Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กะตังใบ

กระตังใบ thai-herbs.thdata.co | กระตังใบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ขี้หมาเปียก (นครราชสีมา)/ ต้างไก่ (อุบลราชธานี)/ คะนางใบ (ตราด)/ กะตังใบ (กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, เชียงใหม่)/ ช้างเขิง ดังหวาย (นราธิวาส)/ บังบายต้น บั่งบายต้น (ตรัง)/ ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ)/ ไม้ชักป้าน (ไทใหญ่)/ เหม่โดเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ ช้างเขิง (เงี้ยว)/ ต้มแย่แงง (เมี่ยน)/ อิ๊กะ (ม้ง)/ ช้างเขิง (ฉาน)/ กระตังใบ เรือง เขืองแข้งม้า

ชื่อสามัญ: Bandicoot Berry

ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์: VITACEAE

สกุล: Leea

สปีชีส์: Indica

ชื่อพ้อง:

-Aquilicia sambucina L. [Illegitimate]

-Leea biserrata Miq.

-Leea celebica Clarke

-Leea divaricata T. & B.

-Leea expansa Craib

-Leea fuliginosa Miq.

-Leea gigantea Griff.

-Leea gracilis Lauterb.

-Leea longifolia Merr.

-Leea naumannii Engl.

-Leea novoguineensis Val.

-Leea ottilis (Gaertn.) DC.

-Leea palambanica Miq.

-Leea pubescens Zipp. ex Miquel

-Leea ramosii Merr.

-Leea robusta Blume

-Leea roehrsiana Sanders ex Masters

-Leea sambucifolia Salisb.

-Leea sambucina (L.) Willd.

-Leea sambucina var. biserrata (Miq.) Miq.

-Leea sambucina var. heterophylla Zipp. ex Miquel

-Leea sambucina var. occidentalis Clarke

-Leea sambucina var. robusta Miq.

-Leea sambucina var. roehrsiana (Sanders ex Masters) Chitt.

-Leea sambucina var. simplex Miq.

-Leea sambucina var. sumatrana (Miq.) Miq.

-Leea staphylea Roxb.

-Leea sumatrana Miq.

-Leea sundaica Miq.

-Leea sundaica var. fuliginosa (Miq.) Miq.

-Leea sundaica var. pilosiuscula Span. ex Miq.

-Leea sundaica var. subsessilis Miq.

-Leea umbraculifera C.B. Clarke

-Leea viridiflora Planch.

-Staphylea indica Burm. f.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกะตังใบ เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นค่อนข้างเกลี้ยงหรือปกคลุมด้วยขนสั้น ๆ ต้นฉ่ำน้ำ ตามต้นและตามกิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ริ้วประดับมีตั้งแต่รูปสามเหลี่ยมค่อนข้างกว้าง ถึงรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร หูใบเป็นรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่น มีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 6 เซนติเมตร ซึ่งมักจะเกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย จะเห็นชัดเจนในขณะที่ใบยังอ่อน และจะร่วงได้ง่ายเมื่อใบแก่ เหลือไว้เฉพาะรอยแผลรูปสามเหลี่ยม ใบย่อยมีประมาณ 3-7 ใบ ออกเป็นคู่ตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรียาว รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบแหลมเล็กน้อย มน หรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-24 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย เนื้อใบหนาปานกลาง ก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขน หลังใบเป็นลอนตามแนวเส้นใบ ส่วนท้องใบเป็นลอนสีเขียวนวล และมีต่อมขนาดเล็กรูปเหลี่ยมหรือกลม เห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-16 เส้น

ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตั้งขึ้น ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบหรือตรงเรือนยอดของกิ่ง ก้านชูช่อดอกยาว แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นเป็นสีขาวอมเขียว ขาวอมเหลือง หรือสีเขียวอ่อน ดอกตูมเป็นรูปทรงกลมสีแดงเข้ม เมื่อดอกบานจะเปลี่ยนเป็นสีขาว กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน กลีบดอกส่วนล่างติดกัน ส่วนด้านในเชื่อมติดกับส่วนของเกสรเพศผู้ ส่วนบนแยกเป็นกลีบเรียว 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมน ๆ ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมีรังไข่ 6 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรสั้น ปลายมน

ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ๆ หรือกลมแป้น ด้านบนแบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มจนถึงสีดำ ผิวผลบางมีเนื้อนุ่ม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบ ป่าผลัดใบ และตามป่าเต็งรัง บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่ความสูงประมาณ 1,400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่อินเดียถึงออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

การกระจายพันธุ์: อินเดีย เนปาล พม่า บังกลาเทศ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ไปจนถึงออสเตรเลียและฟิจิ

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การแยกหน่อ และ การปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *ราก รสเย็นเมาเบื่อ สรรพคุณ ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ดับร้อน

      *ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง

      *น้ำยาง จากใบอ่อนกินเป็นยาช่วยย่อย

      *ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งเต้านม

-หมอยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ราก ฝนกับเหล้าทา รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุกใช้รับประทานได้ ชาวเมี่ยนใช้ผลสุกเป็นเหยื่อตกปลา

-ชาวกะเหรี่ยงแดงจะใช้ใบนำมาต้มให้หมูกิน

-ใบอ่อน ยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาลวกหรือต้มรับประทาน โดยจะมีรสฝาดมัน

-นอกจากนี้ยังมีการใช้รากของต้นกะตังใบ นำมาตำใส่แผลที่มีหนองของวัว ควาย และช้างอีกด้วย

 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง