Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านนางคำ

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Wild Turmeric

ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma aromatica Salisb.

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

สกุล: Curcuma 

สปีชีส์: aromatica

ชื่อพ้อง: 

-Curcuma wenyujin Y.H.Chen & C.Ling

-Curcuma zedoaria Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ว่านนางคำ thai-herbs.thdata.co | ว่านนางคำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นว่านนางคำ เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและหัวสีเหลืองอยู่ใต้ดิน มีลำต้นแทงขึ้นมาจากหัว หัวมีกลิ่นหอม แตกแขนงเป็นแง่งคล้ายขมิ้นชัน เนื้อในเมื่อหักดูจะมีสีเหลืองเข้มหรือสีทองดูสวยงาม 


ว่านนางคำ thai-herbs.thdata.co | ว่านนางคำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเขียว ออกเป็นกระจุกใกล้กับรากประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม ใต้ท้องใบมีขน ใบมีความกว้างประมาณ 10-14 เซนติเมตรและยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร


ว่านนางคำ thai-herbs.thdata.co | ว่านนางคำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า มีช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีใบประดับที่ปลายช่อมีสีชมพู ใบประดับที่รองรับมีดอกสีขาวแกมสีเขียว ปลายโค้งยาวได้ถึง 6 เซนติเมตร ส่วนใบประดับย่อยมีสีขาว ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาวแกมชมพู แฉกกลางเป็นรูปไข่กว้าง แฉกข้างเป็นรูปขอบขนาน กลีบปากเป็นรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก มีสีเหลืองเข้ม

ผล -

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อนุทวีปอินเดียจนถึงตอนกลางของจีนตอนกลาง

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังคลาเทศ, จีนใต้-กลาง, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, อินเดีย, เมียนมาร์, เนปาล, ศรีลังกา, ไทย, ทิเบต, เวียดนาม, จีนตอนใต้, ไห่หนาน

ว่านนางคำ thai-herbs.thdata.co | ว่านนางคำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยหัวเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสร้อนฝาดเฝื่อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้กามโรค เม็ดผื่นคัน คุมธาตุ ตำพอก แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก

*ราก รสขื่นฝาด สรรพคุณ สมานแผล คุมธาตุ ขับเสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นว่านนางคำ พบสาร เช่น germacrone, curzerenone, furanodienone , sirtlin, curcumenone, curcumalactone, curdione, (1R,10R)-epoxycurdione, zederone, curcumolide , procurcumenol ,zedoarondiol, epiprocurcumenol, isoprocurcumenol , neoprocurcumenol , acetoxyneocurdione , β-elemene , curcumadione, isocurcumadione เป็นต้น

-น้ำมันหอมระเหย พบสาร เช่น  Curcumene , Sabinene ,Linalool ,Caryophyllene,α-phellandrene, 1,8-cineole ,Methyl hatanone ,Cucuminoid ,  Camphor ,  Borneol และIsoborneol ,Geranoil ,Curzerenone ,Myrcene ,Xanthorrhizol เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์และแบคทีเรีย มีรายงานผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่าสารสกัดจากว่านนางคำสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococccus aureus, แบคทีเรียแกรมลบEscherichia coli, ยีสต์ Candida albicansและเชื้อรา Aspergillus flavus ซึ่งจุลินทรีย์บางตัวเป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง โรคท้องเสีย และเป็นเชื้อที่ฉวยโอกาสในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

-ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูซิเดส มีผลการศึกษาวิจัยในสารสกัดจากเหง้าว่านนางคำโดย นำมาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส พบว่า 1,5-bis(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)-1,4-pentadien-3-one แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งได้ดี โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.20±0.01 mM ซึ่งดีกว่า acarbose (IC50=2.52±0.12 mM) ถึง 12.6 เท่า ส่วนสาร furanodienone และ zedoarondiol แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งในระดับดี คือมีค่า IC50 เท่ากับ 0.87±0.01 และ 0.89±0.03 mM.และสาร germorone , (R,10R) –epoxycuurdione และ curcumenone แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งในระดับปานกลางคือมีค่า IC50 เท่ากับ 1.53±0.08, 1.60±0.08 และ 1.68±0.13 mM ตามลำดับ

-นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาอื่นๆของว่านนางคำระบุไว้ว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ , ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ช่วยชะลอวัยได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ในตำราจีนใช้ว่านนางคำเป็นยาฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย 

-อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ใช้หัวสดนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใสกิน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง หรือจะกินหัวสดผสมกับเหล้าขาวก็ได้เช่นกัน 

-อาการฟกบวมช้ำ ข้อเคล็ด เคล็ดขัดยอก อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้หัวตำนำมาพอกช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอกตามร่างกาย 

-อาการเม็ดผื่นคัน ใช้ฝนแล้วนำมาทาแก้อาการเม็ดผื่นคันละโรคผิวหนังต่าง ๆ หรือใช้หัวตำผสมกับเหล้า 40 ดีกรีแล้วนำมาฟอกก็ได้เช่นกัน 

-ผง (หัวเหง้า) สามารถนำมาใช้มาส์กพอกหน้าได้เพื่อช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องสวยงาม ช่วยป้องกันสิว ฝ้า จุดด้างดำ ช่วยทำให้ผิวหน้าดูอ่อนกว่าวัย โดยสามารถหาซื้อได้ในรูปแบบสำเร็จจะสะดวกหน่อย ส่วนวิธีการใช้ก็ง่าย ๆ ใช้ผสมกับน้ำผึ้งและน้ำสะอาด แล้วนำทาให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก

-หัวเหง้า สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลาย เช่น ว่านนางคำผงหรือผงว่านนางคำมาส์กหน้า หรือทำเป็นโลชั่นบำรุงผิวว่านนางคำ ทำเป็นสบู่สมุนไพรว่านนางคำ ทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

-ในด้านความเชื่อ การปลูกว่านนางคำไว้ประจำบ้าน เชื่อว่าจะทำให้มีเสน่ห์ มีเมตตามหานิยมแก่ผู้ที่อาศัยในบ้าน ช่วยปกป้องคุ้มครองผู้อยู่อาศัยให้อยู่เย็นเป็นสุข ช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องคุณไสย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง