Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะเดื่อหอม

ชื่อท้องถิ่น: หาด (เชียงใหม่)/ นอดน้ำ (ลำปาง)/ เยื่อทง (เย้า-เชียงราย)/นมหมา (นครพนม)/ พุงหมู (อุบลราชธานี)/ มะเดื่อขน (นครราชสีมา)/ เดื่อหอมเล็ก เดื่อหอมใหญ่ (ตราด)/ นอดหอม มะเดื่อเตี้ย (จันทบุรี)/ เดื่อขน (ภาคเหนือ)/  ส้าลควอย (ขมุ)/ แผละโอชัวะ เพี๊ยะตะโละสัวะ เพี๊ยะดู้ก (ลั้วะ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus hirta  Vahl.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Ficus 

สปีชีส์: hirta

ชื่อพ้อง: 

-Ficus hibiscifolia Champ. ex Benth.

-Ficus hirta var. appressa Corner

-Ficus hirta var. brevipila Corner

-Ficus hirta var. hibiscifolia (Champ. ex Benth.) Chun

-Ficus hirta var. imberbis Gagnep.

-Ficus hirta var. integrifolia Miq.

-Ficus hirta var. palmatiloba (Merr.) Chun

-Ficus hirta var. setosa (Blume) Miq.

-Ficus katsumadae Hayata

-Ficus palmatiloba Merr.

-Ficus porteri H.Lév. & Vaniot

-Ficus setifera Steud. 

-Ficus setosa Blume

-Ficus setosa Hook. & Arn.

-Ficus simplicissima var. hirta (Vahl) Migo

-Ficus tridactylites Gagnep.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะเดื่อหอม thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะเดื่อหอม ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม 

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก แผ่นใบมักเป็นพูลึก 3-5 พู ที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในต้นอ่อน หรือเป็นขอบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบจักเป็นเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนขึ้นทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นขนหยาบสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นอยู่ประปราย ขนมีลักษณะยาวและหยาบบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างขนจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่า ใบแก่มีลักษณะบาง เส้นใบที่ฐานยาวน้อยกว่า 1/2 ของใบ มีเส้นข้างใบประมาณ 7-9 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 11 เซนติเมตร และมีหูใบแหลม ขนาดประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรที่กิ่งก้านมักกลวง และที่ข้อพองออกในต้นอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อเกิดภายในโครงสร้างกลวงออกตามซอกใบ ประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมากเบียดกันแน่นบนฐานรองดอก ซึ่งเจริญหุ้มดอก มีช่องเปิดด้านบน ซึ่งมีใบประดับซ้อนทับกันหลายชั้นปิดอยู่ทำให้ดูคล้ายผล รูปไข่ค่อนข้างกลมอยู่บริเวณกิ่งที่มีใบติดอยู่ ดอกจะเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกเพศผู้จะมีจำนวนน้อย โดยจะอยู่ในบริเวณรูเปิดของช่อดอก มีกลีบดอก 3-4 กลีบ มีเกสรเพศเมียประมาณ 1-2 ก้าน ส่วนดอกเพศเมียจะมีรังไข่เหนือวงกลีบ 


มะเดื่อหอม thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะเดื่อหอม thai-herbs.thdata.co | มะเดื่อหอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด รูปทรงกลมรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.1-2.5 เซนติเมตร ออกเดี่ยว ๆ หรือออกคู่ ผลเป็นสีเหลือง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้มหรือสีน้ำตาล  ผลมีขนหยาบสีทองหนาแน่น มียางสีขาว ไม่มีก้านผล

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง 

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: ศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสหอมเย็น สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ ชูกำลัง ทำให้ชื่นบาน

-ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ราก ฝนน้ำกิน แก้ผิดสำแดง

-ยาพื้นบ้านภาคใต้  ใช้ ลำต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นมะเดื่อหอมด้วยแอลกอฮอล์ 50% มีพิษเฉียบพลันปานกลาง เมื่อทำการฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรจะมีค่า LD50 เท่ากับ 681 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-ลำต้นหรือราก นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงหัวใจ

-ราก มีรสฝาดเย็นหอม ช่วยบำรุงกำลัง ชูกำลัง ทำให้ชื่นบาน

-ผล มีรสฝาดเย็น เป็นยาแก้พิษฝี

-ชาวขมุ ชาวลั้วะ รับประทานผลสุก สีแดงอมส้มหรือสีน้ำตาล มีรสหวานหอม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง