Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พระขรรค์ไชยศรี (หนาวเดือนห้า, หรือฝนแสนห่า)

ชื่อท้องถิ่น: ฝนแสนห่า เหล็กเหลี่ยม, พระขรรค์ไชยศรี เถาวัลย์ปลิง หนาวเดือนห้า เครือเขาเลี่ยม (ลำปาง)/ เถาวัลย์ปลิง (ตราด)/ พูพ่อค้า(เลย)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Myxopyrum smilacifolium (Wall) Blume subsp. smilacifolium

ชื่อวงศ์: OLEACEAE

สกุล: Myxopyrum 

สปีชีส์: smilacifolium 

ชื่อพ้อง: 

-Chionanthus smilacifolius Wall.

-Chondrospermum smilacifolium (Wall.) Wall.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

พระขรรค์ไชยศรี thai-herbs.thdata.co | พระขรรค์ไชยศรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นพระขรรค์ไชยศรี เป็นไม้เถาเลื้อย มีเนื้อ กิ่งก้านเรียบ


พระขรรค์ไชยศรี thai-herbs.thdata.co | พระขรรค์ไชยศรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรีถึงรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ ขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ปลายใบมนหรือเรียวแหลม เนื้อใบเหนียว มีเส้นใบออกจากโคนใบไปจรดปลายใบ 3 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร


พระขรรค์ไชยศรี thai-herbs.thdata.co | พระขรรค์ไชยศรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ง่าม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ดอกมีกลิ่นหอม ดอกย่อยมีก้านสั้นมาก วงกลีบเลี้ยงเป็นพูรูปรี มีขนสีแดงเลี้ย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร วงกลีบดอกสีเหลือง รูประฆังเชื่อมกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร


พระขรรค์ไชยศรี thai-herbs.thdata.co | พระขรรค์ไชยศรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลสดแบบมีเนื้อนุ่ม เรียบเกลี้ยง รูปทรงกลม เมื่อสุกสีส้ม มี 2 เมล็ด ขนาดประมาณ 10-12 มิลลิเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบชื้นระดับต่ำ ป่าดิบผสม ที่ระดับความสูง 200-300 เมตร การกระจายพันธุ์ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม

ถิ่นกำเนิด: อินเดียไปจนถึงไหหลำและอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, ไหหลำ, อินเดีย, ลาว, เมียนมาร์, นิโคบาร์, ไทย, เวียดนาม

พระขรรค์ไชยศรี thai-herbs.thdata.co | พระขรรค์ไชยศรี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับเหงื่อ ระงับความร้อน เป็นยาอันตราย เพราะขับเหงื่อมาก ทำให้หนาวสั่นอาจถึงชีวิตได้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการชาตามแขนขา ใช้ลำต้นและใบแช่น้ำ ทาแก้อาการชาตามแขนขา

-ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม ลดความร้อนภายในร่างกาย

ช่วย-บำรุงร่างกาย ยาระบาย ใช้ลำต้นผสมลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น และลำต้นตากวาง ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายและบำรุงร่างกาย

-ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนาม มีการใช้เป็นสมุนไพรได้หลายส่วน คือ ลำต้นและใบ แช่น้ำ ทาแก้อาการชาตามแขนขา

-การแพทย์พื้นบ้านจีนและอินเดียใช้เป็นยาแก้หอบหืดและแก้ไอ 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง