Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ thai-herbs.thdata.co | เหงือกปลาหมอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น:  อีเกร็ง (ภาคกลาง)/ แก้มหมอ (สตูล)/ แก้มหมอเล (กระบี่)/ นางเกร็ง จะเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ชื่อสามัญ: Sea holly, Thistleplike plant

ชื่อวิทยาศาสตร์: 

-พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (Acanthus ilicifolius L.) 

-พันธุ์ดอกสีขาว (Acanthus ebracteatus Vahl)

ชื่อวงศ์:  ACANTHACEAE

สกุล: Acanthus 

สปีชีส์: 

-พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (ilicifolius) 

-พันธุ์ดอกสีขาว (ebracteatus) 

ชื่อพ้อง: 

-Acanthus doloarin Blanco

-Acanthus ebracteatus var. xiamenensis (R.T.Zhang) C.Y.Wu & C.C.Hu

-Acanthus ilicifolius var. subinteger Nees

-Acanthus ilicifolius var. typica Domin

-Acanthus ilicifolius var. xiamenensis (R.T.Zhang) Y.F.Deng, N.H.Xia & Heng B.Chen

-Acanthus neoguineensis Engl.

-Acanthus xiamenensis R.T.Zhang

-Dilivaria ilicifolia (L.) J.St.-Hil.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เหงือกปลาหมอ thai-herbs.thdata.co | เหงือกปลาหมอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเหงือกปลาหมอ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น


เหงือกปลาหมอ thai-herbs.thdata.co | เหงือกปลาหมอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่

ผล ลักษณะของผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบบริเวณป่าชายเลน ชายน้ำริมลำคลอง ชายฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำเค็ม-น้ำกร่อยขึ้น หรือที่ชุ่มชื้นทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันตกเเฉียงใต้ไปจนถึงแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามันอ, บังกลาเทศ, หมู่เกาะบิสมาร์ก, เกาะบอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดา, มาลายา, มาลูกู, เมียนมาร์, นิวแคลิโดเนีย, นิวกินี, หมู่เกาะนิโคบาร์, ดินแดนทางเหนือ, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, หมู่เกาะแอนตาครูซ, โซโลมอนคือ, ศรีลังกา, สุมาตรา, ไทย, วานูอาตู, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการใช้กิ่งปักชำ 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ตำพอกรักษาโรคปวดบวมและแผลอักเสบ

*ใบอ่อน ต้มกับเปลือกต้นอบเชย รับประทานแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ

*ลูก รสร้อน สรรพคุณ ขับโลหิตอย่างแรง แก้ฝีตานซาง

*ราก รสเฝื่อนเค็ม สรรพคุณ ต้มอาบแก้พาไข้หัวผื่นคัน แก้โรคผิวหนังทุกชนิด

*ต้น มัดตำให้ละเอียด พอกปิดแผลเรื้อรัง ถอนพิษ รับประทานแก้พิษฝีดาษ เป็นยาตัดรากฝี ใช้ทั้ง 5 รสร้อน สรรพคุณ แก้ไข้หัว แก้พาฝี แก้พิษกาฬได้ดีมาก

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสาร : alpha-amyrin, beta-amyrin, ursolic acid apigenin-7-O-beta-D-glucuronide, methyl apigenin-7-O-beta-glucuronate campesterol, 28-isofucosterol, beta-sitosterol ในรากพบสาร : benzoxazoline-2-one, daucosterol, octacosan-1-ol, stigmasterol ทั้งต้นพบสาร : acanthicifoline, lupeol, oleanolic acid, quercetin, isoquercetin, trigonelline, dimeric oxazolinone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดการอักเสบ ทดสอบน้ำสกัดจากใบแห้ง ความเข้มข้น 500 มคก./มล. กับหนูขาว พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยไปยับยั้งการสร้าง leukotriene B-4 แต่สารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์เป็น serotonin antagonist เมื่อเร็วๆ นี้ มีงานวิจัยว่าสารสกัดด้วยเอทานอลจากทั้งต้น ขนาด 500 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้ง 5-lipoxygenase activity ด้วยกลไกในการลดการสร้าง leukotriene B-4 ถึง 64% และสารสกัดด้วยน้ำ ขนาด 500 มคก./มล. ลดได้ 44%และมีการวิเคราะห์สารสำคัญของเหงือกปลาหมอดอกม่วงที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าสารนั้นเป็นพวก dimeric oxazolinone ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น 5,5¢-bis-benzoxazoline-2,2¢-dione

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีการทดสอบสารสกัดเอทานอล (90%) จากทั้งต้นแห้ง (ไม่ทราบความเข้มข้น) กับ Staphylococcus aureus พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์ แต่การทดสอบเมล็ดเหงือกปลาหมอ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus

-ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น มีการทดสอบสารสกัดอัลกอฮอล์จากใบของเหงือกปลาหมอดอกม่วง พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น superoxide radical, hydroxyl radical, nitric oxide radical และ lipid peroxide เป็นต้น นอกจากนี้สารสกัดจากส่วนผลด้วยเมทานอล เมื่อทดสอบในหนูถีบจักร พบฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ โดยมีขนาดที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) คือ 79.67 มคล./มล. และพบฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxide โดยขนาดที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) คือ 38.4 มคล./มล.

-ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับการเพิ่มภูมิต้านทาน มีการนำสารสกัดน้ำอย่างหยาบจากรากของเหงือกปลาหมอมาทำให้กึ่งบริสุทธิ์ โดยวิธี gel filtration (Sephadex G-25) เพื่อศึกษาฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันที่มีต่อ mononuclear cell (PMBC) ของคนปกติ 20 ราย โดยวัดผลการศึกษาจาก H3-thymidine uptake พบว่าสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ของเหงือกปลาหมอดอกม่วง ที่ความเข้มข้นต่ำ (10 มคก./มล.) สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของ lymphocytes ได้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-เมื่อให้สารสกัดลำต้นแห้งด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ขนาดความเข้มข้น 5 ซีซี/จานเพาะเชื้อ ไม่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ ใน Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 แต่เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำจากส่วนรากกับหนูเพศเมียขนาด 2.7 และ 13.5 ก./กก. เป็นเวลา 12 เดือน พบความเป็นพิษต่อตับในหนูทดลอง หลักฐานความเป็นพิษและยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยววกับการทดสอบความเป็นพิษของเหงือกปลาหมออีกหลายชิ้นระบุว่า เมื่อฉีดสารสกัดพืชทั้งต้นด้วยเอทานอล (90%) เข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 1 ก./กก. ส่วนสารสกัดใบด้วยเมทานอลและน้ำ (1:1) ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้ ค่า LD50 มีค่ามากกว่า 1 ก./กก. และสารสกัดจากใบร่วมกับต้นด้วยเมทานอลและน้ำ (1:1) ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้เช่นเดียวกัน ค่า LD50 เท่ากับ 750 มก./กก. สารสกัดจากต้นด้วยเมทานอลและน้ำ (1:1) ค่า LD50 มีค่ามากกว่า 1 ก./กก. เมื่อกรอกสารสกัดใบร่วมกับก้านใบ ลำต้น รากแห้ง ด้วยน้ำหรือน้ำร้อน หรือฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร (ไม่ระบุขนาด) ไม่ทำให้เกิดพิษ และเมื่อกรอกสารสกัดรากแห้งด้วยน้ำให้หนูถีบจักร ในขนาด 0.013 มก./สัตว์ทดลอง ไม่พบพิษ อีกทั้งมีการศึกษาถึงพิษของเหงือกปลาหมอดอกม่วงแบบเฉียบพลันและแบบกึ่งเฉียบพลันในหนูพันธุ์สวิส โดยใช้ส่วนสกัดจากใบและรากแยกกัน ในขนาดความเข้มข้นต่างๆ พบว่า สารสกัดดังกล่าวไม่มีพิษอย่างเฉียบพลัน แต่การใช้เหงือกปลาหมอในขนาดสูงๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินปัสสาวะได้ รวมถึงมีการทดสอบนำสารสกัดจากรากเหงือกปลาหมอกับ mononuclear cell (PMBC) ของคนในหลอดทดลองโดยใช้สารสกัดอย่างหยาบ พบว่าสารสกัดดังกล่าว ขนาด 100 มคก./มล. เป็นพิษต่อ PBMC (P< 0.05) แต่เมื่อนำสารสกัดหยาบมาทำให้กึ่งบริสุทธิ์โดยวิธี gel filtration (Sephadex G-25) พบว่าสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ที่ได้ไม่เป็นพิษต่อ PMBC ที่เลี้ยงไว้ในหลอดทดลองถึงแม้จะใช้ในความเข้มข้น 1,000 มคก./มล.การต้านการฝังตัวของตัวอ่อนให้สารสกัดเอทานอล (90%) ขนาด 100 มก./กก. กับหนูขาวที่ท้อง พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน

การใช้ประโยชน์:

-ใบ แก้ผื่นคัน นำใบและต้นสดประมาณ 3-4 กำมือนำมาสับต้นน้ำอาบเป็นประจำ 3-4 ครั้ง

-ทั้งต้น แก้ผิวแตกทั้งตัว นำทั้งต้นของเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน และดีปลี 1 ส่วน ใช้ผสมกันบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่ม 

-ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด รักษามุตกิดระดูขาว นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

-ต้น ใบและเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสียแก้แผลผุพอง เป็นฝีบ่อยๆ นำต้น ใบและเมล็ดต้มกับน้ำอาบ

-ต้นเหงือกปลาหมอ ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอีกด้วย เช่น  สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม แม้กระทั่งแชมพูของสุนัข 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง