Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ลำจวน

การะเกด thai-herbs.thdata.co | การะเกด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ชื่อไทย: ลำจวน

ชื่อท้องถิ่น:  การะเกด ลำเจียก (ภาคกลาง)/ ปะหนัน ปาแนะ (มลายู-นราธิวาส)/ เกตก์, การเกด, ลำจวน, รัญจวน

ชื่อสามัญ: Screwpine

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze

ชื่อวงศ์: PANDANACEAE

สกุล: Pandanus

สปีชีส์: odorifer

ชื่อพ้อง: Pandanus odoratissimus L.f.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นลำจวน เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขาระดับสูงสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ผิวมีหนามสั้น เต็มทั้งต้น มีรูปทรงคล้ายต้นเตย สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร มีรากอากาศค่อนข้างยาวและใหญ่ค้ำจุนที่โคนต้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรางน้ำ แผ่นใบค่อย ๆ เรียวแหลมไปหาปลายใบ เส้นกลางใบมีหนามแหลมแข็งตลอดความยาวของใบ ส่วนขอบใบมีหนามแข็งยาวประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบด้านล่างมีนวล ซ้อนกันแน่นที่ปลายกิ่ง ใบสีเขียวขาว

ดอก เป็นแบบแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกจะออกที่ปลายยอดและมีจำนวนมาก ติดอยู่บนแกนช่อ ดอกจะไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก โดยช่อดอกเพศผู้เป็นช่อดอกสีขาวลักษณะตั้งตรง ยาวได้ประมาณ 25-60 เซนติเมตร มีใบประดับที่ดอกช่อย่อยมีกลิ่นหอมช่อออกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง สีขาว เกสรเพศผู้จะติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาวประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียนั้นจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ประกอบไปด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่มประมาณ 5-12 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ที่ปลายมีลักษณะหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียจะเรียงกันเป็นวง

การะเกด thai-herbs.thdata.co | การะเกด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลกลุ่ม ผลย่อยอัดกันแน่นมองเหมือนเป็นผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร แต่ละผลมีขนาดกว้างประมาณ 2-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ในระยะแรกผลมีสีขาวอมเขียว เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางเป็นสีแดง ส่วนตรงปลายยอดเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วจะมีโพรงอากาศจำนวนมาก

เมล็ด รูปกระสวย

สภาพนิเวศวิทยา: ดินทรายชายทะเล ลำห้วย ริมลำธาร สามารถพบขึ้นได้ตามชายหาดและพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น เกาะอัลดาบรา

การกระจายพันธุ์: แถบมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน สาธารณรัฐคองโก รัฐฟลอริดา หมู่เกาะลีเวิร์ด โมซัมบิก ปวยร์โตรีโก แทนซาเนีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด เยเมน

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รากอากาศ รสจืด สรรพคุณ แก้ขัดเบา เบาหวาน เบาขุ่น แก้กระเพาะปัสสาวะพิการ

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเกสรทั้ง 9” ได้แก่ ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก ดอกลำดวน สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อลม แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุ ให้เจริญอาหาร แก้โรคตา

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-อาการขัดปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รากอากาศ นำตากแห้งต้มกินเพื่อรักษานิ่ว ขับปัสสาวะ ลดความดัน ลดเบาหวาน

-ช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ใช้ยอดต้มกับน้ำให้สตรีดื่มตอนหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ

-ผลแก่จัด (ผิวผลเป็นสีแดง) สามารถนำมารับประทานได้ ซึ่งจะมีรสชาติคล้ายสับปะรด

-ดอก ใช้รับประทานได้ มีรสขมเล็กน้อย

-ดอก ใช้อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม (สตรีโบราณนิยมนำมาใส่หีบ เพื่ออบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม)

-ดอก นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือมันหมู แล้วปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้กันมาก

-ใบ สามารถนำมาใช้ในงานจักสานทำเป็นเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ ได้ดี เช่น กระสอบ เสื่อ หมวก กระเป๋า ฯลฯ เป็นวัตถุดิบของงานหัตถกรรมที่ดีและหาได้ง่าย

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นลำจวนเป็นไม้ที่มีรูปทรงเฉพาะตัวที่สวยงามแปลกตา ดอกมีกลิ่นหอม ปลูกเลี้ยงได้ง่าย มีความทนทาน อายุยืนยาว และหาพันธุ์ปลูกได้ง่าย จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี (เหมาะสำหรับปลูกตามที่ชื้นแฉะหรือริมฝั่งน้ำ)




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง