทา ส่วนต้นเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นตามยาว

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-15 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อใบบาง มีต่อมน้ำมันเล็ก ๆ จับดูแล้วจะรู้สึกเหนียว หลังใบเกือบเรียบถึงมีขนสั้น ๆ ส่วนท้องใบมีขนบาง ๆ ใบมีกลิ่นหอมเหมือนการบูร มีรสหอมร้อน

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกรวมแบบผสม มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉกสั้น สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน สีขาวถึงขาวแกมเขียว กลีบดอก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3-4 มิลลเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน สั้น 5 อัน ยาว 5 อัน จานฐานดอกเป็นวงแหวนขนาดเล็ก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ออกเป็นพวงโต ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวยหรือรูปไข่ขนาดเล็ก ผิวผลเรียบใส ฉ่ำน้ำ มีขนาดกว้างประมาณ 5-6 มิลลเมตร ยาวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ตามลำธาร ตามป่าโปร่งทุ่งร้างทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อน-กึ่งเขตร้อน ไปจนถึงตะวันตกเฉียงใต้ของแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ฟิจิ, ไหหลำ, ลาว,  เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, นิวแคลิโดเนีย, นีอู, ซามัว, เกาะโซโลมอน, ไทย, ตองกา, วานูอาตู, เวียดนาม, วอลลิส-ฟูตูนา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ ขับไส้เดือน

*ใบ รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง เสียดแทง แก้หืดไอ

*ดอก รสร้อน สรรพคุณ ขับเสมหะให้ลงสู่ทวารหนัก

*ผล รสร้อนเอียน สรรพคุณ ขับเสมหะให้ลงสู่ทวารหนัก

*ราก รสร้อน สรรพคุณ ขับเลือดและหนองให้ออก แก้คุดทะราด แก้ริดสีดวงจมูก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการผื่นคัน ใช้ใบ รสหอมเผ็ดร้อน นำมาตำเป็นยาทา หรือนำมาพอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง 

-ยอดและดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ ดอกอ่อนมีรสหวานมัน นิยมนำมากินกับแกงไตปลาน้ำพริกและขนมจีน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง