Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าดอกขาว (หมอน้อย)

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าสามวัน (เชียงใหม่)/ เสือสามขา (ตราด)/ ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก (เลย)/ ก้านธูป ต้นก้านธูป (จันทบุรี)/ หนาดหนา (ชัยภูมิ)/ หญ้าละออง หญ้าดอกขาว หญ้าหมอน้อย หมอน้อย (กรุงเทพฯ)/ เซียวซัวโห้ว เซียหั่งเช่า (จีนแต้จิ๋ว)/ เย่เซียงหนิว เซียวซานหู่ เซียวซัวเฮา ซางหางฉ่าว (จีนกลาง)/ ผ้ำสามวัน ม่านพระอินทร์ ยาไม่ต้องย่าง (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed, Purple fleabane, Purple-flowered fleabane.

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyanthillium cinereum (L.) H.Rob.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Cyanthillium 

สปีชีส์: cinereum

ชื่อพ้อง: 

-Blumea chinensis (L.) DC.

-Blumea esquirolii H.Lév. & Vaniot

-Cacalia cinerea (L.) Kuntze

-Cacalia erigerodes Kuntze

-Cacalia exilis Kuntze

-Cacalia kroneana Kuntze

-Cacalia rotundifolia Willd.

-Calea cordata Lour.

-Centratherum chinense (L.) Less.

-Chrysocoma violacea Schumach. & Thonn.

-Cineraria glaberrima Spreng. ex DC.

-Claotrachelus rupestris Zoll. & Moritzi

-Conyza abbreviata Wall.

-Conyza bellidifolia Wall.

-Conyza chinensis L.

-Conyza cinerascens Wall.

-Conyza cinerea L.

-Conyza elegantula Wall.

-Conyza heterophylla Lam.

-Conyza incana Wall.

-Conyza incana B.Heyne ex DC.

-Conyza ivifolia Burm.f.

-Conyza mollis Willd.

-Conyza prolifera Lam.

-Conyza sinensis J.F.Gmel.

-Crassocephalum flatmense Hochst. & Steud. ex DC.

-Cyanopis erigeroides DC.

-Cyanopsis decurrens Zoll. & Moritzi

-Cyanthillium chinense (L.) Gleason

-Cyanthillium cinereum var. ovatum Isawumi

-Erigeron pisonis Burm.f.

-Eupatorium arboreum Reinw. ex de Vriese

-Eupatorium myosotifolium Jacq.

-Isomeria chinensis Wight ex DC.

-Isomeria cinerea Wight ex DC.

-Leveillea chinensis Vaniot

-Monosis elaeagnoides Kunth

-Placus chinensis Baill.

-Placus chinensis Kuntze

-Pteronia tomentosa Lour.

-Seneciodes cinereum (L.) Kuntze

-Serratula cinerea (L.) Roxb.

-Vernonia abbreviata DC.

-Vernonia apocynifolia Baker

-Vernonia betonicifolia Baker

-Vernonia cinerea (L.) Less.

-Vernonia cinerea var. erigeroides (DC.) Domin

-Vernonia cinerea var. lentii (Volkens & O.Hoffm.) C.Jeffrey

-Vernonia cyanonioides Walp.

-Vernonia cyanonioides

-Vernonia dendigulensis DC.

-Vernonia diffusa Decne.

-Vernonia erigeroides (DC.) DC.

-Vernonia exilis Miq.

-Vernonia fasciculata Blume

-Vernonia kroneana Miq.

-Vernonia lastii Engl.

-Vernonia laxiflora Less.

-Vernonia lentii Volkens & O.Hoffm.

-Vernonia leptophylla DC.

-Vernonia physalifolia DC.

-Vernonia rhomboidea Edgew.

-Vernonia sinulata Miq.

-Vernonia villosa W.Wight

-Vernonia zollingeriana Sch.Bip.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าดอกขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าดอกขาว เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ


หญ้าดอกขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน ใบที่บริเวณโคนต้นมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่ปลายยอด


หญ้าดอกขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น กว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-35 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่สีดอกจะจางลง พอกดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกร่วงโรยแล้วจะเห็นผลเป็นรูปทรงกระบอก


หญ้าดอกขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน มีเมล็ดเดียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็งและแห้งไม่แตก ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นพู่แตกบาน ช่วยทำให้เมล็ดลอยไปตามลมได้

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้า ที่รกร้าง และทุ่งนาชายป่า

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าดอกขาว thai-herbs.thdata.co | หญ้าดอกขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสขื่นเล็กน้อย สรรพคุณ ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ

*ใบสด รสเย็น สรรพคุณ ตำพอก ถอนพิษ แก้อักเสบ 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นหญ้าดอกขาว พบสารกลุ่ม sterols,triyerpenoid,flavonoids และ saponin เช่น องค์ประกอบทางเคมี liiteolin-7-mono- ß – d- glucopyranoside, quercetrin, luteolin และ kaempferol, ß-amyrin, lupeol, ß-sitosterol, stigma sterol, α-spinasterol, resin, potassium chloride, Potassium nitrate, Succinic acid, Lupeol palmitate, Lupeol acetate, Taraxer, Diosmetin, α-amyrin , Chlorogenic acid, Hirsutidin, Quinic acid, Campesterol,Gallic acid, Lutin, Cafeic acid, Ferulic acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดไข้  ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาคุณสมบัติของหญ้าดอกขาวในด้านนี้ โดยทดลองฉีดสารที่ทำให้หนูมีไข้แล้วให้กินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 250 และ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าอุณหภูมิในร่างกายของหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังพบว่าสารสกัดจากหญ้าดอกขาวปริมาณ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมมีฤทธิ์ลดไข้คล้ายกับยาพาราเซตามอล

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีงานวิจัย ที่ทดลองฉีดสารเข้าชั้นผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าเพื่อทำให้หนูเกิดอาการข้ออักเสบ จากนั้นให้หนูกินสารสกัดจากดอกของหญ้าดอกขาว 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวช่วยลดอาการบวมที่อุ้งเท้าและบรรเทาอาการอักเสบได้ เช่นเดียวกับอีกหนึ่งงานวิจัยที่นำหนูที่มีอาการบวมบริเวณอุ้งเท้ามาศึกษาโดยให้กินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 250 หรือ 500 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าการอักเสบก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

-ฤทธิ์รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ  มีงานวิจัยหนึ่งศึกษาคุณสมบัติของหญ้าดอกขาวด้านการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ โดยให้หนูที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะกินสารสกัดจากหญ้าดอกขาว 400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีส่วนช่วยขับปัสสาวะ และลดระดับความเข้มข้นของสารที่เป็นส่วนประกอบของนิ่วอย่างแคลเซียม ออกซาเลต และฟอสเฟต

-ฤทธิ์ลดการสูบบุหรี่ การศึกษาวิจัยประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในการลดการสูบบุหรี่พบว่าหญ้าดอกขาวสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ลงได้มากกว่ากลุ่มควบคุม และพบว่าสมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบการนำไปเคี่ยวคือกำนำหญ้าดอกขาวแห้ง20กรัม ผสมกับน้ำ 3 แก้วต้มเคี่ยวจนเหลือเพียง 1 แก้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1 - 2 นาทีแล้วกลืนจากนั้นจึงสูบบุหรี่พบว่ารสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่ในที่สุดและลำจำนวนของมวนบุหรี่ที่ใช้สูบต่อวันได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 - 2 สัปดาห์ไม่ว่าจะสูบเบาหรือสูบหนักมาก่อนก็ตาม และจากการวิจัยพบว่าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ถึง60 % และหากออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 62 % และที่สำคัญยังช่วยทำให้คนเลิกบุหรี่ได้สูงถึง 60 - 70 % หากออกกำลังกายร่วมด้วย12 จากการศึกษาการใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในผู้สูบบุหรี่ 50 รายร่วมกับการออกกำลังกายเป็นเวลา 2 เดือนพบว่าสามารถลดจำนวนการสูบบุหรี่ลงได้มากถึงร้อยละ 62.7 และหากใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวติดต่อ 6 เดือนจะช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 73.3 โดยสารในหญ้าดอกขาวทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นเกิดอาการชาไม่รู้สึกอยากบุหรี่รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่เมื่อสูบบุหรี่แล้วรู้สึกอยากอาเจียนแต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นอาการคอแห้งปากแห้งขณะเดียวกันทีมวิจัยได้ทดสอบหญ้าดอกขาวในรูปแบบสกัดเป็นลูกอมเพื่อให้ง่ายต่อการใช้โดยนำไปเปรียบเทียบกับการรับประทานแบบชาสมุนไพรผลการศึกษาพบว่า การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบเม็ดจากสารสกัดแห้งสามารถช่วยทำให้กลุ่มคนสูบบุหรี่เลิกบุหรี่ได้เร็วกว่าสมุนไพรแบบชงชาทั่วไป โดยกลุ่มที่ใช้ลูกอมสมุนไพรสามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงร้อยละ 50 ภายใน 3 - 11 วันส่วนกลุ่มที่ใช้ชาสมุนไพรใช้เวลา 8 - 14 วัน

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่าสารสกัดในเมทานอลไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ทางปาก โดยมีค่า LD50 สูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อให้สารสกัดทั้งต้นด้วย 50% เอธานอลฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร โดยใช้ขนาดยาเริ่มต้น 400-500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมปรับขนาดยาตามอาการทนได้ของสัตว์ทดลอง พบว่าขนาดยาสูงสุดที่ยังไม่เกิดอาการพิษของหญ้าดอกขาวคือ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งต่อมามีการศึกษา โดยใช้สารสกัดทั้งต้นด้วยเมทานอลในขนาดสูง 2000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมใส่ในหนูถีบจักร สังเกตอาการถึง 14 วัน ไม่พบความผิดปกติของอาการใดๆและนำมาตรวจชันสูตรซากก็ไม่พบความผิดปกติของตับ ปอด ม้าม และไต

-ส่วนสารสกัดอัลกอฮอล์ : น้ำ (1:1) จากทั้งต้น ขนาด 20 มคก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง CA-9KB (1)  สารสกัดจากทั้งต้น ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% เท่ากับ 1.874 ก./กก.

การใช้ประโยชน์:

-ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ใช้ดื่มต่างน้ำชาเป็นยาบำรุงเลือด แก้ตกเลือด 

-ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นและรากหญ้าดอกขาว นำมาตากแห้งบดเป็นผง ใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง และใช้ห้ามเลือด

-ตำรับยาแก้ผ้ำหรืออาการติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึก ๆ คล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี ใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มเอาไอรมแผลบริเวณเป็น เมื่อยาเย็นลงแล้วให้เอาน้ำต้มยามาล้างแผล 1 วัน รม 3 ครั้ง 3 วันก็จะหาย โดยให้ใช้ยาหม้อเดิมทั้ง 3 วัน

-ตำรับยาแก้ฟกช้ำ ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น ฝาง บัวบก ยาหัว และเถาไม้กระเบื้องต้น (แก้มขาว) นำมาต้มกับน้ำกินจนหาย

-ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ ใช้คนทีเขมาแห้ง ใบไทรย้อยใบทู่แห้ง และรากบ่อฮ๋วมแห้ง อย่างละ 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำดื่ม

-ตำรับยาลดความดันโลหิตสูงอีกวิธีให้ใช้ลำต้นแห้งของหญ้าดอกขาว ต้นแห้งของสะพานก๊น และต้นแห้งของส้มดิน อย่างละ 15 กรัม เท่ากัน นำมารวมกันแล้วต้มเอาน้ำดื่ม

-โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ใช้ทั้งต้นนำมาตากแห้งไว้ต้มดื่มเป็นประจำ

-โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคัน ใช้ใบตำพอกแก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง หรือเมล็ดใช้ตำพอกหรือนำมาป่นชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเรื้อรัง ผิวหนังด่างขาว

-อาการไอ ไอเรื้อรัง ใช้เมล็ดนำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ไอ ไอเรื้อรัง หรือจะใช้รากนำมานำมาต้มเอาน้ำกินก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเรื้อรังเช่นกัน ถ้าเป็นรากสดใช้ 30-60 กรัม ถ้าเป็นรากแห้งใช้ 15-30 กรัม

-อาการท้องอืดท้ิงเฟ้อ ใช้ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือใช้เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ท้องอืด

-แผลเบาหวาน ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นรวมรากประมาณ 1-2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 6-8 แก้ว เมื่อยาเดือด ก็ปล่อยให้เดือดกรุ่นไปสัก 5-10 นาที จนได้น้ำยาสีเหลืองแบบชา หรือจะตากแห้งนำมาต้มหรือใช้ชงกินต่างน้ำชา

-ช่วยขับพยาธิ ใช้รากสด 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกิน ( หรือเมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย

-ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ใช้รากสด 30-60 กรัม ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด 

-อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่า ใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มกินเช่นเดียวกับการรักษาแผลเบาหวาน

-ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อย ๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

-ในกัมพูชาจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาลดไข้ในผู้ป่วยโรคมาลาเรีย เป็นต้น

-ในอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากหญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะขัดในเด็ก บรรเทาอาการไอ ส่วนเมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น

-ปัจจุบันมีการใช้หญ้าดอกขาวเป็นยาแก้อาการติดบุหรี่ เพราะกินแล้วจะทำให้เหม็นบุหรี่และไม่อยากสูบบุหรี่อีก ซึ่งทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งนำหญ้าดอกขาวไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการจดสิทธิบัตรในอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น ที่ใช้สารสกัดจากหญ้าดอกขาวใส่ลงไปในก้นกรองของบุหรี่เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่





ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง