Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักหูปลาช่อน

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Cupid’s shaving brush, Emilia, Sow thistle

ชื่อวิทยาศาสตร์: Emilia sonchifolia (L.) DC. ex DC.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Emilia 

สปีชีส์: sonchifolia

ชื่อพ้อง: 

-Cacalia glabra B.Heyne

-Cacalia prenanthoides Sieber ex DC.

-Cacalia sonchifolia L.

-Crassocephalum sonchifolium (L.) Less.

-Emilia mucronata Wall.

-Emilia purpurea Cass.

-Emilia rigidula DC.

-Emilia scabra DC.

-Emilia sinica Miq.

-Emilia sonchifolia var. typica Domin

-Gynura ecalyculata DC.

-Prenanthes sarmentosa Wall.

-Senecio ecalyculatus Sch.Bip.

-Senecio rapae F.Br.

-Senecio sonchifolius Moench

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักหูปลาช่อน thai-herbs.thdata.co | ผักหูปลาช่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักหูปลาช่อน เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรง มีมีสีเขียวแกมม่วง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ลำต้นปกคลุมไปด้วยขนนุ่มทั่วไป 


ผักหูปลาช่อน thai-herbs.thdata.co | ผักหูปลาช่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะห่อหุ้มลำต้นอยู่ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ส่วนขอบใบโค้งหยักเล็กน้อยหรือหยักเว้า มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีม่วงแดง ใบที่โคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่บนยอด ใบบนเป็นรูปหอกโคนเว้าขอบจักแคบ ไม่มีก้านใบ


ผักหูปลาช่อน thai-herbs.thdata.co | ผักหูปลาช่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามบริเวณกลางลำต้นหรือยอดต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร และก้านช่อดอกมักแบ่งออกเป็น 2 แขนง มีดอกย่อยประมาณ 20-45 ดอก ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 12-14 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ดอกเป็นสีแดงม่วงมี 5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน


ผักหูปลาช่อน thai-herbs.thdata.co | ผักหูปลาช่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลเดี่ยว รูปทรงกระบอ กยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เปลือกผลแข็งมีจรสีขาวปกคลุมที่เส้นสันผิวเปลือก ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก เมล็ดล่อน สีน้ำตาล และมีขน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่ชื้น ทุ่งหญ้าโล่ง หรือขึ้นปะปนกับวัชพืชทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักหูปลาช่อน thai-herbs.thdata.co | ผักหูปลาช่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสจืดเหม็นเขียวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้พิษตานซางแก้ฝีตานซาง เม็ดผื่นคัน แก้ตัวร้อน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสารจำพวก Alkaloid และ Phenols เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ระงับอาการปวด จากการศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดของต้นหูปลาช่อน โดยป้อนสารสกัดไฮโดรเอทาโนลิคจากส่วนของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือดินให้แก่หนูเมาส์ในขนาด 30, 100 และ 300 มก./กก. 1 ชั่วโมง ก่อนนำหนูไปกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองของหนูต่อสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และเปรียบเทียบผลที่ได้กับหนูที่ถูกป้อนด้วยยาระงับอาการปวดชนิดอื่น ๆ และหนูที่ไม่ได้รับยาชนิดใด ๆ เลย ผลการทดลองพบว่าสารสกัดไฮโดรเอทาโนลิคจากต้นหูปลาช่อนในขนาด 100 และ 300 มก./กก. มีผลระงับอาการเจ็บปวดของหนูได้ในทุกรูปแบบของการทดลอง และยังให้ผลดีกว่าการใช้มอร์ฟีน จึงแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งอาการเจ็บปวดได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคตานซางขโมยในเด็กใช้รากสดประมาณ 10 กรัม นำมานึ่งกับเนื้อหมูแดงให้เด็กกิน

-อาการเจ็บคอ คอตีบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสด 30-90 กรัม ส่วนแห้งใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มน้ำดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง 

-อาการปวดบิด ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แก้ท้องร่วง ใช้ลำต้นสดประมาณ 30-90 กรัม ส่วนแห้งใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มน้ำดื่ม

-โรคเริมใช้ต้นสดนำมาพอกบริเวณที่เป็น และให้เปลี่ยนยาวันละครั้ง 

-อาการคลอดอักเสบหรือคัน ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วใช้ชะล้าง

-โรคฝีฝักบัว ใช้ลำต้นสดต้นสดใช้ 30-90 กรัม ส่วนแห้งใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มน้ำดื่ม

-อาการผดผื่นคัน ฝีต่าง ๆ ใช้ลำต้นสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำนำมาพอกหรือทาบริเวณที่มีอาการ

-ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือลาบได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง