Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กำลังช้างเผือก (โนรา)

ชื่อท้องถิ่น: สะเลา (เชียงใหม่)/ พญาช้างเผือก (แพร่)/ กำลังช้างเผือก (ภาคเหนือ)/ แหนปีก (ภาคอีสาน)/ กะลังจ่าง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hiptage benghalensis (L.) Kurz

ชื่อวงศ์: MALPIGHIACEAE

สกุล: Hiptage

สปีชีส์: benghalensis

ชื่อพ้อง: 

-Banisteria benghalensis L.

-Banisteria tetraptera Sonn.

-Banisteria unicapsularis Lam.

-Gaertnera indica J.F.Gmel.

-Gaertnera obtusifolia (DC.) Roxb. ex G.Don

-Hiptage benghalensis var. longifolia (Nied.) R.C.Srivast.

-Hiptage javanica Blume

-Hiptage leptophylla Hayata

-Hiptage macroptera Merr.

-Hiptage madablota Gaertn.

-Hiptage malaiensis Nied.

-Hiptage obtusifolia DC.

-Hiptage parvifolia Wight & Arn.

-Hiptage pinnata Elmer

-Hiptage racemosa Oken

-Hiptage tetraptera Merr.

-Hiptage teysmannii Arènes

-Hiptage trialata Span.

-Platynema parvifolium (Wight & Arn.) D.Dietr.

-Succowia fimbriata Dennst.

-Triopterys jamaicensis Blanco

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นโนรา จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลและรวดเร็ว (เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 10 เมตร) เถาเป็นสีเขียว ลักษณะกลมเกลี้ยง เนื้อไม้แข็ง ลำต้นแตกกิ่งก้านเล็กและห้อยลง (บ้างว่าแตกกิ่งก้านสาขามาก) ทรงต้นมีรูปร่างไม่แน่นอน

กำลังช้างเผือก thai-herbs.thdata.co | กำลังช้างเผือก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ เป็นคลื่น แผ่นใบหนาและเหนียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขน มีต่อมเล็ก ๆ อยู่ใกล้ฐานใบ

กำลังช้างเผือก thai-herbs.thdata.co | กำลังช้างเผือก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน กลางดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ คล้ายกลิ่นดอกส้มโอ มีกลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน กลีบข้างจะพับลง ปลายกลีบจักเป็นฝอย กลีบดอกมักยู่ยี่ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน และมี 1 ก้าน ที่ยาวเป็นพิเศษ ส่วนกลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอก มีสีเขียวปลายแหลมเจือสีชม มี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกันพู มีกลีบหนึ่งมีต่อมนูน ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 3-4 วันแล้วก็ร่วง และจะมีดอกใหม่ทยอยบานอยู่เรื่อย ๆ

      ผล เป็นผลแห้งไม่แตก เป็นสีแดง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย ปลายแหลม มีปีก 3 ปีก ปีกกลางมีขนาดใหญ่

สภาพนิเวศวิทยา: พบบริเวณป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และป่าชายหาด ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลไปจนถึง 2,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เช่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนกลางตอนใต้, จีนตะวันออกเฉียงใต้, หิมาลายาตะวันออก, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, พม่า, เนปาล, เกาะนิโคบาร์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาตรา, ไต้หวัน, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย 

*เนื้อไม้ รสขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย บำรุงโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-แก่นใช้ดองกับเหล้าเป็นยาบำรุงกำหนัด

-แก่น รสร้อนขื่น ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการก่อนเพลีย

-เปลือกต้นนำมาตำพอกใช้รักษาแผลสด

-ใบมีรสร้อนขื่น ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง รักษาหิด รูมาติก

-แก่นและเปลือกต้นเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น

-ใบและเปลือกต้นแก้ไอ แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง 

-นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกมีความสวย ออกดอกจำนวนมากในการออกดอกแต่ละครั้ง ดอกให้กลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และในช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมากเป็นพิเศษ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง