Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หนาดใหญ่

ชื่อท้องถิ่น: ใบหลม ผักชีช้าง พิมเสน หนาดใหญ่ (ภาคกลาง)/ หนาด (จันทบุรี)/ คำพอง หนาดหลวง (ภาคเหนือ)/  แน พ็อบกวา (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน)/ จะบอ (มลายู-ปัตตานี)/ เพาะจี่แบ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)/ ส้างหยิ้ง (ม้ง)/ อิ่มบั้วะ (เมี่ยน)/ เก๊าล้อม (ลั้วะ)/ ด่อละอู้ (ปะหล่อง)/ ตั้งโฮงเซ้า ไต่ฮวงไหง่ ไหง่หนับเฮียง (จีน)/ ต้าเฟิงไอ๋ ไอ๋น่าเซียง (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Ngai Camphor Tree, Camphor Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Blumea balsamifera (L.) DC.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Blumea 

สปีชีส์: balsamifera 

ชื่อพ้อง: 

-Baccharis balsamifera (L.) Stokes

-Baccharis gratissima Blume ex DC.

-Baccharis salvia Lour.

-Blumea appendiculata DC.

-Blumea balsamifera var. microcephala Kitam.

-Blumea grandis DC.

-Blumea zollingeriana C.B.Clarke

-Conyza appendiculata Blume

-Conyza balsamifera L.

-Conyza grandis Wall.

-Conyza vestita Wall.

-Placus balsamifer (L.) Baill.

-Pluchea appendiculata Zoll. & Moritzi

-Pluchea balsamifera (L.) Less.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นหนาดใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 0.5-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อไม้เป็นแก่นแข็ง เปลือกต้นเรียบเป็นสีเขียวอมขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา แตกกิ่งก้านมาก มีขนปุกปุยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุมและมีกลิ่นหอม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมีติ่งหนาม โคนใบสอบหรือเรียวแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบสั้นหรือไม่มี


หนาดใหญ่ thai-herbs.thdata.co | หนาดใหญ่ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่บริเวณปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 6-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร ชั้นใบประดับยาวกว่าดอกย่อย ลักษณะของดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวได้ถึง 6 มิลลิเมตร ปลายกลีบเมื่อบานจะแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว โคนดอกมีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นเส้นฝอยปลายแหลมหุ้มอยู่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกมาจากใจกลางดอก และดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

ผล ลักษณะเป็นผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ 5-10 เส้น ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ ปกคลุม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเมาฉุนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับผายลม แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ มวนเป็นบุหรี่สูบ แก้ริดสีดวงจมูก

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ กลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่าย ประกอบด้วย d-carvo-tanacetone 1-tetrahydrocarvone mixture ของ butyric isobutyric และ n-octanoic acids, 1-borneol 1,8-cineol อนุพันธ์ของ carvotanacetone 2 ชนิด diester ของ coniferyl alcohol อนุพันธ์ของ polyacetylenes และ thiophene campesterol stigmasterol sitosterol xanthoxylin erianthin สารฟลาโวนอยด์คือ 4’-methyl ether และ 4’, 7- dimethyl ether ของ dihydroquercetin สาร sesqiterpene ชื่อ cryptomeridion

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต สารสกัดจากใบหนาดใหญ่ เมื่อนำมาฉีดเข้ากับสัตว์ทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อลายหดตัว และช่วยยับยั้ง Sympathetic nerve แต่ถ้านำมาฉีดให้กับคนจะพบว่าสามารถแก้ความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวายใจได้ และยังพบว่ามีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้อีกด้วย

สารสกัดหนาดใหญ่ถูกนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดตีบและไขมันในเลือดสูงได้ (2006)

สารผสมจากหนาดใหญ่นั้น ถูกใช้ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคหลอดเลือดตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย ในปริมาณ 5:1000 มิลลิกรัม (2007)

-ฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ น้ำที่ต้มได้จากใบและรากหนาดใหญ่ ในความเข้มข้น 1% จะมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ และจากการทดลอง เมื่อนำมาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของน้ำต้มจากกาเฟอีนและใบชา พบว่าหนาดจะมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะอ่อนกว่าเล็กน้อย

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-พิมเสน (พิมเสนหนาด) คือส่วนที่สกัดได้จากใบและยอดอ่อนด้วยไอน้ำ ซึ่งจะได้น้ำมันหอม ทำให้เย็น พิมเสนก็จะตกผลึก แล้วกรองแยกเอาผลึกพิมเสนมาใช้ประมาณ 0.15-0.3 กรัม นำมาป่นให้เป็นผงละเอียด หรือนำไปทำเป็นยาเม็ดกิน

-ประเทศจีน ใช้ใบ ขับลม ขับพยาธิ และทำให้แท้ง

-หนาดใหญ่ นอกจากจะใช้เป็นยาพื้นบ้านแล้วยังใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพิมเสนอีกด้วย โดยพิมเสนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็ได้มาจากการนำใบหนาดมาสกัดและผลิตเป็นผลึกของพิมเสนนั่นเอง

-คนเมืองจะใช้ใบหนาดเป็นที่ประพรมน้ำมนต์เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายร่วมกับกิ่งพุทรา

-ในด้านของความเชื่อ ชาวฟิลิปปินส์เชื่อว่า ถ้านำใบหนาดติดตัวไว้จะช่วยทำให้ปลอดจากภยันตรายต่าง ๆ ชาวมาเลเซียถือกันว่าจะช่วยป้องกันตัวได้ในขณะออกล่าช้างป่า ส่วนในบ้านเรานั้นเชื่อว่าใบหนาดช่วยป้องกันผีได้ สาเหตุคงสืบเนื่องมาจากในนิยายเรื่อง อีนากพระโขนง ที่มีข้อความว่า “ผัวเข้าดงหนาดเมียจะขาดใจตาย”



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง