Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ถั่วลันเตา

ชื่อท้องถิ่น: ถั่วน้อย (พายัพ)/ ถั่วลันเตาเปลือกหนา ถั่วลันเตา (ไทย)

ชื่อสามัญ: Sugar pea, Sweet peas, Garden pea, Pea

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pisum sativum L.

ชื่อวงศ์:  FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Pisum 

สปีชีส์: sativum

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นถั่วลันเตา เป็นไม้เถาเลื้อย มีความสูงได้ถึง 2 เมตร เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นเดี่ยวเป็นหลัก ลำต้นมีลักษณะกลมๆ จะแตกกิ่งก้านตามข้อเป็นเถา มีเถาอ่อนเป็นเหลี่ยม บางพันธุ์มีมือเกาะ มีสีเขียว


ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบมีใบย่อยออกเป็นคู่สลับกัน ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายใบเปลี่ยนเป็นมือเกาะเลื้อย บางสายพันธุ์อาจมีเฉพาะมือเกาะ หรือบางสายพันธุ์ก็อาจมีเฉพาะใบ


ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเเป็นช่อ ช่อละ 1-3 ดอก แทงออกบริเวณระหว่างโคนใบของข้อในลำต้น พันธุ์ที่ออกดอกเร็วจะออกดอกแรกบริเวณข้อที่ 5-11 ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกช้าจะออกบริเวณข้อที่ 13-15 ดอกที่พบมี 2 สี คือ สีขาว และสีม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ คือ 1)กลีบดอก Standard เป็นกลีบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ด้านบนสุดของดอก ดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีกลีบดอกชนิดนี้ห่อหุ้มดอกทั้งหมด แต่เมื่อดอกบาน กลีบหุ้มนี้จะคลี่ออก และปลายกลีบโค้งออกด้านหลัง 2)กลีบดอก Wing เป็นกลีบดอกที่มีขนาดเล็กรองลงมา ประกอบด้วย 2 กลีบ อยู่ด้านข้างดอก 3)กลีบดอก Keel เป็นกลีบดอกเรียวยาวคล้ายหลอด อยู่บริเวณด้านในสุด ทำหน้าที่ห่อหุ้มเกสร เกสรประกอบด้วยเกสรเพศผู้ 10 เส้น โดย 9 เส้น เรียงล้อมรอบรังไข่ ส่วนอีก 1 เส้น มีขนาดสั้นกว่า จะแยกตัวอยู่อิสระ ส่วนเกสรเพศเมียจะอยู่ตรงกลางสุดของดอกที่เป็นรังไข่แบนยาว สีเขียว ก้านชูเกสรโค้งยาว


ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นแบบฝัก รูปทรงแบนยาวรี โค้งงอเล็กน้อย ฝักอ่อนมีสีเขียวอ่อน มีรสชาติหวานกรอบ ฝักแก่มีสีเขียวเข้ม ฝักจะนูนขึ้น มีเมล็ดโตเรียงกันอยู่ข้างใน ฝักแก่จัดมีสีน้ำตาล มีเมล็ดเรียงกันอยู่ ภายในฝักแก่จัด จะมีประมาณ 4-9 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะทรงกลมเล็กๆ เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่จัดมีสีน้ำตาล

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อัฟกานิสถาน

การกระจายพันธุ์: -

ถั่วลันเตา thai-herbs.thdata.co | ถั่วลันเตา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเย็น สรรพคุณ  แก้ตับพิการ ชักตับ แก้ตับทรุด

*ฝัก รสมัน สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี 12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท

-ถั่วลันเตานอกจากจะมีเส้นใยอาหารสูงแล้ว ยังมีไขมันต่ำ และอยู่ในรูปของไขมันไม่อิ่มตัว การรับประทานเป็นประจำ จึงไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ

-ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะถั่วชนิดนี้มีโซเดียมเพียง 5% ของปริมาณสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ต่อวัน 

-ถั่วลันเตาหรือซุปถั่วลันเตา สามารถช่วยให้อาการทุเลาลงหรือหายไปได้ เพราะส่วนกากที่ผสมอยู่ในน้ำถั่วลันเตานั้น จะช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารช่วยจับสารพิษก่อโรคต่าง ๆ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอาหารให้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาอาการของโรคไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคลำไส้หงุดหงิด เมื่อดื่มน้ำปั่นถั่วลันเตาแล้วอาการจะดีขึ้นมาก แต่ต้องเป็นน้ำถั่วลันเตาที่นำไปต้มแล้วเสิร์ฟแบบอุ่น ๆ พร้อมทั้งเติมผลกระวานและขิงเข้าไปด้วยพอให้ออกรสร้อน

-ถั่วลันเตาประเภทกินเมล็ดเป็นผักที่นิยมใช้ในอาหารจีนประเภทผัดผัก ผัดถั่วลันเตา หรือนำไปต้ม ทำไข่ยัดไส้ แกงจืดใส่หมู ข้าวผัดอเมริกัน ใช้เป็นส่วนประกอบในเบเกอรี่ อย่างเช่น พิซซ่า แซนด์วิช ไส้ขนมปัง หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในสเต็ก ฯลฯ

-ถั่วลันเตาประเภทกินฝัก เราจะใช้ฝักถั่วที่ยังอ่อนอยู่นำมาใช้ปรุงอาหาร ด้วยการนำไปผัดกับหมูหรือกุ้ง ผัดน้ำมันหอย ผัดผักรวมมิตร ใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริก ทำเป็นแกงแคร่วมกับผักต่าง ๆ แกงเลียง แกงส้ม หรือทำแกงจืดหมูสับ เป็นต้น 

-เมล็ดสด ใช้ปรุงอาหารจำพวกผัด ทอดต่างๆ, แปรรูปเป็นถั่วลันเตากระป๋อง ถั่วลันเตาแช่แข็ง

-เมล็ดแห้ง ใช้คั่วเกลือรับประทานเป็นอาหารว่าง, ผลิตแป้งจากถั่วลันเตา

-ต้น และใบถั่วลันเตา ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับเสริมโปรตีน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง