Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เล็บมือนาง

ชื่อท้องถิ่น: อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์)/ แสมแดง (ชุมพร)/ เล็บนาว (สตูล)/ นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้)/ มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมั่ง (ภาคเหนือ)/ ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ วะดอนิ่ง อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา)

ชื่อสามัญ: Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunen sailor

ชื่อวิทยาศาสตร์: Combretum indicum (L.) DeFilipps

ชื่อวงศ์: COMBRETACEAE

สกุล: Combretum 

สปีชีส์: indicum

ชื่อพ้อง: 

-Kleinia quadricolor Crantz

-Mekistus sinensis Lour. ex Gomes Mach.

-Quisqualis ebracteata P.Beauv.

-Quisqualis glabra Burm.f.

-Quisqualis grandiflora Miq.

-Quisqualis indica L.

-Quisqualis longiflora C.Presl

-Quisqualis loureiroi G.Don

-Quisqualis madagascariensis Bojer

-Quisqualis obovata Schumach. & Thonn.

-Quisqualis pubescens Burm.f.

-Quisqualis sinensis Lindl.

-Quisqualis spinosa Blanco

-Quisqualis villosa Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เล็บมือนาง thai-herbs.thdata.co | เล็บมือนาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเล็บมือนาง เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น ยาวได้ประมาณ 5-7 เมตร และอาจเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาทึบ เถาอ่อนเป็นสีเขียว ตามลำต้นและเถาอ่อนมีขนสีเหลือหรือสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่ แต่ต้นแก่ผิวจะเกลี้ยง โดยเถาแก่เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนแดง เปลือกค่อนข้างเรียบ หรือมีหนามเล็กน้อย ต้องหาหลักยึดหรือร้านให้ลำเถามีที่เกาะยึด 


เล็บมือนาง thai-herbs.thdata.co | เล็บมือนาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ ป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปมนแกมขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 14-18 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อบาง ท้องใบมีขนปกคลุมเป็นจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายกิ่งหรือยอดของลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาวสีเขียว โดยมีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลม มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอดรูปทรงกระบอกยาว ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน โดยช่อดอกเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม โดยดอกย่อยจะค่อย ๆ ทยอยบาน และเมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะในตอนค่ำ และโคนกลีบดอกมีใบประดับ หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และมีเกสรยาวยื่นออกมาจากกลางดอก เกสรเพศผู้มี 10 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน 


เล็บมือนาง thai-herbs.thdata.co | เล็บมือนาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ผลเป็นผลแห้งและแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีสัน 5 สันตามยาว ผลมีขนาดโตประมาณ 0.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ผลสุกเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: แทนซาเนียเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: -

เล็บมือนาง thai-herbs.thdata.co | เล็บมือนาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการปักชำรากหรือเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเย็นเอียนเบื่อ สรรพคุณ ทาแก้พิษฝี แก้อักเสบ

*ผล รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ขับไส้เดือน ทำให้สะอึก

*ราก รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ขับอุจจาระเป็นฟองขาวเหม็นคาว

*ใช้ทั้ง 5 รสเบื่อเอียนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้น พบสารจำพวก Quisqualic acid เป็นต้น

-ใบ พบสาร Quercetin-3-glucoside, Pelargonidin-3-glucoside, Potassium quisqualate เป็นต้น

-ดอก พบสาร Cyanidin monoglycoside, Flavonoids, Rutin, Pelargonidin-3-glucoside เป็นต้น

-ผล พบสาร Alanine, Aspartic acid, Asparagine, Glycine, Glutamic acid, Histidine, Quisqualic acid, Proline, Leucine, Lysine, Valine, Serine, Threonine 

-เมล็ด พบสาร Potassium quisqualate และไขมันประมาณ 20-27% เป็นต้น

-น้ำมันระเหย พบสาร เช่น Alkaloid, D-Manitol, Quisqualic acid, Trigonelline เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือนและสารสำคัญในการออกฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน  จากการทดสอบในหลอดทดลอง พบว่าผลดิบหรือผลคั่ว ไม่สามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารสกัดด้วยน้ำจากผล ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิลำไส้ (Blastocystis hominis) แต่ที่ความเข้มข้น 1,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะมีฤทธิ์ยับยั้งพยาธิลำไส้ได้ปานกลาง  ในประเทศจีนมีการใช้เล็บมือนางแทน santonin ในยาชื่อว่า Shih-Chiin-Tzu น้ำมันเล็บมือนางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง มีสารที่พบในน้ำมันคือ quisqualic acid มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิไส้เดือน โดยขนาดที่ฆ่าพยาธิ Ascaris suum ได้คือ 1/1500 กรัม/มิลลิลิตร

-ที่ประเทศจีนได้ทดลองใช้เมล็ดเพื่อเป็นยาขับพยาธิ โดยใช้ผสมกับยา Shin-chun Tsu ซึ่งใช้แทน Santonin ต่อมาได้มีการค้นคว้าจนทราบว่าสารนั้นคือ “ควิสควอลิคแอซิด” (Quisqualic acid) ซึ่งเป็นสารจำพวกกรดอะมิโน น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจึงมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง

-สาร Potassium quisqualate ในเมล็ดเล็บมือนาง มีฤทธิ์เป็นยาขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกับพยาธิตัวกลมที่พบในหมู โดยสารดังกล่าวจะออกฤทธิ์ทำให้พยาธิมีอาการมึนชาที่ส่วนหัว

-ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียบ น้ำต้มที่ได้จากเมล็ดมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าไส้เดือนและปลิงได้อีกด้วย

-จากการทดสอบฤทธิ์กานต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยสกัดเมล็ดด้วยน้ำร้อน พบว่าไม่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนอง และแบคทีเรียในลำไส้

-ฤทธิ์ในการฆ่าแมลง จากการทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าแมลง โดยใช้กิ่งและใบแห้ง นำมาสกัดด้วยน้ำในขนาด 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าไม่มีผลที่จะฆ่าแมลงสาบอเมริกันได้ และแม้ว่าจะใช้ในขนาดความเข้มข้นต่าง ๆ ก็ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงสาบเยอรมันและมวนได้

-จากการทดสอบฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ ด้วยการสกัดจากผล โดยกำจัด Histidine ออกไปก่อนนำมาทดสอบ และผลการทดลองพบว่าไม่มีผลต่อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรคไทฟอยด์ ไม่ว่าจะนำมาสกัดด้วยเมทานอลหรือน้ำร้อน

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษ จากรายงานการทดสอบความเป็นพิษของสาร quisqualic acid ในสัตว์ทดลอง พบว่าการฉีด quisqualic acid เข้าสู่สมองบริเวณ limbic lobe ของหนู และ แมว ทำให้สัตว์ชักและแพ้ได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้ยากันชัก pentobarbital ฉีดเข้าช่องท้อง ในขนาดสูงกว่าขนาดรักษา แต่แก้ไม่ได้ด้วยยากันชัก diazepam ส่วนการฉีด quisqualic acid เข้าสู่สมองบริเวณ striatum ของหนูอายุ 7 วัน จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ส่งผลให้ สมองส่วน striatum และ hippocampus เล็กลง นอกจากนั้น quisqualic acid ยังทำให้เกิดการตาย (necrosis) ของเซลล์ glioma ของหนูที่ใช้เพื่อทดสอบความเป็นพิษ อย่างไรก็ตามพิษดังกล่าวข้างต้นของ quisqualic acid จะเกิดขึ้นเมื่อฉีดเข้าตรงบริเวณประสาทโดยตรงเท่านั้น และควรมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดจากผลด้วยเอทานอล หรือน้ำเมื่อเอาสาร histidine ออก พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์เมื่อใช้สารสกัดขนาดเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/จานทดสอบของเชื้อ

การใช้ประโยชน์:

-โรคตานขโมยพุงโร ช่วยทำให้เจริญอาหาร ใช้รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง แก้ธาตุวิปริต แก้อุจจาระพิการ แก้ตับทรุด และช่วยทำให้เจริญอาหารรากและใบใช้เป็นยาแก้ตานซางในเด็ก

-โรคพยาธิ ใช้เมล็ด มีรสชุ่ม เป็นยาร้อน มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้าม กระเพาะ และลำไส้ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือน หากเป็นเด็กให้ใช้ 2-3 เม็ด ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 5-7 เม็ด นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาป่นให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอน หรือใช้ทอดกับไข่รับประทาน 

-โรคผิวหนัง ใช้เมล็ดนำมาแช่ในน้ำมันทาผิว เป็นยารักษาโรคผิวหนัง และแผลฝี 

-อาการแผลฝี แก้อักเสบ ใช้ใบตำพอกแก้บาดแผล เป็นยาสมาน หรือใช้ทาแก้แผลฝี แก้อักเสบ 

-ใบอ่อน สามารถนำมารับประทานได้ นิยมรับประทานในอินโดนีเซีย ใช้ได้ทั้งดิบและสุกด้วยการต้ม นึ่ง ลวก ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก 

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม ปลูกเป็นซุ้มตามประตู ตามรั้ว หรือขึ้นร้านเป็นหลังคาที่นั่งผักผ่อน หรือปลูกตามริมถนน หรือริมทางเดิน เป็นไม้โตเร็ว ปลูกง่าย มีดอกสวยงาม ให้กลิ่นหอมเย็น (โดยเฉพาะในตอนค่ำ) หรือจะนำมาปลูกริมทะเลก็ได้ เพราะทนน้ำท่วมขัง ทนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง