Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระแตไต่ไม้

ชื่อท้องถิ่น: ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี)/ กระปรอก (จันทบุรี)/ ฮำฮอก (อุบลราชธานี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์)/ หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)/ กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี)/ เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี)/ กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ กูดขาฮอก กูดอ้อม กูดไม้ (ภาคหนือ)

ชื่อสามัญ: Oak-leaf fern, Drynaria

ชื่อวิทยาศาสตร์: Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.

ชื่อวงศ์: POLYPODIACEAE

สกุล: Drynaria 

สปีชีส์: quercifolia

ชื่อพ้อง: 

-Phymatodes brancifolia C.Presl

-Phymatodes morbillosa C.Presl

-Phymatodes quercifolia C.Presl

-Phymatodes sylvatica C.Presl

-Aglaomorpha quercifolia (L.) Hovenkamp & S.Linds.

-Drynaria brancaefolia T.Moore

-Drynaria morbillosa T.Moore

-Drynaria quercifolia var. normalis Domin

-Drynariopsis morbillosa (C.Presl) Copel.

-Polypodium brancifolium C.Presl

-Polypodium conjugatum Poir.

-Polypodium morbillosum C.Presl

-Polypodium quercifolium L.

-Polypodium quercifolium var. normale F.M.Bailey

-Polypodium quercioides Desv.

-Polypodium schkuhrii Bory

-Polypodium siifolium Goldm.

-Polypodium sylvaticum Schkuhr

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระแตไต่ไม้ thai-herbs.thdata.co | กระแตไต่ไม้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระแตไต่ไม้ เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีหัวเหง้า เลื้อยเกาะอยู่บนต้นไม้หรือตามก้อนโขดหิน ลำต้นจะทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เหง้าหัวกลม ยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มมีขนยาวสีน้ำตาลปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ เนื้อในสีขาวและเขียว


กระแตไต่ไม้ thai-herbs.thdata.co | กระแตไต่ไม้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบที่ไม่สร้างสปอร์

 กระแตไต่ไม้ thai-herbs.thdata.co | กระแตไต่ไม้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

 ใบที่สร้างสปอร์


กระแตไต่ไม้ thai-herbs.thdata.co | กระแตไต่ไม้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

 อับสปอร์

ใบ เป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ใบจะประกบต้นตั้งเฉียงกับลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตรและอาจยาวได้ถึง 32 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หุ้มอยู่บริเวณเหง้า ผิวของใบอ่อนมีขนเป็นรูปดาว ชนิดนี้ใบจะไม่มีก้าน และชนิดที่สองคือ ใบที่สร้างสปอร์ ชนิดนี้จะอยู่สูงกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์ และชี้ขึ้นด้านบน ลักษณะของแผ่นใบจะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และอาจยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร ส่วนขอบใบมีลักษณะเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ เป็นพู เรียงตัวกันแบบขนนก ใบมีสีเขียวหม่นเป็นมัน เนื้อใบเหนียว และมีก้านใบยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบจะมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ กลุ่มอับสปอร์ลักษณะเป็นรูปกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นของใบย่อย แอนนูลัสประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง และไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นตามต้นไม้ ตามโขดหิน ตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับความสูงต่ำ ๆ

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

กระแตไต่ไม้ thai-herbs.thdata.co | กระแตไต่ไม้ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยกาใช้เหง้าหรือสปอร์

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัวเหง้า รสจืดเบื่อ สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้เบาหวาน เบื่อพยาธิ แก้ไตพิการ แก้แผลผุพอง

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้เหง้าต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้หอบหืด ขนจากเหง้า บดให้ละเอียด สูบแก้หืด ใบ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำอาบ แก้บวม แก้ไข้สูง

-ยาไทย ใช้หัวเหง้า รสจืดเบื่อ เป็นยาสมานคุมธาตุ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอยหรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลือง หรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้นิ่ว แก้เบาหวาน แก้แผลพุพอง แผลเนื้อร้าย ขับระดูขาว หรือใช้เหง้าผสมกับลำต้นเอื้องเงิน 1 ต้น ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง บำรุงเลือด

-อาการแผลเรื้อรังและแผลพุพอง ใช้ใบตำพอกแผล แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง

-หัว ต้มให้สุกสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก 

-ชาวเขาเผ่าแม้ว ใช้ใบต้มน้ำดื่ม รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด

-ประเทศมาเลเซีย ใช้เหง้านำมาพอกแก้ปวดบวม



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง