Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ลำโพงกาสลัก

ชื่อท้องถิ่น: กาสลัก ลำโพงแดง ลำโพงดำ ลำโพงกาสลัก (ภาคกลาง)/ มะเขือบ้าดอกดำ (ลำปาง)/ ลำโพงกาลัก (ชุมพร, สุราษฎร์ธานี)

ชื่อสามัญ: Thorn Apple, Apple of Peru, Green Thorn Apple, Hindu Datura, Metel

ชื่อวิทยาศาสตร์: Datura metel L. var. fastuosa  (Bernh.) Danert.

ชื่อวงศ์: SOLANACEAE

สกุล:  Datura 

สปีชีส์: metel 

ชื่อพ้อง: Datura fastuosa

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ลำโพงกาสลัก thai-herbs.thdata.co | ลำโพงกาสลัก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นลำโพงกาสลัก จัดเป็นไม้ล้มลุก ที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีขนาดเล็กเท่าต้นมะเขือพวง มีความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร ลำต้นกลมตั้งตรง แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ต้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีม่วงดำ ลำต้นเปราะแต่เปลือกต้นเหนียว ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ แต่ใบบริเวณปลายกิ่งเกือบจะเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบคล้ายกับใบมะเขือพวงเชนกัน แผ่นใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงและเว้าเข้าหากันแต่มีขนาดไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเป็นคลื่นและหยักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร


ลำโพงกาสลัก thai-herbs.thdata.co | ลำโพงกาสลัก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบหรือส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรหรือลำโพงขนาดใหญ่ ดอกจะมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปแตรกลีบซ้อน 2-3 ชั้น ดอกเป็นสีม่วงและมีขนปกคลุม (แต่ถ้าเป็นลำโพงกาสลัก ดอกจะเป็นสีม่วงและปลายกลีบซ้อนกันประมาณ 2-3 ชั้น) โคนดอกมีกลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวหุ้มอยู่ และยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวดอก กลีบดอกยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร แตกออกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน


ลำโพงกาสลัก thai-herbs.thdata.co | ลำโพงกาสลัก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ลำโพงกาสลัก thai-herbs.thdata.co | ลำโพงกาสลัก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นลูกกลมขนาดเท่ากับผลมะเขือเปราะ แต่ปกคลุมไปด้วยหนามแหลมยาวทั้งผล ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมม่วง ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลมีขนาดโตประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อแก่จัดผลจะแตกภายในแบ่งเป็น 4 ซีก ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำและมีลักษณะแบน เป็นรูปสามเหลี่ยม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเมา สรรพคุณ พอกสีทำให้ยุบ แก้บวม อักเสบ 

*ดอกแห้ง รสเมาเบื่อ  สรรพคุณ  แก้หอบหืด โฑรงจมูกอักเสบ แก้ริดสีดวงจมูก  

*น้ำมัน (จากเมล็ด) รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ทาฆ่าเชื้อโรค แก้กลาก เกลื่อน หิด เหา จำพวกมีตัว 

*เมล็ด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ รับประทานแต่น้อยเพียงสองถึงสามเมล็ดเบารุงประสาทได้ดี มีความจำแม่น ถ้ารับประทานมากทำให้ประสาทเสีย วิกลจริตได้

*ราก รสเมาเบื่อหวานน้อย สรรพคุณ ฝนทาแก้เผ็ดร้อน ถอนพิศษ ปวดอักเสบ      แก้ปวดฝี สุมเป็นถ่าน รับประทาน แก้ไข้ร้อน ไข้กาฬ  แก้ไข้เซื่องซึม แก้กระสับกระส่าย เพ้อคลั่ง แก้หอบ แก้ไอ 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้น พบสาร อัลคาลอยด์ (Alkaloids) โดยจะพบจากดอกมากที่สุด ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Hyoscine-Lsopolamine, Hyocyamine เป็นต้น

-ใบและยอด พบสาร รอัลคาลอยด์ Hyoscine และ Hyocyamine ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง แก้หอบหืด และช่วยขยายหลอดลม

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-สารอัลคาลอยด์ Hyoscine มีฤทธิ์กดสมองหรือกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ประสาทสงบ ทำให้จิตใจสงบ ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ยาวขึ้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปจะทำให้เกิดภาพหลอน พูดจาเพ้อ มีอาการคุ้มคลั่งคล้ายกับได้รับยาทะโทรปีน (Atropine) และทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีการหายใจแรงขึ้น Hyoscine สามารถใช้ควบคุมอาการอาเจียนจากการเมารถได้

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า หากร่างกายได้รับสารรวมจากลำโพง จะถูกตับและไตดูดซึมอย่างรวดเร็ว ถ้าได้รับพิษแล้วมีอาการชัก ตาเหลือก หายใจช้าลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้หัวใจวายได้ ซึ่งจากการทดลองกับหนูทดลองในปริมาณ 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม ก็สามารถทำให้หนูตายได้

การใช้ประโยชน์:

-โรคหอบหืด ใช้ดอกนำมาหั่นตากแห้งผสมกับยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด แก้การตีบตัวของหลอดลม โดยให้ใช้สูบตอนที่มีอาการหอบหืดกำเริบ ให้สูบจนกว่าอาการจะหายไป วิธีนี้เด็กไม่ควรใช้ และและไม่ควรใช้เกินกว่า 1 กรัม มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะในขณะที่สูบ หากมีอาการดังกล่าวควรเลิกใช้ทันที หรือมักจะมีอารมณ์เคลิ้ม เกิดความคิดสับสน และต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะหมดฤทธิ์

-โรคริดสีดวงจมูก ใช้ดอกนำมาหั่นตากแห้งผสมกับยาฉุนสูบแก้อาการริดสีดวงจมูก ให้สูบจนกว่าอาการจะหายไป วิธีนี้เด็กไม่ควรใช้ และไม่ควรใช้เกินกว่า 1 กรัม มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะในขณะที่สูบ หากมีอาการดังกล่าวควรเลิกใช้ทันที หรือมักจะมีอารมณ์เคลิ้ม เกิดความคิดสับสน และต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะหมดฤทธิ์

-โรคกลากเกลื้อน หิด เหา ใช้เมล็ดนำมาหุงทำน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อโรคที่ตัว แก้กลากเกลื้อน หิด เหา

-อาการอักเสบ ใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ แก้ปวดบวมที่แผล

-อาการปวดเมื่อยหรือขัดยอก ใช้เมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาทุบให้พอกแหลก แล้วแช่กับน้ำมันพืชไว้ประมาณ 7 วัน (เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ฯลฯ) ใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยหรือขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวด



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง