Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กรุงเขมา

ชื่อท้องถิ่น: กรุงเขมา ขงเขมา พระพาย (ภาคกลาง)/ เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน)/ หมอน้อย (อุบลราชธานี)/ สีฟัน (เพชรบุรี)/ กรุงเขมา (นครศรีธรรมราช), เครือหมาน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ ก้นปิด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)/  อะกามินเยาะ (มลายู-นราธิวาส)/ ยาฮูรู้ ซีเซิงเถิง อย่าหงหลง (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Icevine, Pareira barva

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissampelos pareira L.

ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE

สกุล: Cissampelos

สปีชีส์: pareira

ชื่อพ้อง: 

-Cissampelos poilanei Gagnep.

-Cissampelos pareira var. hirsuta (Buch.-Ham. ex DC.) Forman

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกรุงเขมา เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดกลางเนื้อแข็ง ไม่มีมือเกาะ เลื้อยพาดพันตามต้นไม้อื่น ๆ ยาวได้ประมาณ 1 เมตร มีรากสะสมอาหารใต้ดิน มีขนนุ่มสั้นขึ้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ 


กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว มีหลายลักษณะ เช่น รูปหัวใจ รูปไต รูปกลม หรือรูปไข่กว้าง ออกแบบสลับ ก้นใบปิด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบส่วนมากมนหรือเรียวแหลมหรือเป็นติ่งหนาม โคนใบกลมตัด หรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มีขนนุ่มสั้นกระจายทั้งหลังใบและท้องใบ เส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ ก้านใบยาวประมาณ 2-9 เซนติเมตร มีขนนุ่มสั้นหรือเกือบเกลี้ยงติดอยู่ที่โคนใบห่างจากขอบใบขึ้นมาประมาณ 0.1-1.8 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมทั้งสองด้านและตามขอบใบ แต่ขนจะร่วงไปเมื่อใบแก่


กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกสีขาว ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 0.2-0.5 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน ออกเรียงแบบช่อเชิงหลั่นมีขนาดเล็ก แต่ละช่อกระจุกจะมีก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ออกเป็นกระจุกเดี่ยว ๆ หรือ 2-3 กระจุกในหนึ่งช่อ โดยช่อดอกเพศผู้จะออกตามง่ามใบ ก้านช่อกระจุกแตกแขนง ยืดยาว ประกอบด้วยกระจุกดอกอยู่ตามง่ามใบประดับ ใบประดับมีลักษณะกลมและขยายใหญ่ขึ้น ดอกเพศผู้เป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนขึ้นประปราย และมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.25-1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนยาวห่าง มีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณูยาวประมาณ 0.75 มิลลิเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียนั้นจะเป็นช่อคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ทรงแคบ ยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร โดยจะประกอบไปด้วยช่อดอกที่เป็นกระจุกติดแบบคล้ายเป็นช่อกระจะ แต่ละกระจุกจะอยู่ในง่ามของใบประดับ ใบประดับมีลักษณะกลม เมื่อขยายใหญ่ขึ้นจะยาวได้ถึง 1.5 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปรายหรือมีขนยาวนุ่ม ก้านดอกย่อยของดอกเพศเมียจะยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับกว้าง โคนสอบ ยาวประมาณ 0.75 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยง 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ไม่มีเกสรเพศผู้ปลอม เกสรเพศเมียมี 1 อัน ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีขนยาวห่าง ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง และยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 3 พู กางออก


กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลออกเป็นผลสด มีก้านอวบใหญ่ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มีรูปทรงกลมรีอยู่ตอนปลาย ผลเป็นสีส้ม เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ดลักษณะโค้งงอรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหรือรูปเกือกม้า ผิวเมล็ดขรุขระ มีรอยแผลเป็นของก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม ผนังผลชั้นในเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ด้านบนมีสันขวางประมาณ 9-11 สัน เรียงเป็น 2 แถว 

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นในป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ ตามริมแม่น้ำลำธาร ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,100 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -ฃมาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา และอเมริกา

กรุงเขมา thai-herbs.thdata.co | กรุงเขมา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นหอมสุขุม สรรพคุณ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้ดีซ่าน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้กรุงเขมา ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของกรุงเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ตำรับ “ยาประสะเจตพังคี” มีส่วนประกอบของกรุงเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก พบแอลคาลอยด์ปริมาณสูง เช่น hyatine, hyatinine, sepurine, beburine, cissampeline, pelosine นอกจากนี้ยังพบ quercitol, sterol  แอลคาลอยด์ hyatine มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและลดความดันโลหิต (ฤทธิ์เทียบเท่ากับ d-tubercurarine ที่ได้จากยางน่อง)  cissampeline แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ ใบมีสารพวกเพคติน เมื่อขยำใบกับน้ำ เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์คุมกำเนิด เมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบกรุงเขมาใน ขนาด 250 และ 450 มก./วัน/กิโลกรัม(น้ำหนักตัว) ให้แก่หนูถีบจักรเพศเมีย เป็นเวลา 21 วัน พบว่ามีฤทธิ์คุมกำเนิด โดยจะยืดระยะเวลาของวัฏจักรเป็นสัด (estrous cycle) ในขั้น diestrus ออกไป และทำให้จำนวนลูกหนูที่เกิดในครอกลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ลูกหนูก็ยังจะมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ แสดงว่าสารสกัดไม่มีผลทำให้แท้ง และเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของตัวอ่อน นอกจากนี้สารสกัดยังมีผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรเป็นสัด โดยจะลดระดับของ luteinizing hormone (LH), follicle-stimulating hormone (FSH) และ estradiol โดยจะเพิ่มระดับของ prolactin แต่จะไม่มีผลต่อ progesterone  

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาทดลองในอินเดีย ในปี ค.ศ.1979 โดยใช้สารสกัดจากส่วนเหนือดิน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ของกรุงเขมาที่สกัดด้วยน้ำ และ แอลกอฮอล์ (1:1) ในสัตว์ทดลอง ผลการทดลองพบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกรุงเขมาอีกมากในต่างประเทศ ซึ่งมีผลการศึกษาออกมาว่ากรุงเขมามีฤทธิ์ต้านฮีตามีนทำให้หัวใจเต้นช้าลง  ต้านการชักมีฤทธิ์เพิ่มน้ำลาย กดระบบประสาทส่วนกลาง กดระบบทางเดินหายใจ ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย คลายกล้ามเนื้อเรียบ ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาความเป็นพิษของกรุงเขมาพบว่าเมื่อทำการฉีดสารสกัดใบและกิ่งด้วยน้ำ หรือแอลกอฮอล์เข้าช่องท้องหนูถีบจักร จะมีขนาดต่ำที่สุดที่เป็นพิษคือ 1 มล.ต่อตัว แต่เมื่อฉีดสารสกัดอัลคาลอยด์เข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร ปรากฏว่าขนาดที่สัตว์ทดลองทนได้คือ 50 มิลลิกรัมต่อกรัม สำหรับในกระต่ายเมื่อทดลองฉีดสารสกัดรากด้วยอัลกอฮอล์-น้ำ (1:1) เข้าช่องท้องหรือใต้ผิวหนัง พบว่า ขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษแต่อย่างใด ส่วนอีกการทดลองหนึ่งระบุว่ามีการทดสอบความเป็นพิษของกรุงเขมา(ไม่ระบุส่วนที่ใช้) พบว่า สารสกัดที่นำไปทดลอง มีค่า LD50=7.3 กรัม/กิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-ใบนำมาคั้นเอาน้ำ เมื่อผสมกับเครื่องปรุงอาหารจะทำให้มีลักษณะเป็นวุ้น โดยใบกรุงเขมาจะมีสารเพกทินอยู่ประมาณ 30% (มีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำ) ถ้านำใบมาขยำกับน้ำ กรองเอากากออก เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น เรียกว่า “วุ้นหมาน้อย” 

-ใบนำมาคั้นเอาน้ำทำเป็นของหวาน โดยคั้นเอาน้ำใบเตยผสมลงไปด้วย แต่งเติมด้วยน้ำเชื่อม น้ำกะทิ ถ้าให้ดีก็ผสมน้ำผึ้ง เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น โดยจะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่เหมาะกับฤดูร้อน เพราะให้รสเย็น ช่วยแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารเพกทินสูง จึงช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง แก้ร้อนใน ช่วยในการขับถ่าย ดูดสารพิษจากทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ลดการดูดซึมของน้ำและไขมัน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 

-ในด้านความงาม ใบนำมาทำเป็นสมุนไพรมาส์กหน้า บำรุงผิว แก้สิวได้ด้วย เพียงแค่เด็ดใบนำมาล้างน้ำ ขยี้ใบให้เป็นวุ้น ๆ แล้วนำพอกหน้า หลังพอกจะรู้สึกผิวหน้าเต่งตึงสดใสเปล่งปลัง รู้สึกเย็นสบาย ช่วยแก้อาการอักเสบและสิว

-ในประเทศจีนจะใช้สารสกัดจากกรุงเขมาและดอกลำโพง นำมาฉีดให้คนไข้ที่ต้องผ่าตัดส่วนท้องหรือส่วนอก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึ่งจะช่วยให้การผ่าตัดนั้นง่ายขึ้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง