Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านหางช้าง

ชื่อท้องถิ่น: ว่านมีดยับ ว่านแม่ยับ (ภาคเหนือ)/ ว่านหางช้าง (คนเมือง)/ ตื่นเจะ (ม้ง)/ ว่านพัดแม่ชีม เชื่อกัง (จีน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Blackberry lily, Leopard lily (Leopard flower)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Iris domestica (L.) Goldblatt & Mabb.

ชื่อวงศ์: IRIDACEAE

สกุล: Iris 

สปีชีส์: domestica

ชื่อพ้อง: 

-Belamcanda chinensis (L.) Redouté

-Belamcanda chinensis var. taiwanensis S.S.Ying

-Belamcanda flabellata Grey

-Belamcanda pampaninii H.Lév.

-Belamcanda punctata Moench

-Bermudiana guttata Stokes

-Ferraria crocea Salisb.

-Gemmingia chinensis (L.) Kuntze

-Ixia chinensis L.

-Ixia ensifolia Noronha

-Moraea chinensis (L.) Thunb.

-Moraea guttata (Stokes) Stokes

-Pardanthus chinensis (L.) Ker Gawl.

-Pardanthus nepalensis Sweet

-Pardanthus sinensis Van Houtte

-Epidendrum domesticum L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นว่านหางช้าง จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดินและมีรากมาก มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร  มีเหง้าเลื้อยไปตามแนวขนานกับพื้นดิน 


ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นมาจากเหง้า ใบมักจะออกหนาแน่นตรงโคนของลำต้น เรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ใบที่อยู่ส่วนบนของลำต้นจะมีขนาดเล็กกว่าและเรียงกันห่าง ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปดาบ ความกว้างของใบประมาณ 2-4.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา


ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย   

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอด แกนช่อแตกแขนง ดอกออกที่ปลายแขนง 6-12 ดอก ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร อาจตรงหรือโค้งเล็กน้อย เมื่อดอกร่วงก้านดอกยังคงอยู่ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็นกลีบลักษณะรูปขอบขนาน 6 กลีบ ยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เรียงกันเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ โดยกลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย เมื่อดอกบานกลีบดอกจะกางออก โคนกลีบมีลักษณะสอบแคบจนเป็นก้าน ด้านนอกมีสีเหลือง ส่วนด้านในและขอบกลีบมีสีส้ม มีจุดประสีแดงเข้ม ๆ กลีบชั้นนอกจะมีต่อมเป็นร่องยาว 1 ต่อม มีสีแดงเข้ม ดอกมีเกสรตัวผู้ 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูเป็นรูปยาวแคบ รังไข่เป็นพู 3 พู รูปยาวปลายใหญ่กว่าโคน เกลี้ยง ส่วนเกสรตัวเมียจะยาวโค้ง แต่จะสั้นกว่ากลีบดอก ที่ปลายเกสรตัวเมียมี 3 อัน ติดกัน


ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เป็นพูลึก 3 พู เปลือกผลบาง ผลเมื่อแก่จะแตกอ้าออกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดอยู่พูละ 3-8 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม มีสีดำและผิวเป็นมัน มีขนานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์: -

ว่านหางช้าง thai-herbs.thdata.co | ว่านหางช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รสร้อนขมขื่นซ่า สรรพคุณ แก้คุณอันบุคคลทำด้วยกระดูกผีคุณคน ใบต้มระบาย อุจจาระธาตุ แก้ระดูสตรีพิการ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ โดย Tectoridin และ Tectorigenin และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ Hyaluronidase จึงช่วยรักษาอาการบวมอักเสบของหนูใหญ่อันเนื่องมาจากเอนไซม์ Hyaluronidase

-ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยน้ำต้มที่ได้จากการสกัดหรือน้ำแช่สกัดจากเหง้า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลาก (Tinea) และยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดหนอง รวมทั้งเชื้อที่ทำให้เกิดคออักเสบ

-ฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย และกระตุ้นการสร้างเอสโตรเจน  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำจากเหง้ามีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำลายในกระต่าย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างเอสโตรเจนอีกด้วย แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันอาการอักเสบของหนูเล็กที่เกิดจากการฉายรังสีเอ็กซ์ในความเข้มสูงได้ และไม่มีฤทธิ์ในการเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ (จำพวกฟีโนบาร์บิโทน)

-ฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิต สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหล้า เมื่อฉีดเข้ากระต่ายบ้านจะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคคางทูม ใช้เหง้าสดประมาณ 10-15 กรัม นำไปต้มน้ำดื่มหลังอาหารวันละ 2 เวลา

-อาการไอหรืออาการหอบหืด ใช้เหง้าแห้งประมาณ 6 กรัม, ขิงแห้ง 3 กรัม, ลูกพรุนจีน 4 ผล, มั่วอึ้งแห้ง 3 กรัม, โส่ยชินแห้ง 2 กรัม, โงวบี่จี้แห้ง 2 กรัม, จี่อ้วงแห้ง 10 กรัม, จี้ปั้วแห่แห้ง 10 กรัม, และค่วงตังฮวยแห้ง 6 กรัม, นำทั้งหมดมาต้มรวมกัน แล้วเอาแต่น้ำที่ได้มาดื่ม

-อาการเจ็บคอ ใช้รากหรือเหง้าสดประมาณ 5-10 กรัม (ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 3-6 กรัม) นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เหง้าสดประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำชุบสำลีอมแล้วกลืนแต่น้ำช้า ๆ

-อาการประจำเดือนไม่ปกติของสตรี ใช้ใบ 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน 

-อาการผดผื่นคันมีน้ำเหลืองที่ขาเนื่องจากการทำยา ใช้เหง้าแห้งใส่น้ำต้มจนเดือดผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น 

-อาการประคำร้อย ใช้เหง้าแห้ง แห่โกวเช่าแห้ง เหลี่ยงเคี้ยว อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดเป็นผง ใช้ผสมทำเป็นยาเม็ดไว้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 3 กรัม

-อาการฝีที่เต้านมบวมมีหนองในระยะเริ่มแรก ช้เหง้าแห้ง 1 เหง้าและรากดอกไม้จีนประมาณ 10 กรัม นำมาบดรวมกันให้เป็นผง แล้วใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน

-ช่วยบายอุจจาระ ใช้ใบว่านหางช้าง 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน

-นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นว่านหางช้างมีความโดดเด่นสวยงาม มีลำต้นที่สูงยาวสีเหลืองเปรียบเสมือนทอง และมีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมโชคลาภ ความสง่างาม เสริมสง่าราศีให้แก่เจ้าบ้าน และยังใช้เพื่อช่วยปรับฮวงจุ้ยตามหลักความเชื่อของชาวจีน

-ในด้านความเชื่อ เชื่อว่าว่านหางช้างเป็นว่านมหาคุณ เมื่อนำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลเข้าบ้าน ช่วยป้องกันภัยจากอันตรายต่าง ๆ ส่วนทางภาคอีสานเชื่อว่าเป็นว่านสิริมงคล หากแม่บ้านกำลังจะคลอดบุตร ให้ใช้ว่านหางช้างมาพัดโบกที่ท้องก็จะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น

-ในด้านความเชื่อ นำมาใช้ในด้านคุณไสยได้อีกด้วย โดยใช้ดอกแก้ไสยคุณที่เกิดจากการกระทำจากผม ส่วนใบใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากเนื้อ ส่วนต้นใช้แก้ไสยคุณอันเกิดจากการกระทำจากกระดูก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง