Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าคา

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าหลวง หญ้าคา (ทั่วไป)/ สาแล (มลายู-ยะลา-ตานี)/ กะหี่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ บร่อง (ปะหล่อง)/ ทรูล (ลั้วะ)/ ลาลาง ลาแล (มะลายู)/ แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Alang-alang, Blady grass, Cogongrass, Japanese bloodgrass, Kunai grass, Lalang, Thatch grass

ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica (L.) Raeusch.

ชื่อวงศ์: POACEAE-GRAMINEAE

สกุล: Imperata 

สปีชีส์: cylindrica 

ชื่อพ้อง:

-Arundo epigeios Forssk. ex Steud.

-Calamagrostis lagurus Koeler

-Imperata allang Jungh.

-Imperata angolensis Fritsch

-Imperata arundinacea Cirillo

-Imperata arundinacea var. koenigii (Retz.) Benth.

-Imperata cylindrica subsp. koenigii (Retz.) Masam. & Yanagita

-Imperata cylindrica var. major (Nees) C.E.Hubb.

-Imperata dinteri Pilg.

-Imperata filifolia Nees ex Steud.

-Imperata koenigii (Retz.) P.Beauv.

-Imperata koenigii var. major Nees

-Imperata laguroides (Pourr.) J.Roux

-Imperata latifolia (Hook.f.) L.Liu

-Imperata pedicellata Steud.

-Imperata praecoquis Honda

-Imperata ramosa Andersson

-Imperata robustior A.Chev.

-Imperata sieberi Opiz

-Imperata sisca P.Beauv. ex Steud.

-Lagurus cylindricus L.

-Saccharum alopecurus Nees

-Saccharum cylindricum (L.) Lam.

-Saccharum diandrum J.Koenig ex Retz.

-Saccharum europaeum Pers.

-Saccharum indum Pers.

-Saccharum koenigii Retz.

-Saccharum laguroides Pourr.

-Saccharum negrosense Steud.

-Saccharum sisca Cav.

-Saccharum spicatum Burm. ex Kunth

-Saccharum thunbergii Retz.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าคา thai-herbs.thdata.co | หญ้าคา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าคา เป็นไม้จำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมสีขาวทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวเรียบ หรืออาจมีขนอยู่บ้างเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขา เลื้อยแผ่และงอกไปเป็นกอใหม่ ๆ ได้มากมายหลายกอ 

 หญ้าคา thai-herbs.thdata.co | หญ้าคา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของใบแบนเรียวยาว ใบมีความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ตอนแตกใบอ่อนใหม่ ๆ จะมีปลอกหุ้มแหลมแข็งที่ยอดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรงอกแทงขึ้นมาจากดิน


หญ้าคา thai-herbs.thdata.co | หญ้าคา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีความยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีดอกย่อยอยู่ติดกันแน่น เมื่อแก่จะเป็นขนฟูสีขาว และเมล็ดจะหลุดร่วงและปลิวไปตามสายลม


หญ้าคา thai-herbs.thdata.co | หญ้าคา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะเมล็ดเป็นผลแห้ง ไม่แตก มีลักษณะเป็นรูปรี เมล็ดมีสีเหลือง เมล็ดแก่จะหลุดปลิวไปตามลม สามารถแพร่ขยายพันธุ์ไปได้ไกล และในหนึ่งต้นสามารถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ตามท้องทุ่งทั่วไป ตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ตามหุบเขา และตามริมทางทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าคา thai-herbs.thdata.co | หญ้าคา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการใชำลำต้นใต้ดิน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสหวานเย็นเล็กน้อย สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงไต แก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบ แก้อ่อนเพลีย แก้เบื่ออาหาร

องค์ประกอบทางเคมี: 

-พบสารกลุ่ม ฟินอลิก , โครโมน , ไตรเทอร์ปินอยด์ , เซลควิสปินอยด์ และ โพลีแซคคาไรด์ เช่น Arundoin  , Cyindol A , Imperanene , Cylindrin , Graminone B , Cylindrene เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาท มีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า สารสกัดเมทานอลจากรากหญ้าคา ได้แก่ สาร 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone, 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone, flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ที่ความเข้มข้น 10 mM (ไมโครโมล) เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยสาร glutamate พบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันการเกิดพิษต่อเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้

-ฤทธิ์ขับปัสสาวะ มีการศึกษาวิจัยโดยให้กระต่ายทดลองกิน น้ำต้มจากรากโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ให้กิน 5-10 วัน มีการขับปัสสาวะได้ดี ส่วนกลุ่มที่ให้กินติดต่อกัน 20 วัน ไม่เห็นผลเด่นชัดนัก แต่ในการทดลองมิได้ควบคุมการให้น้ำ จึงนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มไม่ได้ ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่าในรากหญ้าคามีโปแตสเซียมมาก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

-ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดและลดความดันโลหิต สาร graminone B และสาร cylindrene ที่พบในรากหญ้าคามี ฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด สามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่ายได้ ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้

-ฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกร็ดเลือด พบว่าสารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า อิมพิรานิน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคา สามารถยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือดได้ และยังมีข้อมูลการวิจัยพบว่าสารสกัดด้วยน้ำจากเหง้าแห้ง รวมถึงสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหง้าสดและเหง้าแห้ง แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease โดยสารสกัดที่แสดงฤทธิ์มากที่สุด คือสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเหง้าสด สามารถยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวได้ร้อยละ 98 ที่ความเข้มขันของตัวอย่าง 66.67 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และสารสกัดน้ำร้อนจากเหง้าสามารถลดอาการของแผลในกระเพาะอาหารและสามารถยับยั้งการหลั่งฮีสตามินในหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วย สาร 48/80 และไม่พบฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์แต่อย่างใด

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาความเป็นพิษโดยให้สารสกัดน้ำจากรากหญ้าคาป้อนทางปากหนูขาว โดยแบ่งเป็นตัวผู้ และตัวเมียอย่างละ 5 ตัว ในปริมาณ 5000 มก. /น้ำหนักตัว 1 กก. ไม่พบพิษและเมื่อป้อนทางปากหนูขาวในปริมาณ 300 , 600 และ 900 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. เป็นระยะเวลา 90 วันก็ไม่พบความเป็นพิษเช่นกัน ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งระบุว่า เมื่อป้อนน้ำต้มจากหญ้าคาให้กระต่ายในขนาด 25 กรัม/น้ำหนักตัว  กิโลกรัม ต่อมา  16 ชั่วโมง หลังจากการป้อนสารสกัดพบว่ากระต่ายเคลื่อนไหวช้าลง หายใจเร็วขึ้น แต่จะคืนสู่ปกติในเวลาไม่นานนัก และเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำในขนาด 10-15 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การหายใจจะเร็วขึ้น การเคลื่อนไหวช้าลง หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะกลับสู่ปกติ แต่ถ้าฉีดในขนาด 25 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าหลังจากฉีด 6 ชั่วโมง สามารถทำให้กระต่ายตาย

การใช้ประโยชน์:

-อาการลือดกำเดาไหล เลือดกำเดาออกง่ายหรือออกมาไม่ค่อยหยุด ใช้ช่อดอกแห้งประมาณ 15 กรัม และจมูกหมู 1 อัน นำมาต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้รับประทานหลังอาหารหลายครั้ง อาจทำให้หายขาดได้ หรือจะใช้ขน (ดอกแก่) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงประมาณ 2.6 กรัม นำมาผสมกับน้ำซาวข้าวใช้กิน หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มในขณะที่เลือดกำเดาไหล หรือจะใช้น้ำคั้นสดดื่มกินประมาณ 1 ถ้วยชา (15 มิลลิกรัม) ก็ได้ และถ้าจะใช้เป็นยาห้ามเลือดกำเดาก็ให้ใช้ช่อดอกหรือขนนำมาตำแล้วอุดที่รูจมูก 

-อาการอาเจียนเป็นเลือด ใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัมแล้วนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะผสมกับรากบัว (ประมาณ 15 กรัม) ร่วมด้วย แล้วนำมาต้มกับน้ำกินก็ได้เช่นกัน 

-อาการหอบ ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือและเปลือกของต้นหม่อนอย่างละเท่ากัน ใส่ในน้ำ 2 ชามแล้วต้มจนเหลือ 1 ชาม แล้วเอาน้ำที่ได้มาดื่ม

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่มเป็นประจำ 

-อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้รากสดประมาณ 500 กรัม นำมาลอกเปลือกที่อยู่ระหว่างข้อออก แล้วหั่นเป็นฝอยใส่น้ำ 4 ถ้วยใหญ่ และต้มให้เดือดประมาณ 10 นาทีจนให้รากจมน้ำหมด หลังจากนั้นให้แยกเอากากออก ใช้รินกินขณะยังอุ่น ๆ ประมาณครั้งละครึ่งถ้วย วันละ 5-6 ครั้ง และกลางคืนอีก 2-3 ครั้ง กินต่อเนื่องกันจนครบ 12 ชั่วโมง แล้วปัสสาวะจะถูกขับออกมามากขึ้น

-อาการปัสสาวะเป็นเลือด ใช้รากหญ้าคาประมาณ 1 กำมือ ใส่ในน้ำ 1 ถ้วยใหญ่ แล้วต้มจนเหลือ 1 ถ้วยชา (ประมาณ 15 มิลลิเมตร) ใช้รินกินขณะยังอุ่น ๆ หรือจะใช้รากแห้ง เมล็ดผักกาดน้ำอย่างละ 30 กรัม และน้ำตาลทราย 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินก็ได้ แต่หากนำมาใช้กับสัตว์ เช่น วัว ม้า ก็ให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัม ผสมคนล้างน้ำด่าง แล้วล้างให้หมดด่าง นำมาตากแห้งเผาเป็นถ่านให้ได้ประมาณ 30 กรัม และใช้ใบหญ้าขุยไม้ไผ่สดประมาณ 120 กรัม นำมาต้มให้สัตว์เลี้ยงกิน

-อาการปัสสาวะขุ่นเหมือนน้ำนม ใช้รากสดประมาณ 250 กรัม ใส่ในน้ำ 2,000 มิลลิเมตร แล้วต้มจนเหลือ 1,200 มิลลิเมตร และใส่น้ำตาลพอสมควร ใช้แบ่งกินประมาณ 3 ครั้งให้หมดภายใน 1 วัน หรือจะใช้กินแทนชาติดต่อกันประมาณ 5-15 วันก็ได้ โดยนับเป็น 1 รอบของการรักษา

-อาการปัสสาวะเป็นหนองใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม ใส่ในน้ำ 250 มิลลิลิตร แล้วต้มจนเหลือ 50 มิลลิลิตร ใช้รินกินขณะยังอุ่นหรือเย็นก็ได้ วันละ 3 ครั้ง 

-อาการตัวบวมน้ำ ใช้รากสดประมาณ 500 กรัม นำมาลอกเปลือกที่อยู่ระหว่างข้อออก แล้วหั่นเป็นฝอยใส่น้ำ 4 ถ้วยใหญ่ และต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที จนให้รากจมน้ำหมด หลังจากนั้นให้แยกเอากากออก ใช้รินกินขณะยังอุ่น ๆ ประมาณครั้งละครึ่งถ้วย วันละ 5-6 ครั้ง และกลางคืนอีก 2-3 ครั้ง กินต่อเนื่องกันจนครบ 12 ชั่วโมง แต่ถ้าหากนำมาใช้สัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ เช่น ม้า วัว ก็ให้ใช้รากสด เปลือกแตงโมสด อย่างละประมาณ 250-500 กรัม นำมาต้มกับน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน

-อาการตาเหลือง ตัวเหลือง มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ใช้รากนำมาต้มกับน้ำกิน

-อาการถูกพิษจากต้นลำโพง ใช้รากสดประมาณ 30 กรัมและต้นอ้อยอีก 500 กรัม นำมาตำและคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำมะพร้าว 1 ลูก แล้วนำมาต้มกิน

-อาการช้ำใน ใช้รากสดและขิงสดอย่างละ 60 กรัม ใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชาและน้ำ 2 ถ้วย นำมาต้มให้เหลือ 1 ถ้วย แล้วใช้กินวันละครั้ง

-ช่วยบำรุงไต แก้ไตอักเสบ ใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม ผสมกับเปลือกลูกน้ำเต้า 15 กรัม ดอกเจ๊กกี่อึ้ง 30 กรัม และเหล้าขาวอีก 3 กรัม นำมาต้มเป็นยา ใช้แบ่งกิน 2 ครั้ง วันละ 1 ชุด หรือจะใช้รากสดประมาณ 60-120 กรัม นำมาต้มเป็นยา ใช้แบ่งกิน 2-3 ครั้ง ให้หมดภายใน 1 วัน แต่ถ้าหากนำมาใช้กับสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ เช่น ม้า วัว ก็ให้ใช้รากสด เปลือกแตงโมสดอย่างละ 250-500 กรัม นำมาต้มกับน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน

-ในฟิลิปปินส์ใช้น้ำต้มจากรากสด ใช้รักษาโรคหนองใน

-ในประเทศกัมพูชา ใช้หญ้าคาเป็นยาสำหรับรมแก้ริดสีดวงทวาร

-ในประเทศจีนใช้หญ้าคาเป็นยาบำรุงกำลังหลังจากการฟื้นไข้ ใช้เป็นยาห้ามเลือดและลดอาการไข้

-หญ้าคา เป็นพืชที่มีธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโพแทสเซียมสูงมาก ช่วยทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดินได้สะดวกขึ้น ทำให้ดินไม่แน่น และเป็นหญ้าที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ เมื่อเน่าเป็นปุ๋ยแล้วจะช่วยป้องกันเพลี้ยและแมลงต่าง ๆ ได้

-ต้นแห้ง สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ส่วนในยูกันดามีการนำมาใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา

-ต้น ใช้มัดต้นแผ่นเป็นแผ่นแบน ๆ แล้วทุบให้แตก ตัดใบทิ้ง ใช้เป็นแปรงฉาบน้ำปูนตามผนังตึกหรือกำแพงได้

-ต้น สามารถนำมาอัดทำเป็นแผ่น ๆ คล้ายกับไม้อัดทั่วไป สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทำตู้เก็บหนังสือ ตู้เก็บพระคัมภีร์ ทำกรอบรูป ของที่ระลึกต่าง ๆ เป็นต้น (นศ.ศรีราวรรณ วงษ์โท นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช คณะคหกรรมศาสตร์)

-ใบ นำมาไพเป็นตับ (ไพหญ้าคา) หรือนำมามัดรวมกันเป็นตับ ตากให้แห้งแล้วนำมาใช้มุงหลังคากระท่อม เล้าไก่ เล้าเป็ด คอกเลี้ยงหมู ฯลฯ

-ราก ใช้ทำเป็นน้ำตาลได้ โดยในช่วงฤดูหนาวให้ขุดดินใต้กอหญ้าคาให้เป็นโพรงชอนเข้าไปลึก ๆ และให้ตัดหญ้าคายาว ๆ ออกบ้าง แล้วให้เอาแกลบมาใส่ให้เต็มโพรงที่ขุด และให้หมั่นรดน้ำที่โคนต้นทุกวัน จนเมื่อรากงอกยาวสีขาวงามดีแล้ว ให้เอาแกลบออก จับรากมัดรวมกัน แล้วใช้มีดคม ๆ ปาดเหมือนปาดจั่นมะพร้าวหรือตาลโตนด ทิ้งไว้ 3 วัน เมื่อครบวันก็ให้เอาภาชนะไปรองรับที่มัดรากที่ปาดแล้วนั้น วันรุ่งขึ้นก็ให้มาเก็บน้ำตาล แล้วปากลึกเข้าไปอีกให้ได้ทุกวันจนหมด



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง