Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กะเพรา

กะเพรา thai-herbs.thdata.co | กะเพรา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่)/ ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน)/ กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง)/ อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Holy basil, Thai basil, Sacred basil.

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum tenuiflorum L.

ชื่อวงศ์: LABIATAE

สกุล: Ocimum

สปีชีส์: tenuiflorum

ชื่อพ้อง: Ocimum sanctum L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกะเพรา เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.3 – 1.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โคนต้นแข็ง มีขนคลุมทั่ว แตกกิ่งก้านสาขามาก และมีกลิ่นหอมแรง กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราะแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า กะเพราขาว มีใบและลำต้นสีเขียว และกะเพราะแดง มีใบและลำต้นสีแดงอมเขียว

ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบออกตรงข้ามในแต่ละข้อของลำต้นและกิ่ง ลักษณะใบรูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวหรือสีแดง และมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบสีเขียวหรือสีแดงแล้วแต่พันธุ์

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อฉัตร ออกช่อที่ยอดหรือปลายกิ่ง ริ้วประดับรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบมีขน ดอกย่อยแบบสมมาตรด้านข้าง ก้านดอกโค้งยาวมีขน มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นปาก กลีบดอกสีขาวอมม่วงหรือสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยกเป็นปาก ปากบนมีแฉกมนๆ 4 แฉก ปากล่างโค้งลง แบน ขอบเรียบ ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

ผล เป็นแบบผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว มีขนาดเล็ก ปลายมน เกลี้ยง

เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปไข่ สีน้ำตาลมีจุดสีเข้ม หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่หมู่เกาะทางอินโดนีเซียจนถึงประเทศศรีลังกา

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

-ตำรายาไทย

*ใบและยอดกะเพรา ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก

*ใบสด ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้

*ใบสด ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน

-ตำรายาไทย ระบุว่า “กะเพราะทั้ง 2” (กะเพราะขาว-กะเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณ เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า    

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบกะเพรา ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ได้แก่

1.กลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ปรากฎตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

2.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิดตำรับ

-ยาพื้นบ้านของอินเดีย ใช้น้ำคั้นจากใบกินขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ทาที่ผิวหนังแก้กลาก หยอดหูแก้ปวดหู ชงกินเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์: -

-นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย

-ใบสด, กิ่งสด ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัว ๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด

-น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมัน

-ใบสด ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่าง ๆ ก็ได้ ฯลฯ

-ใบกะเพรา สามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง