Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กะเม็ง (ดอกขาว, ดอกเหลือง)

ชื่อท้องถิ่น: กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ภาคกลาง)/ หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ภาคเหนือ)/ บังกีเช้า (จีน)/ ฮั่นเหลียนเฉ่า (จีนกลาง)/ บักอั่งเน้ย อั่วโหน่ยเช่า เฮ็กบักเช่า (จีน-แต่จิ๋ว) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: False daisy, White head, Yerbadetajo herb, Herba Ecliptae

ชื่อวิทยาศาสตร์: Eclipta prostrata (L.) L.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Eclipta

สปีชีส์: prostrata

ชื่อพ้อง: 

-Abasoloa taboada La Llave

-Acmella lanceolata Link ex Spreng.

-Aganippea dentata DC.

-Amellus carolinianus Walter

-Anthemis abyssinica J.Gay ex A.Rich.

-Anthemis cotula Blanco

-Anthemis cotula var. hierosolymitana Eig

-Anthemis cotula subsp. lithuanica (DC.) Tzvelev

-Anthemis cotula-foetida Crantz

-Anthemis cotuloides Raf. ex DC.

-Anthemis galilaea var. hierosolymitana (Eig) Yavin

-Anthemis sulphurea Nyman

-Anthemis variabilis Sessé & Moc.

-Anthemis viridis Blanco

-Artemisia viridis Blanco

-Bellis racemosa Steud.

-Bellis ramosa Jacq.

-Buphthalmum diffusum Vahl ex DC.

-Ceratocephalus wedeliodes (Hook. & Arn.) Kuntze

-Chamaemelum foetidum Baumg.

-Clipteria dichotoma Raf.

-Cotula alba (L.) L.

-Cotula debilis Balb. ex Spreng.

-Cotula oederi Murray

-Cotula prostrata (L.) L.

-Eclipta adpressa Moench

-Eclipta alba (L.) Hassk.

-Eclipta alba f. erecta Hassk.

-Eclipta alba var. erecta Miq.

-Eclipta alba var. longifolia (Schrad.) Bettfr.

-Eclipta alba f. longifolia (Schrad.) Hassk.

-Eclipta alba var. parviflora (Wall. ex DC.) Miq.

-Eclipta alba var. prostrata (L.) Miq.

-Eclipta alba f. prostrata (L.) Hassk.

-Eclipta alba var. zippeliana (Blume) Miq.

-Eclipta alba f. zippeliana (Blume) Hassk.

-Eclipta angustata Umemoto & H.Koyama

-Eclipta angustifolia C.Presl

-Eclipta arabica Steud.

-Eclipta brachypoda Michx.

-Eclipta ciliata Raf.

-Eclipta dentata B.Heyne ex Wall.

-Eclipta dichotoma Raf.

-Eclipta dubia Raf.

-Eclipta erecta L.

-Eclipta erecta var. brachypoda Torr. & A.Gray

-Eclipta erecta var. diffusa DC.

-Eclipta erecta var. latifolia Willd. ex Walp.

-Eclipta erecta var. prostrata (L.) Baker

-Eclipta flexuosa Raf.

-Eclipta heterophylla Bartl.

-Eclipta hirsuta Bartl.

-Eclipta linearis Otto ex Sweet

-Eclipta longifolia Schrad.

-Eclipta marginata Boiss.

-Eclipta marginata Steud.

-Eclipta nutans Raf.

-Eclipta oederi (Murray) Weigel

-Eclipta palustris

-Eclipta parviflora Wall. ex DC.

-Eclipta patula Schrad.

-Eclipta patula (DC.) Endl.

-Eclipta philippinensis Gand.

-Eclipta procumbens Michx.

-Eclipta procumbens var. brachypoda (Torr. & A.Gray) A.Gray

-Eclipta procumbens var. patula DC.

-Eclipta prostrata f. aureoreticulata Y.T.Chang

-Eclipta prostrata var. dixitii An.Kumar & K.K.Khanna

-Eclipta prostrata var. zippeliana (Blume) J.Kost.

-Eclipta pumila Raf.

-Eclipta punctata L.

-Eclipta pusilla M.E.Jones

-Eclipta simplex Raf.

-Eclipta spicata Spreng.

-Eclipta strumosa Salisb.

-Eclipta sulcata Raf.

-Eclipta thermalis Bunge

-Eclipta tinctoria Raf.

-Eclipta zippeliana Blume

-Ecliptica alba (L.) Kuntze

-Ecliptica alba var. erecta Kuntze

-Ecliptica alba var. parviflora (Wall. ex DC.) Kuntze

-Ecliptica alba var. prostrata (L.) Kuntze

-Ecliptica alba var. zippeliana (Blume) Kuntze

-Eleutheranthera prostrata (L.) Sch.Bip.

-Eupatoriophalacron album (L.) Hitchc.

-Galinsoga oblongifolia (Hook.) DC.

-Grangea lanceolata Poir.

-Maruta cotula var. lithuanica DC.

-Micrelium asteroides Forssk.

-Micrelium tolak Forssk.

-Paleista brachypoda Raf.

-Paleista procumbens Raf.

-Polygyne inconspicua Phil.

-Ridan alba Kuntze

-Sabazia anomala Greenm.

-Sabazia leiachaenia S.F.Blake

-Spilanthes pseudoacmella (L.) Murray

-Spilanthes wedelioides Hook. & Arn.

-Verbesina alba L.

-Verbesina conyzoides Trew

-Verbesina debilis Spreng.

-Verbesina prostrata L.

-Verbesina pseudoacmella L.

-Verbesina pusilla Poir.

-Verbesina spicata Lour.

-Wedelia psammophila Poepp.

-Wiborgia oblongifolia Hook.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กะเม็ง thai-herbs.thdata.co | กะเม็ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกะเม็ง เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่ทอดไปตามพื้นตั้ง มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงและมีขนละเอียด บางต้นค่อนข้างเกลี้ยง และจะแตกกิ่งก้านที่โคนต้น


กะเม็ง thai-herbs.thdata.co | กะเม็ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรอยเว้าเข้าเล็กน้อยทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบหรือเป็นจักห่าง ๆ ประมาณ 2-3 จักช่วงปลายใบ ขอบใบทั้งสองด้านมีขนสั้น ๆ สีขาว ใบกว้างประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ

 กะเม็ง thai-herbs.thdata.co | กะเม็ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณยอด หรือ 1-3 ช่อบริเวณง่ามใบ ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ 3-5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ส่วนดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ที่ปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีสีขาวและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ส่วนก้านดอกเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร


กะเม็ง thai-herbs.thdata.co | กะเม็ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย   

ผล ลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีเหลืองปนดำ เมื่อนำมาขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ส่วนผลแก่แห้งมีสีดำไม่แตก ปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ขนาดของผลยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่ดอนและที่ลุ่มชื้นทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: กึ่งเขตร้อนของอเมริกา

การกระจายพันธุ์: -

กะเม็ง thai-herbs.thdata.co | กะเม็ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสเอียน สรรพคุณ ขับลมให้กระจาย แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงโลหิต

*ดอก รสเอียน สรรพคุณ แก้ดีซ่าน ตับอักเสบ

*ราก รสเอียน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร

องค์ประกอบทางเคมี: 

-กระเม็ง (ตัวเมีย) พบสาร ได้แก่ สารกลุ่ม  coumestans, thiophenes, saponins, alkaloids, flavonoids, steroids เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ส่วนเหนือดินของต้นกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด สารสกัดเฮกเซนจากต้นกระเม็งมีฤทธิ์อย่างแรงในการยับยั้งเชื้อ Staphyllococcus aureus, Bacillus cereus, Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella pneumoniae, S. pyogenes และ Pseudomonas aeruginosa (MIC < 100 มคก./มล.) และใกล้เคียงกับยาต้านเชื้อจุลชีพ ciprofloxacin ขนาด 25 มคก./มล. ในขณะที่สารสกัดอะซีโตน สารสกัดเอทานอล สารสกัดเมทานอล และสารสกัดน้ำออกฤทธิ์ปานกลาง สารสกัดเอทิลอะซีเตทจากต้นกะเม็งให้ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, S. aureus, Proteus mirabilis, B. cereus, E. coli, S. typhi, P. aeruginosa, S. epidermidis และ Candida albicans สารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราก่อโรคผิวหนังกลุ่ม Microsporum และ Trichophyton (7) รวมถึงสารซาโปนินที่แยกได้จากส่วนใบของต้นกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเช่นกัน

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดเมทานอลจากใบ ขนาด 100 และ 200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยคาราจีแนน โดยให้ฤทธิ์ใกล้เคียงกับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) 10 มก./กก. และยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าจากการเหนี่ยวนำด้วยไข่ขาวได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาไซโปรเฮปตาดีน (cyproheptadine) 8 มก./กก. ซึ่งสารสกัดจากต้นกะเม็งออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ prostaglandin E2 และ tumor necrosing factor-α รวมถึงลดการแสดงออกของ nitric oxide และ cyclooxygenase-2 ซึ่งเกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ

-ฤทธิ์ต้านไวรัส  จากการศึกษาโดยการแยกสารสกัด dichloromethane จากต้นกะเม็งด้วย column chromatography ได้สาร5-hydroxymethyl-(2,2’:5’,2’’)-terthienyl tiglate, 5-hydroxymethyl-(2,2’:5’,2’’)-terthienyl agelate,5-hydroxymethyl-(2,2’:5’,2’’)-terthienyl acetate และ ecliptal และการแยกสารสกัด methanol  ด้วย column chromatography เช่นกัน ได้สาร orobol  และ wedelolactone  จากนั้นนำสารที่แยกได้ดังกล่าวไปศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส human immunodeficiency virus (HIV) พบว่าสาร wedelolactone และ orobol มีฤทธิ์ ยับยั้ง HIV-1 integrase  IC50 เท่ากับ 4.0±0.2  และ 8.1±0.5 µM ตามลำดับ ในขณะที่สารที่แยกได้จากสารสกัด dichloromethane ทั้ง 4 ชนิด ไม่มีผลต่อเอนไซม์ดังกล่าว ส่วนสาร 5-hydroxymethyl-(2,2’:5’,2’’)-terthienyl tiglate, 5-hydroxymethyl-(2,2’:5’,2’’)-terthienyl acetate  และ ecliptal มีฤทธิ์ยับยั้ง HIV-1 protease โดยมีค่า IC50 เท่ากับ58.3±0.8, 83.3±1.6 และ 93.7±0.8 µM ตามลําดับ ในขณะที่สารอื่นที่แยกได้ไม่มีผลต่อเอนไซม์ดังกล่าว

-ฤทธิ์ปกป้องไต จากการศึกษาฤทธิ์ปกป้องไตของกะเม็งในสัตว์ทดลอง โดยการป้อนสารสกัด methanol จากต้นกะเม็งขนาด 300 และ 600 mg/kg ร่วมกับการฉีดยา gentamicin ขนาด 80 mg/kg เข้าทางใต้ผิวหนังแก่หนูขาว เป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัด methanol สามารลดระดับ blood urea nitrogen, serum creatinine และ urinary microprotein  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ gentamycin เพียงอย่างเดียว และยังสามารถลดการทำงายของเนื้อเยื่อหลอดไตได้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการเพิ่มระดับ CAT และลดระดับ lipid peroxidation ซึ่งคาดว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

-ฤทธิ์บรรเทาอาการปวด สารสกัดเอทานอลขนาด 250 และ 500 มก./กก. น้ำหนักตัว และสารอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลของต้นกะเม็ง ขนาด 150 มก./กก. น้ำหนักตัว ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้นานถึง 60 นาทีหลังการป้อน เมื่อทดสอบด้วยวิธี tail clip method โดยให้ฤทธิ์ใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับสาร codeine ขนาด 50 มก./กก. น้ำหนักตัว หรือยาแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. สารสกัดแอลกอฮอล์จากต้นกะเม็ง ขนาด 200 มก./กก. และสาร coumarin ที่แยกได้จากสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ (hydroalcoholic extract) มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดจากการเหนี่ยวนำด้วย acetic acid และ formalin แต่เมื่อใช้ร่วมกับมอร์ฟีนขนาด 1.5 มก./กก. น้ำหนักตัว หรือยาแอสไพริน 165 มก./กก.น้ำหนักตัว ไม่พบการเสริมฤทธิ์บรรเทาปวดของสารทั้งสองชนิด

-ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการศึกษาในหลอดทดลองมากมายที่แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของกะเม็ง เมื่อนำน้ำกะเม็ง สารสกัดน้ำและสารสกัด methanol จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นกะเม็งขนาด 50 μg/mL มาทดสอบหาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102 ด้วยวิธี invasion and migration assay และ adhesion assay พบว่าน้ำกะเม็งสามารถยับยั้งการ invasion และ migration ของเซลล์มะเร็งตับได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะฤทธิ์ต้าน migration พบว่าขึ้นกับระดับความเข้มข้น ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัด methanol สามารถยับยั้งการ invasion และ migration ของเซลล์มะเร็งตับได้ปานกลาง ในขณะที่น้ำกะเม็งและสารสกัดทั้งสองชนิดไม่มีผลยับยั้งการ adhesion ของเซลล์มะเร็งตับ และในงานวิจัยเดียวกัน ยังได้นำน้ำกะเม็งมาศึกษาถึงฤทธิ์ยับยั้ง migration ต่อเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102 และ SK-Hep-1, เซลล์มะเร็งปอดเพาะเลี้ยง A549 เซลล์มะเร็งเต้านมเพาะเลี้ยง MDA-MB-231 และเซลล์เอนโดทีเลียมเพาะเลี้ยง HUVEC รวมทั้งฤทธิ์ฆ่าเซลล์ดังกล่าว ผลการทดลองพบว่าน้ำกะเม็งสามารถยับยั้งการ migration ของเซลล์เหล่านี้ ด้วยค่า IC50 ระหว่าง 31-70 μg/ml และยังมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102, SK-Hep-1, เซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร้.เต้านมด้วยค่า IC50 เท่ากับ 617, 1,217, 1,183 และ 203 μg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่น้ำกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้ง angiogenesis ที่ 50% inhibition  เท่ากับ 200 μg/egg เมื่อศึกษาด้วยวิธี  chick chorioallantoic membrane assay

-สำหรับสารสกัด  hydroalcoholic จากใบกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HepG2, เซลล์มะเร็งไตเพาะเลี้ยง  A498 และเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง C6 glioma ด้วยค่า IC50 22±2.9, 25±3.6 และ 50±8.7 μg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของ  matrix metalloproteinase-2 (MMP-2),  metallo- proteinase-9 (MMP-9) และ NF-ꓗB ได้ รวมทั้งมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอที่เวลา 72 ชั่วโมง หลังจากให้สารสกัดดังกล่าว โดยเชื่อว่ากลไลการยับยั้งเซลล์มะเร็งน่าจะเกิดจากการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายผ่านกระบวนการ  apoptosis และทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ รวมทั้งยังยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งดังกล่าว

-การศึกษาฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับ เพาะเลี้ยงsmmc-7721 ระหว่างสารสกัดน้ำ สารสกัดด้วย ด้วย 30%, 60% และ 90% ethanol จากมะเร็ง และสาร wedelolactone, eclalbasaponin I, luteolin และ luteolin-7-O-glucoside ที่แยกได้จากกะเม็ง พบว่าสารสกัดด้วย 30% ethanol และสาร eclalbasaponin I สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งตับ ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 74.24 และ 111.17 μg/mL ตามลำดับ ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่ายา 5-fluorouracil ที่มีค่า  IC50 เท่ากับ 195.31 μg/mL  ซึ่งใช้เป็น  positive control ส่วนสารสกัดอื่นๆ อีก 3 ชนิดนั้น พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งตับต่ำกว่า  positive control

-ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดเอทิลอะซีเตท เฮกเซน เอทานอล และน้ำจากส่วนเหนือดินของกะเม็งแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วย ferric thiocyanate method โดยสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. ให้ผลการยับยั้ง 77.62% ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้สารมาตรฐานวิตามินอี 500มคก./มล. ส่วนสกัดบิวทานอลจากต้นกะเม็งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์อะซีติลโคลีน (acetylcholine) และการเกิดความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ในสมองของหนูแรท ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะความจำเสื่อม

-ฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิต  เมื่อป้อนสารสกัด   ethanol  จากต้นกะเม็งในขนาด 200 และ 400 mg/kg แก่หนูขาวพบว่าสารสกัด ethanolสามารเพิ่มปริมาณการขับปัสสาวะและเพิ่มการขับทิ้งของโซเดียมและคลอไรด์ที่เวลา 5 และ 24 ชั่วโมง หลังจากการให้สารสกัดดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ากะเม็งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะและสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

-ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดเอทานนอลจากต้นกะเม็ง ขนาด 50,100 และ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว สามารถฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หนูแรท จากการเหนี่ยวนำด้วย cold resistant stress (CRS)และเชื้อ pylorusซึ่งให้ฤทธิ์ป้องกันเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยสารสกัดลดการเกิดความเสียหายของกระเพาะอาหาร ผ่านการต้านการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์catalaseซึ่งเกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังลดการหลั่งของเหลวในกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด และเพิ่ม pHของกระเพาะอาหาร ส่วนสารสกัดเมทานอลจากต้นกะเม็งสามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยาแอสไพรินเอทานอล และเชื้อ pylorusโดยออกฤทธิ์ยับยั้งได้ตั้งแต่ 4ชั่วโมงแรกหลังการป้อน ผ่านอาศัยฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump ได้เช่นเดียวกับยาราบีพราโซล สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหาร(rabeprazole)

-ฤทธิ์ลดน้ำตาล และไขมันในเลือด การศึกษาโดยนำสารสกัดเมทานอลจากต้นกะเม็ง และeclalbasaponin II สารสารคัญที่พบในต้นกะเม็งมาใช้ในการลดน้ำตาลในเลือดในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยป้อนให้หนูแรทกินเป็นเวลา 28และ 7วันตามลำดับ (ไม่ระบุขนาด) พบว่าให้ผลลดน้ำตาลได้ดีใกล้เคียงกับการใช้ยารักษาเบาหวาน glibenclamideโดยไม่มีผลต่อปริมาณเอนไซม์ alanine aminotransferase, aspartate aminotransferaseและ alkaline phosphatase ในตับ เมื่อป้อนในหนูแรทที่เป็นโรคอ้วนจากการป้อนด้วยอาหารไขมันสูง ด้วยสารสกัดจากต้นกะเม็งขนาด 75มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดปริมาณไขมันในเลือด โดยเฉพาะกรดไขมันอิสระ เพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ลำน้ำตาลในเลือด และชะลอการเกิดเบาหวานในหนูแรทที่กินอาหารไขมันสูงได้ดี การป้อน silymarrinขนาด 100มก./กก.น้ำหนักตัว ร่วมกับสารสกัดจากต้นกะเม็ง ยิ่งให้ผลการป้องกันมากขึ้นกว่าการใช้เดี่ยว และให้ผลดีกว่าการใช้ยามาตรฐานmetforminขนาด 200 มก./กก. เช่นเดียวกับการป้อนสารสกัดแอลกอฮอล์ของต้นกะเม็ง ขนาด 150และ 200มก./กก. ให้แก่หนูแรท ร่วมกับการป้อนอาหารที่มีไขมันสูงจากน้ำมันถั่วลิสงและคอเลสเตอรอลเทียบกับการป้อนยาโคลไฟเบรต (clofibrate) ขนาด 10มก./กก. และ guggul (ยางจากต้นไม้Commiphora mukul ในอินเดีย) ขนาด 50มก./กก. ติดต่อกันเป็นเวลา 30วัน ช่วยลดไขมัน คอเลสเตอรอลรวม และไตรกลีเซอไรด์ในสัตว์ทดลองได้ใกล้เคียงกับการใช้ยามาตรฐาน นอกจากกะเม็งจะช่วยลดไขมันในเลือดแล้ว ยังมีผลช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic index) ได้ เมื่อป้อนสารสกัดจากน้ำใบกะเม็งขนาด 100และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัวให้หนูแรทที่ได้รับอาหารไขมันสูงซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) หรือให้หนูแรทกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดแห้งโดยวิธีเยือกแข็ง(freeze dry) ของสกัดบิวทานอลจากต้นกะเม็งขนาด 25, 50 และ 100มก./กก. อาหาร กินเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มปริมาณ high-density lipoprotein (HDL) ลดปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDLรวมถึงลดค่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงอัตราการเกิดหลอดเลือด ได้ถึงร้อยละ 9.8 - 30.5

-ฤทธิ์ยับยั้งพิษงู  มีการศึกษาการดัดแปลงพันธุกรรมของกระเม็งโดยใช้ Agrobacterium rhizogenes  LBA 9402 เพื่อผลิตยาต้านเอนไซม์ Phospholipases A2 ในพิษงู และต้านความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อของพิษงู สารสกัดจากส่วนเหนือดินและส่วนรากกระเม็งตามธรรมชาติ และกระเม็งดัดแปลงพันธุกรรม (ในหลอดทดลอง) ถูกจัดเตรียมและวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLCจากการวิเคราะห์กระเม็งตามธรรมชาติ ส่วนเหนือดินพบสาร coumestan wedelolactone เข้มข้นสูงกว่าส่วนอื่น ขณะที่ส่วนรากพบสาร demethylwedelolactone เข้มข้นสูงกว่าส่วนอื่น ในจำนวนทั้งหมดของการดัดแปลงพันธุกรรมส่วนราก clone19 มีความเข้มข้นของ coumestanสูงกว่าส่วนอื่น จากผลการศึกษาแสดงว่าสารสกัดจากกระเม็งตามธรรมชาติ ซึ่งถูกเก็บมาจากเมือง Botucatu และเมือง Ribeirao Preto ในประเทศบราซิล มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ Phospholipases A2 ในพิษงู และ clone19 มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งพิษงู Crotalus durissus terrificus  นอกจากนี้ clone19 และสารสกัด coumestan (wedelolactone และ demethylwedelolactone) ยังยับยั้งความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อจากเอนไซม์ Phospholipases A2 ซึ่งสังเคราะห์มาจากพิษงู Crotalus durissus terrificus  และงู Bothrops jararacussu  (BthTX-I และ II)

-ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenaseการทดลองใช้สารสกัดเมทานอล โดยศึกษาในหมู พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase  มีค่า IC50 เท่ากับ 2 มคก./มล. 

-ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน  น้ำต้มจากกะเม็งตัวเมียที่ให้ทางกระเพาะอาหาร (intragastric)กับหนูขาวทั้ง 2 เพศ  โดยให้ในขนาด 1 ก./กก. พบว่านอกจากสามารถต้านฤทธิ์ฮีสตามีนยังสามารถยับยั้งการหลั่งสารนี้ได้ด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกะเม็ง พบว่าสารสกัด ethanol มีค่า lethal concentration (LC50) เท่ากับ 94.3 μg/mLเมื่อศึกษาด้วยวิธี brine shrimp lethality bioassayและการป้องสารสกัดน้ำจากใบกะเม็งในขนาด 500,1750,2000,2500 และ 3000 mg/kgแบบครั้งเดียวแก่หนูขาว แล้วสังเกตอาการต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัดน้ำที่ขนาดมากกว่า 2000 mg/kgมีผลเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของเซลล์ดับ รวมทั้งมีผลเพิ่มระดับ serum glutamate, pyruvate transaminase, total protein และ albuminในซีรัมของหนูโดย median LD50 ของสารสกัดน้ำ มีค่าเท่ากับ 2313.63 mg/kgอย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำที่ขนาดต่ำกว่า 2000 mg/kgไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงและไม่ก่อให้เกิดพิษต่อสัตว์ทดลองจากผลการทดลองสรุปได้ว่า สารสกัดน้ำจากใบกะเม็งสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในขนาดไม่เกิน 2000 mg/kgแต่ในขนาดที่มากกว่า 2000 mg/kgควรเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์

-การทดสอบความเป็นพิษโดยให้ทางปากหนูถีบจักรในขนาด 0.2 มก./วัน พบว่าไม่มีพิษ เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล (95%) ขนาด 2 ก./กก. เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรและให้ทางกระเพาะอาหารในขนาดเดียวกัน พบว่าไม่มีพิษ แต่ถ้าฉีดสารสกัดเอทานอล (50%) ทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่เป็นพิษเท่ากับ 1 ก./กก.

-ฤทธิ์ก่อมะเร็ง   มีการทดสอบด้วย Vero cells พบว่าไม่มีพิษ  ไม่มีรายงานเรื่องก่อมะเร็ง แต่มีการศึกษาพบว่าเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด ได้แก่  สารสกัดเอทิลอะซีเตท ทดสอบด้วยเซลล์ Hela S3 พบว่ามีพิษต่อเซลล์อ่อนๆ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 27 มคก./มล. แต่ที่ความเข้มข้น100 มคก. เมื่อทดสอบด้วย Vero cells พบว่าไม่มีพิษ สารสกัดเมทานอลนำไปทดสอบด้วย CA-A549, CA-colon-2 โดยมีค่า IC50 มากกว่า 20 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษ แต่ที่ความเข้มข้น 1.25 มก./มล. เมื่อทดสอบด้วย CA-Ehrlich-ascites พบว่ามีพิษ  นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกับเซลล์ M-109 พบว่าสารอัลคาลอยด์ในสารสกัดดังกล่าวมีพิษอ่อนๆ  สารสกัดเอทานอล (50%) ทดสอบด้วย CA-9KB  โดยมีค่า ED50 มากกว่า 20 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษ และเมื่อใช้สารสกัดดังกล่าวทดสอบด้วย CA-mammary-microalveolar โดยใช้ความเข้มข้น 500 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษเช่นกัน 

-พิษต่อตัวอ่อน สารสกัดเอทานอล (50%) เมื่อให้ทางปากหนูขาวเพศเมีย ขนาด 100 มก./กก. พบว่าไม่มีพิษ 

-พิษต่อตับ มีการทดสอบโดยให้ทางปากหนูถีบจักรในขนาด 0.2 มก./วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าไม่มีพิษ

การใช้ประโยชน์:

-โรคเบาหวาน ใช้ต้นกะเม็งมาตากแดดให้แห้งแล้วนำไปคั่วให้พอหอม นำมาชงกับน้ำร้อนใช้ดื่มเป็นชา

-อาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน มีอาการชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน (อาการคล้ายกับโรค Hyperventilation) ใช้กะเม็งเป็นตัวยาหลักนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมอื่น ๆ เช่น ว่านหอมเปราะ ขิง เป็นต้น แล้วนำน้ำคั้นมาจิบกิน และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นดังกล่าวนำมาเช็ดหน้าและคลุมหัวไว้ 

-โรคตับอักเสบเรื้อรัง ใช้ต้นประมาณ 3-4 ต้น นำมาต้มให้เดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอหวาน ใช้ดื่มไม่เกิน 2 วัน จะช่วยแก้ตับอักเสบ บวมช้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส และช่วยฟื้นฟูตับ 

-โรคหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ใบสดและใบผักกาดน้ำสด ๆ อย่างละเท่า ๆ กันประมาณ 60 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

-โรคกระษัย ใช้ทั้งต้นนำมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบางผสมกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำผึ้งแท้ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำร้อนแล้วนำมารับประทานจะช่วยแก้กษัยได้ สูตรนี้ยังช่วยขับปัสสาวะและเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย

-อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ลมตะกัง) ใช้น้ำคั้นจากต้นนำมาหยอดที่จมูกเวลามีอาการปวด 

-โรคเกี่ยวกับตา อาการเจ็บตา แก้ตาแดง ใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาต้มใส่น้ำตาลพอหวานเล็กน้อย ต้มให้เดือดประมาณ 15 นาทีแล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง

-อาการไอเป็นเลือด ก้อนเลือด ใช้ต้นสดประมาณ 20-60 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำอุ่นดื่ม

-อาการเลือดกำเดาไหล ใช้ต้นสดประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าต้มกินหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง และในขณะที่มีเลือดกำเดาไหลที่จมูกก็ให้ตำคั้นเอาน้ำชุบสำลีอุดจมูกไว้ จะช่วยห้ามเลือดได้ดี 

-อาการปวดบิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ต้นแห้งประมาณ 30 กรัม ถ้าต้นสดให้ใช้ประมาณ 120 กรัม นำมาต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน 

-อาการปากเปื่อยในเด็ก ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อรา ใช้น้ำคั้นจากใบของต้น 2 หยดผสมกับน้ำผึ้ง 8 หยด แล้วนำมาใช้ทาแผลเปื่อยเป็นประจำ

-อาการปวดฟัน ใช้ต้นสดนำมาผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผง นำมาใช้ทาบริเวณเหงือก หรือใช้ดอกและใบนำมาต้มแล้วทาบริเวณเหงือก หรือนำดอกและใบมาต้มน้ำให้งวด แล้วนำมาใช้อม ช่วลดอาการปวดฟัน

-อาการอักเสบ บวมช้ำ ใช้ต้นสด 3-4 ต้น นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปต้มน้ำให้เดือดประมาณ 10 นาที แล้วผสมน้ำตาลทรายลงไปพอให้มีรสหวาน แล้วนำมาใช้ดื่มไม่เกิน 2 วัน อาการจะดีขึ้น 

-อาการอักเสบเนื่องจากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่มีอาการ

-อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ ใช้ต้นนำมาบดตำแล้วพอกที่แผล จะช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวดแสบปวดร้อนได้ โดยให้พอกไปเรื่อย ๆ และเปลี่ยนยาบ่อย ๆ อาการอักเสบจะดีขึ้น

-ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้อาการปวดเมื่อย ใช้ต้นผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นลูกเล็ก ๆ

-ช่วยบำบัดอาการบกพร่องของอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง ช่วยเสริมพลังทางเพศ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม

-ช่วยแก้ผมหงอกก่อนวัย ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา ใช้ทาให้ทั่วศีรษะจะช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย

-ในประเทศอินเดียมีการใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาใช้สัก เพื่อให้รอยสักเป็นสีเขียวคราม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง