Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มหาสดำ

ชื่อท้องถิ่น: กูดต้น (ภาคเหนือ)/ มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)/ กูดพร้าว (เชียงใหม่)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyathea podophylla (Hook.) Copel.

ชื่อวงศ์: CYATHEACEAE

สกุล:Cyathea 

สปีชีส์: podophylla

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มหาสดำ thai-herbs.thdata.co | มหาสดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

มหาสดำ thai-herbs.thdata.co | มหาสดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมหาสดำ จัดเป็นเฟิร์นต้นที่มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ตามลำต้นมีเกล็ดขึ้นปกคลุมและมีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป รากมีลักษณะเป็นเส้นแข็งสีดำค่อนข้างขรุขระ เนื้อเหง้าด้านในสีเหลือง ปนน้ำตาล 


มหาสดำ thai-herbs.thdata.co | มหาสดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มหาสดำ thai-herbs.thdata.co | มหาสดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด แกนกลางของใบประกอบไม่เรียบ มีตุ่มขรุขระทางด้านล่าง ส่วนด้านบนมีขนและเกล็ดขึ้นประปราย ก้านใบเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม ยาวได้ประมาณ 40 เซนติเมตร มีหนามสั้น ๆ ที่โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน เกล็ดมีลักษณะเป็นรูปแถบ มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ด้านบนมีขน กลุ่มใบย่อยคู่ล่างลดขนาดลงยาวได้ประมาณ 10 เซนติเมตร มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนกลุ่มใบย่อยถัดขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ปลายเรียวแหลมและมีติ่งยาว มีขนาดกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร แกนกลุ่มใบย่อยมีเกล็ดแบนสีน้ำตาลทางด้านล่าง ใบย่อยจะมีมากกว่า 25 คู่ เรียงห่างกันประมาณ 1.6 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนกึ่งตัด ส่วนขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย หยักเฉียง รูปเคียว มีขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายมน ส่วนขอบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อย เส้นกลางใบย่อยมีขนทางด้านบน ส่วนด้านล่างมีเกล็ดแบนสีน้ำตาล แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบแยกสาขาออกเป็นคู่ 7-8 คู่ ก้านใบย่อยไม่มี


มหาสดำ thai-herbs.thdata.co | มหาสดำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-อับสปอร์ มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม อยู่บนเส้นใบทั้งสองข้าง โดยจะอยู่ตรงเส้นกลางใบย่อย เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นเกล็ดเล็ก อยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์

เหง้า มีผิวด้านนอกสีน้ำตาลดำ 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1000 เมตร 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ โดยมัก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อไม้ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาล แก้ร้อนในกระหายน้ำ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ลำต้นที่สามารถนำมาใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ เนื่องจากมีกาบใบจำนวนมากช่วยให้อุ้มน้ำได้ดี




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง