Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้างวงช้าง

ชื่อท้องถิ่น: ผักแพวขาว (กาญจนบุรี)/ หวายงวงช้าง (ศรีราชา)/ หญ้างวงช้างน้อย (ภาคเหนือ)/ หญ้างวงช้าง (ไทย)/ กุนอกาโม (มลายู-ปัตตานี)/ ชื้อเจาะ(ม้ง)/ ไต่บ๋วยเอี้ยว เฉี่ยผี่เช่า (จีนแต้จิ๋ว)/ เงียวบ๋วยเช่า ต้าเหว่ยเอี๋ยว เซี่ยงปี๊่เฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Alacransillo, Eye bright, Indian Heliotrope, Indian Turnsole, Turnsole

ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliotropium indicum L.

ชื่อวงศ์: BORAGINACEAE

สกุล: Heliotropium 

สปีชีส์: indicum

ชื่อพ้อง: 

-Eliopia riparia Raf.

-Eliopia serrata Raf.

-Heliophytum foetidum DC.

-Heliophytum indicum (L.) DC.

-Heliophytum velutinum DC.

-Heliotropium africanum Schumach. & Thonn.

-Heliotropium anisophyllum P.Beauv.

-Heliotropium cordifolium Moench

-Heliotropium foetidum Salisb.

-Heliotropium horminifolium Mill.

-Heliotropium lanceolatum Noronha

-Heliotropium parviflorum Blanco

-Tiaridium anisophyllum G.Don

-Tiaridium indicum (L.) Lehm.

-Tiaridium indicum var. mexicanum M.Martens & Galeotti

-Tiaridium velutinum Lehm.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้างวงช้าง เป็นไม้ล้มลุก มีอายุเพียงฤดูกาลเดียว เกิดในช่วงฤดูฝน ถึงหน้าแล้งก็ตาย มีความสูงของต้นประมาณ 15-60 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก มีขนหยาบปกคลุมตลอดทั้งต้นหญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหรือออกเกือบตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือป้อม ปลายใบแหลมสั้น กลางใบกว้างออก โคนใบมนรีหรือเรียวต่อลงมาถึงก้านใบ ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อยหรือเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบหยาบ มีรอยย่น และขรุขระ หลังใบและท้องใบมีขนเล็กน้อย มีก้านใบยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร


หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่บริเวณปลายยอด ปลายช่อมักม้วนลงดูเหมือนงวงช้างหรือหางแมงป่อง ช่อดอกยาวประมาณ 3-20 เซนติเมตร ดอกจะออกดอกทางด้านบนด้านเดียวและเรียงกันเป็นแถว ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีฟ้าอ่อนหรือสีขาว มีกลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกออกจากกัน ด้านนอกมีขนนุ่ม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน มีขนสีขาว ภายในหลอดดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อัน ติดอยู่กับฐานดอก รังไข่เป็นรูปจานแบน ๆ


หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลเป็นคู่ มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร ผลเกิดจากการที่รังไข่ 2 อันรวมตัวติดกัน เปลือกผลแข็ง ข้างในแบ่งออกเป็นช่อง 2 ช่อง มีเมล็ดอยู่ตามช่อง ช่องละ 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ตามพื้นที่ชื้นแฉะ เช่น ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ ท้องนา แหล่งน้ำต่าง ๆ หรือตามที่รกร้างตามวัดวาอารามทั่วไป 

ถิ่นกำเนิด: เปรูไปบราซิลและอาร์เจนติน่าเหนือ

การกระจายพันธุ์: -

หญ้างวงช้าง thai-herbs.thdata.co | หญ้างวงช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษตานซาง ลดไข้ในเด็ก แก้กระหายน้ำ  ละลายก้อนนิ่ว  แก้โรคตา

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้น พบสาร Acetyl indicine, Indicine, Indicinine เป็นต้น และยังพบสารสำคัญอีกหลายชนิด เช่น Alkaloid, Tumorigenic, Pyrrolizidine ซึ่งสารเหล่านี้มีความเป็นพิษต่อร่างกาย หากนำมาใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์กระตุ้นมดลูก เมื่อนำรากของหญ้างวงช้างมาต้มให้เข้มข้น แล้วนำมาฉีดเข้าเส้นเลือดของแมวที่สลบ พบว่าความดันโลหิตของแมวลดลง และกระตุ้นการหายใจได้แรงขึ้น แต่มีผลลดการเต้นของหัวใจของคางคกที่แยกออกจากตัว ซึ่งส่วนที่สกัดจากแอลกอฮอล์ไม่มีผลอันนี้ และส่วนที่สกัดด้วยน้ำจะไม่มีผลเด่นชัดต่อกล้ามเนื้อลำไส้เล็กของหนูที่แยกออกจากตัว แต่ต่อลำไส้เล็กของกระต่ายทดลองที่แยกจากตัว มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวลงได้มาก ส่วนที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์นั้นมีผลลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ลำไส้เล็กของกระต่ายเท่านั้น ส่วนที่สกัดทั้งสองไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบที่ท้องของคางคก แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกออกจากตัว ทั้งส่วนที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำมีสารที่ทำให้มดลูกบีบตัวได้ ส่วนที่สกัดจากใบหญ้างวงช้างจะมีผลต่อโรคของเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งของหนูเล็ก และสามารถต่อต้านเนื้องอกได้ในระยะหนึ่ง โดยยืดอายุของหนูออกไปได้ ส่วนที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ไม่เห็นพิษเด่นชัดนัก (ใช้ยาฉีดในขนาดเข้มข้น 1:1 เข้าทางช่องท้องของหนูเล็กในขนาด 0.8 มิลลิกรัม ก็ไม่ทำให้หนูทดลองตาย) ส่วนที่สกัดด้วยน้ำที่มีมีพิษต่อหนูเล็กเล็กน้อย

-จากการทดลองกับหนูขาวพบว่า สารจากหญ้างวงช้างที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูทดลอง ทำให้มีกาบิดตัวของมดลูกแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Schwartz) ได้ในระยะหนึ่ง โดยทำให้คนไข้ยืดต่อเวลาของชีวิตไปได้อีกระยะหนึ่ง

-ฤทธิ์รักษาแผลมีหนอง (ในฝีเขนาดล็ก) จากการทดลองใช้หญ้างวงช้างเป็นยารักษาแผลมีหนอง ฝีเม็ดเล็ก ๆ ด้วยการใช้ต้นหญ้างวงช้างทั้งต้นแห้งหนัก 50 กรัม นำมาหั่นเป็นฝอยผสมกับน้ำ 1 ลิตร แล้วต้มด้วยไฟอ่อนจนเหลือครึ่งลิตร ใช้แบ่งกินหลังอาหารครั้งละ 20 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ส่วนเด็กก็ลดปริมาณลงตามสัดส่วน จากการรักษาด้วยวิธีนี้พบว่าคนไข้จำนวน 213 ราย ที่กินยา 1-3 วัน หาย 73 ราย, กินยา 4-5 วัน หาย 96 ราย, กินยา 6-10 วัน หาย 52 ราย, และกินยา 10 วันขึ้นไป หายจำนวน 28 ราย ซึ่งจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่ายานี้จะมีผลต่อฝีเล็ก ๆ ที่เริ่มเป็นหนองและระยะเริ่มเป็นหนองแล้ว (มีเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว) แต่ใช้ในระยะเริ่มเป็นจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อให้สัตว์ทดลองกินหญ้างวงช้าง liver microsome จะออกซิไดซ์ ได้สาร dehydroheliotrine อย่างรวดเร็ว pyrrolic dehydroalkaloid นี้เป็น reactive alkylating agent จะทำให้เกิดแผลในตับ (แม้จำนวนเล็กน้อยก็ทำให้เกิดแผลได้) แผลที่เกิดขึ้นนี้กว่าจะแสดงอาการให้รู้ก็นับเวลาเป็นปี ๆ ส่วนในขนาดสูงจะทำให้เกิด liver necrosis อาการที่จะสังเกตเห็นได้ในสัตว์ คือ ความอยากอาหารลดลง ซึมตัวเหลือง เนื้อเยื่ออ่อน มีสีซีด

การใช้ประโยชน์:

-โรคปอดอักเสบ ฝีในปอด ฝีมีหนองในช่องหุ้มปอด ใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำผึ้งรับกิน หรือจะใช้ทั้งต้นสดประมาณ 60-120 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน

-อาการตาฟาง ใช้ใบคั้นเอาน้ำหยอดตา เป็นยาหยอดตาแก้ตาฟาง หรือใช้รากสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาเจ็บ ตาฟาง ตามัว

-อาการปากเปื่อย ใช้ต้นสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้บ้วนปากและกลั้วคอวันละ 4-6 ครั้ง 

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ทั้งต้นเป็นยาเย็น ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ดับร้อนใน

-อาการไข้ ลดไข้ ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่มเป็นยา

-อาการไอ ใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม

-อาการเจ็บคอ ใช้น้ำจากใบทำเป็นยาอมกลั้วคอจะช่วยแก้อาการเจ็บคอได้ 

-อาการหอบหืด ใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม

-อาการปวดท้อง ใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม

-อาการปวดท้องอันเกิดจากอาหารเป็นพิษ ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับหญ้าปันยอด 

-ช่วยแก้แผลฝีเม็ดเล็ก ๆ มีหนอง ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม ผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำกิน และให้นำใบสดมาตำกับข้าวเย็น

-ต้นหญ้างวงช้าง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานย้อมสีได้ จากการสกัดน้ำสีจากใบหญ้างวงช้าง เมื่อนำมาย้อมเส้นไหมก็พบว่าได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี มีความคงทนต่อการซักในระดับดีและดีมาก และมีความคงทนต่อแสงในระดับดี โดยสีที่ได้คือสีน้ำตาลอ่อน

-ชาวอีสานมีภูมิปัญญาการใช้หญ้างวงช้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการเป็นเครื่องมือตรวจวัดอากาศและความอุดมสมบูรณ์ของดิน เมื่อต้องการวัดคุณภาพของอากาศ ถ้าช่อดอกเหยียดตรงแสดงว่าปีนั้นฝนจะแล้งจัด แต่ถ้าช่อดอกม้วนงอแสดงว่าปีนั้นจะมีน้ำมาก และถ้าแปลงนามีต้นหญ้างวงช้างขึ้นเป็นจำนวนมากก็แสดงว่าแปลงนานั้นมีความอุดมสมบูรณ์ 

-ในประเทศอินจะใช้หญ้างวงช้างเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร และเฉพาะส่วนของเมล็ดจะใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บปวดของกระเพาะอาหาช่วยขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ด้วยการใช้ลำร ต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำกินเป็นยา 

-ในประเทศอินเดียนอกจากจะใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังแล้วยังใช้แก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง และแมลงสัตว์กัดต่อยด้วย 




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง