Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เร่วใหญ่

ชื่อท้องถิ่น: หมากแหน่ง (สระบุรี)/ หน่อเนง (ชัยภูมิ)/ มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่)/ หมากเนิง (ภาคอีสาน)/ เร่วใหญ่ (ทั่วไป

ชื่อสามัญ: Bustard cardamom, Tavoy cardamom

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amomum xanthioides Wall. ex Baker 

ชื่อวงศ์:  ZINGIBERACEAE

สกุล:  Amomum 

สปีชีส์: xanthioides 

ชื่อพ้อง: Amomum villosum var. xanthioides (Wall. ex Baker) T.L.Wu & S.J.Chen .

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเร่วใหญ่ เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 1.5-2.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีข้อและปล้องชัดเจน เลื้อยขนานพื้นดินและแตกแขนงเป็นแง่ง ลำต้นเทียมเหนือดินคือส่วนของกาบใบที่หุ้มซ้อนทับกันมีสีเขียวทรงกระบอกกลม เนื้อในสีขาวเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ


เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบเรียวยาว เป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก มีความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบเป็นแผ่นมีขนาดสั้น เรียงอัดแน่นคล้ายลำต้นบนดินสีเขียว เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกจะรวมอยู่ในก้านเดียวกันเป็นช่อยาว ๆ คล้ายกับดอกข่า กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนแล้วจะเปลี่ยนสีน้ำตาลเทา โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นกลีบ ก้านช่อดอกสั้น


เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเรียวยาวหรือขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกได้ มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ผลมีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดเป็นกลุ่ม 10-20 เมล็ด ลักษณะเหมือนเร่วน้อย เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสร้อนเผ็ดปร่า


สภาพนิเวศวิทยา:  พบที่ป่าดิบเขาและป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 600 - 800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออก ไปจนถึงจีนทางใต้

การกระจายพันธุ์: จีน อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้าหรือหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น รสสุขุม สรรพคุณ แก้คลื่นเหียนอาเจียน

*ใบ รสจืด สรรพคุณ แก้ปัสสาวะพิการ 

*ดอก รสขม สรรพคุณ แก้เม็ดผื่นคันคล้ายผด  

*ผล รสขมเผ็ด สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี และเสมหะ แก้ริดสีดวงทวารทั้ง 9

*เมล็ด รสเผ็ด สรรพคุณ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับผายลม บำรุงน้ำนม 

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดทศกุลาผล” ได้แก่ เร่วน้อย เร่วใหญ่ ชะเอมไทย ชะเอมเทศ อบเชยไทย อบเชยเทศ ผักชีล้อม ผักชีลาว ลำพันขาว และลำพันแดง สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิดตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ และแก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เมล็ด มีน้ำมันระเหยง่ายมากกว่าร้อยละ 3 องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ camphor, borneol, bomyl acetate, linalool, nerolidol, p-methyloxy-trans ethylcinnamate และพบ saponin 0.69%

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากเมล็ดเร่วใหญ่ ในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley  โดยการป้อนสารสกัดพืชแก่หนู หลังจากนั้น 30 นาที ป้อน 60% ethanol ใน 150 mM HClปริมาณ 0.5 ml/100g เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หลังจากหนูได้รับ HCl-ethanol แล้ว 1 ชั่วโมง จึงแยกกระเพาะอาหารออกมาศึกษา ผลการทดสอบพบว่าส่วนสกัดย่อยที่ 4 (150 mg/kg) และส่วนสกัดย่อยที่ 6 (100 mg/kg) ที่แยกจากสารสกัดบิวทานอล ทำให้ขนาดแผลในกระเพาะอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า lesion index เท่ากับ 5.6±0.56** และ 23.8±1.97* ตามลำดับ  (*p<0.05, **p<0.01 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) โดยส่วนสกัดย่อยทั้งสองชนิดออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน cimetidine (lesion index เท่ากับ 25.6±2.12*) (Lee, et al.,2007)

-ฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรด ผลยับยั้งการหลั่งกรดในหนูที่ผ่านการทำ pyrolic ligation (ผูกกระเพาะอาหารส่วนปลาย) เพื่อกระตุ้นการหลั่งกรด และตัดกระเพาะอาหารออกมาศึกษา พบว่าสารสกัดบิวทานอล (350 mg/kg) และสารสกัดเอทานอล (1,000 mg/kg) จากเมล็ดเร่วใหญ่ สามารถลดปริมาณกรดรวมในกระเพาะอาหารได้ โดยมีค่าปริมาณกรดรวม (total acid output) เท่ากับ 42.73±3.89 และ 54.67±10.58 mEq/mL ตามลำดับ (p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) สารมาตรฐาน cimetidine (total acid output เท่ากับ 19.65±5.39 mEq/mL) (Lee, et al.,2007)

-ฤทธิ์ในยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter  pylori เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter  pylori เป็นสาเหตุหลักในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดเร่วใหญ่ สามารถยับยั้งเชื้อ H. pylori  ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (MIC) เท่ากับ 1.43 μg/ml เทียบเท่ากับยามาตรฐาน ampicillim (MIC เท่ากับ 1.00 μg/ml) (Lee, et al.,2007)

-ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร ทดสอบในหลอดทดลองกับเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร 3 ชนิด ที่แยกได้จากคน ได้แก่ AGS, KATO III และ SNU638 ผลการทดสอบพบว่าส่วนสกัดย่อยที่ 4 ที่แยกจากสารสกัดบิวทานอลของเมล็ดเร่วใหญ่ สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดได้ ที่ความเข้มข้น 1.0 และ 0.5 p.g/mL ภายหลังจากการสัมผัสสารทดสอบที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ (Lee, et al.,2007) โดยสรุปสารสกัดจากเร่วสามารถนำไปพัฒนาในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และมะเร็งกระเพาะอาหารได้

-ฤทธิ์ปกป้องตับ ศึกษาฤทธิ์ปกป้องตับของสารสกัดน้ำจากเร่วใหญ่ ในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawley  ให้หนูได้รับสารไดเมททิลไนโตรซามีน (DMN) ขนาด 10 mg/kg โดยการฉีดเข้าช่องท้อง 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดตับอักเสบกึ่งเรื้อรัง ร่วมกับการป้อนสารสกัดน้ำจากเร่วหอม ในขนาด 50 หรือ 100 mg/kg ในหนูแต่ละกลุ่ม โดยให้วันละครั้ง เป็นระยะเวลานาน 3 สัปดาห์ จากนั้นจึงนำตับ และเลือดมาศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการให้สารสกัดน้ำจากเร่วหอม ในขนาด 100 mg/kg สามารถลดระดับของเอนไซม์ตับ ซึ่งบ่งบอกภาวะการอักเสบของตับลดลง โดยมีปริมาณที่ตรวจพบในซีรัมดังนี้ alanine aminotransferase (123.6±39.9IU/L*), aspartate aminotransferase (227.9±69.6 IU/L**), alkaline phosphatase (820.9±360.9 IU/L*) และ total bilirubin (0.50±0.50g/dL*) (**p<0.01, * p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ DMN) การตรวจสอบในเนื้อเยื่อตับ พบว่าปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบลดลงได้แก่ malondialdehyde (MDA) โดยมีปริมาณเท่ากับ 53.6±9.1 μM/g tissue) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ DMN (p<0.01) และลดการสะสมของคอลลาเจนในเซลล์ตับ วัดจากปริมาณ hydroxyproline มีค่าเท่ากับ 30.5 6.9 mg/g tissue ซึ่งมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ DMN (p<0.01)  นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากเร่วหอม ยังมีผลช่วยให้ระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีปริมาณของ total antioxidant capacity (2.54±0.14μM/mg tissue), superoxide dismutase (0.30±0.04U/mg tissue), glutathione (2.10±0.52μM/mg tissue) และ catalase (605.0±103.9 U/mg tissue) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ DMN) (Wang, et al., 2013) โดยสรุปสารสกัดน้ำจากเร่วหอมมีผลปกป้องตับอักเสบเรื้อรังในหนู ผ่านกลไกของการต้านอนุมูลอิสระ

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดในหลอดทดลอง ของสารสกัด 50% เอทานอล จากเมล็ดแห้งเร่วใหญ่ โดยวัดจากการนำกลูโคสกลับเข้าเซลล์ไขมันเพาะเลี้ยง ชนิด 3T3-L1 ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเมล็ดเร่วหอมในขนาด 0.5 mg/ml สามารถกระตุ้นการนำกลูโคสกลับเข้าเซลล์ไขมัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยคิดเป็น 3.4 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีสารสกัด และเมื่อใช้สารสกัดขนาด 0.02, 0.1 และ 0.5 mg/ml ร่วมกับฮอร์โมนอินซูลิน (10 µmol/l) พบว่าสามารถเพิ่มการนำกลูโคสกลับเข้าเซลล์ได้ 1.3, 1.6 และ 1.7 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะอินซูลินโดยไม่มีสารสกัด จากการศึกษาสามารถยืนยันฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้งเร่วหอมในหลอดทดลอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการพัฒนายาสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ (Kang and Kim, 2004)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-สารสกัดแอลกอฮอล์จากผลแห้งแก่ของเร่วใหญ่ แก่หนูถีบจักรกินในขนาด 32 กรัม/กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 16,000 เท่าในคน และเมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 1 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบอาการพิษ

การใช้ประโยชน์:

เร่วใหญ่ thai-herbs.thdata.co | เร่วใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-อาการท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ใช้เมล็ดจากผลแก่นำมาบดให้เป็นผง แล้วใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง 

-อาการปวดแน่นท้อง ด้วยการใช้เมล็ดเร่วผสมกับหัวแห้วหมู ขิงแห้ง และชะเอมเทศ นำมาปรุงเป็นยารับประทาน

-เมล็ดและผล สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศได้

-เมล็ด สามารถนำมาผลิตหรือใช้ทำเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์อาหาร



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง