Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐพุงปลา 

โกฐพุงปลา thai-herbs.thdata.co | โกฐพุงปลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: สมอ สมออัพยา กกส้มมอ ปูดกกส้มมอ ส้มมอ (ภาคอีสาน)/ มาแน่ ม่าแน่ หมากแน่ะ (กะเหรี่ยง)

ชื่อสามัญ: Myrobalan Gall/ Terminalia Gall

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia chebula Retz.

ชื่อวงศ์: COMBRETACEAE

สกุล: Terminalia

สปีชีส์: chebula

ชื่อพ้อง: Myrobalanus chebula (Retz.) Gaertn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นสมอไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ประเภทไม้ผลัดใบ มีลำต้นสูงประมาณ 10–15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง มีทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นมีรูปร่างไม่สมมาตร มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดแผ่นใหญ่ และมีร่องลึก สีดำอมเทา ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองอมน้ำตาลบริเวณด้านนอก และด้านในมีสีน้ำตาลอมดำ

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5–10 เซนติเมตร ยาว 11–18 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลมโคนกลมหรือกึ่งตัด หรือบางครั้งเบี้ยว ขอบเรียบแผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามันมีขนเล็กน้อย ผิวด้านล่างมมีขนคล้ายไหมถึงขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5–8 เส้น ก้านใบยาว 1.5–3 เซนติเมตร มีขนคล้ายไหม มีต่อม 1 คู่ ใกล้โคนใบ

      ดอก ออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือช่อแยกแขนง มี 3–5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักจะออกพร้อมๆ กับใบอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5–8.5 เซนติเมตร ไม่มีก้านข่อดอก หรือก้านช่อดอกสั้น แกนกลางสั้นและเปราะ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3–0.4 เซนติเมตร ไม่มีกลีบดอก ส่วนบนเป็นรูปะถ้วยตื้นมีขนคลุมด้านนอก ใบประดับรูปแถบ ยาว 3.5–4 มิลลิเมตร ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก เกลี้ยง รูปคล้ายสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้มี 10 กลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณู ยาว 3–3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง จานฐานดอกมีขนเกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2–3.5 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง หมอนรองดอกมีพูและขนหนาแน่น

โกฐพุงปลา thai-herbs.thdata.co | โกฐพุงปลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ผล ผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง หรือมีสันตื้นๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง

      เมล็ด ค่อนข้างแข็ง มี 1 เมล็ด รูปยาวรี

โกฐพุงปลา thai-herbs.thdata.co | โกฐพุงปลา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ปูด (โกฐพุงปลา) คือก้อนแข็งปูดหรือปุ่มหูด (gall) อันเกิดจากต้นสมอไทย (เกิดจากใบและยอดอ่อนของสมอไทย) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก มีรสฝาดและขมจัด เป็นยาฝาดสมานอย่างแรง โดยจะมีลักษณะคล้ายกับถุงแบน กลวง ปากแคบ มีคอคอดคล้ายมีขั้ว ส่วนก้นจะป่อง แบน ผิวเป็นสีน้ำตาลปนสีนวล บางตอนเป็นตะปุ่มตะป่ำ บางตอนเรียบ ส่วนที่เสมือนปลิ้นออกมาอาจเป็นสีแดงเรื่อ ผิวด้านนอกย่น มีสีน้ำตาล ส่วนด้านในจะขรุขระและเป็นสีดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และหนาประมาณ 0.4-1.5 เซนติเมตร ปุ่มหูดหรือปูด (gall) จะเป็นก้อนแข็งที่เกิดจากส่วนของพืช อย่างเช่นใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนที่ถูกแมลงเจาะและหยอดไข่ลงไป แล้วต้นสมอไทยก็เกิดสร้างสารขึ้นมาป้องกัน โดยห่อหุ้มไข่ของแมลงเหล่านั้นไว้ เมื่อปุ่มหูดนี้แห้งแข็งก็จะมีลักษณะคล้ายถุงแบนและกลวง

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียใต้

การกระจายพันธุ์: เอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทย แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จากลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ดยอดภายใน สมานแผล แก้ฝีภายใน แก้โรคอุจจาระธาตุลงอติสาร ลงแดง เป็นยาฝาดสมาน

-พิกัดยา ประกอบด้วย

      1.“พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต

      2.“พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก

      3.“พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โกฐพุงปลาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

      1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐพุงปลาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

      2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของโกฐพุงปลาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ ตำรับ“ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของโกฐพุงปลาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ

      3.ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” และตำรับ มีส่วนประกอบของโกฐพุงปลาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: - 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง