Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กำลังเสือโคร่ง

ชื่อท้องถิ่น: กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)/ พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง)/ ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ)/ เส่กวอเว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อสามัญ: Birch

ชื่อวิทยาศาสตร์: Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don

ชื่อวงศ์: BETULACEAE

สกุล: Betula

สปีชีส์: alnoides

ชื่อพ้อง: 

-Betula acuminata Wall., nom. illeg.

-Betula acuminata var. arguta Regel

-Betula acuminata var. glabra Regel

-Betula acuminata var. lancifolia Regel

-Betula acuminata var. pilosa Regel

-Betula affinis (Spach) Endl.

-Betula alnoides var. acuminata (Spach) H.J.P.Winkl.

-Betula cylindrostachya var. pilosa (Regel) Regel

-Betula cylindrostachya var. subglabra Regel

-Betula nitida D.Don

-Betula nitida var. affinis (Spach) Regel

-Betulaster acuminata Spach

-Betulaster affinis Spach

-Betulaster nitida (D.Don) Spach

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นกำลังเสือโคร่ง  ไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ มีความสูงราว 20-40 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 1-2 เมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ เปลือกมีต่อมระบายอากาศเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ ขาว ๆ ลักษณะกลมหรือรีปะปนกันอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายกับการบูร เมื่อแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ขนเหล่านี้จะลดลงเรื่อย ๆ จนเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยงเมื่อแก่ ส่วนของเนื้อไม้ กระพี้ และแก่นมีสีต่างกันเพียงเล็กน้อย เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองปนขาวหรือค่อนข้างขาว เนื้ออ่อนค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง แข็งปานกลาง มีลวดลายที่สวยงาม

กำลังเสื่อโคร่ง thai-herbs.thdata.co | กำลังเสื่อโคร่ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ใบ รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา แข็งและเหนียว ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน มีเส้นแขนงใบข้างละ 6-9 เส้น ก้านใบยาว 0.5 -2 เซนติเมตร

กำลังเสื่อโคร่ง thai-herbs.thdata.co | กำลังเสื่อโคร่ง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก เป็นเดี่ยวหรือเป็นช่อ ออกตามกิ่งจากปลายตะขอ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นหอม กลีบดอกเรียงเป็นสองชั้น ตัวกลีบหนา รูปรี โคนกลีบคอด ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร    

ผล เป็นแบบย่อยแห้งแล้วแตก ลักษณะรูปกระบอง ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.5-2 เซนติเมตร ข้างในมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด เป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีน้ำตาลดำเป็นมันวาว

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร สำหรับประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ถิ่นกำเนิด: บริเวณเทือกเขาหิมาลัยถึงจีน และอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ จีน ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสร้อนเล็กน้อย กลิ่นหอม สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เปลือกต้น ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน การแท้งบุตร หรือมดลูกไม่แข็งแรงให้หายเร็วเป็นปกติ

-เปลือกต้น นำมาถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ แล้วนำผงที่ได้มาทาบริเวณที่ปวดฟันหรือฟันผุ ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ

-เปลือกต้น ใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ลืม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม

-ราก ใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม

ให้ใช้เปลือกต้นที่ถากออกจากลำต้นพอประมาณตามความต้องการ แล้วนำใส่ในภาชนะ ต้มกับน้ำให้เดือดแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ น้ำสมุนไพรที่ได้จะเป็นสีแดง แล้วใช้รับประทานในขณะอุ่น ๆ จะทำให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น (หากต้องการปรุงรสเพิ่มเติมให้หอมหวานก็ให้ใช้ชะเอมพอสมควรและน้ำตาลกรวดผสมลงไป)

หากทำเป็นยาดองเหล้า สีที่ได้จะแดงเข้มมาก ถ้าต้องการจะปรุงรสก็ให้เติมน้ำผึ้งกับโสมตังกุยตามต้องการ ซึ่งสูตรดองเหล้านี้จะช่วยให้สรรพคุณทางยาแรงขึ้นเป็นทวีคูณ โดยทั้งสองสูตรสามารถนำมาทำได้ 3-4 ครั้งจนกว่าจะหมดสีของสมุนไพร

-เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดานพื้น ทำเครื่องเรือน ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นด้ามเครื่องมือ ฯลฯ

-เปลือก มีกลิ่นหอม ใช้ทำเป็นการบูรและใช้ทำเป็นกระดาษได้

-เปลือก นำมาบดให้ละเอียดใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมปังหรือเค้กได้ (ข้อมูลจากเกษตรอินทรีย์)



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง